- Details
- Category: พลังงาน
- Published: Monday, 22 October 2018 19:27
- Hits: 4777
ราคาน้ำมันดิบฟื้นตัว หลังอุปสงค์จีนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
+ ราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังความต้องการใช้น้ำมันจากประเทศจีนมีแนวโน้มเติบโตได้ดีกว่าที่คาดไว้ โดยปริมาณการกลั่นน้ำมันดิบของจีน ในเดือน ก.ย. 61 ที่ผ่านมาปรับเพิ่มขึ้นมาแตะระดับสูงสุดในรอบประวัติการณ์ที่ 12.49 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้นค่อนข้างมากจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 11.85 ล้านบาร์เรลต่อวัน หลังโรงกลั่นเอกชนและโรงกลั่นแห่งใหม่ 2 โรงของจีนเพิ่มกำลังการผลิตมากขึ้น
- ความร่วมมือในการปรับลดกำลังการผลิตระหว่างผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปก (OPEC & Non-OPEC Compliance) ปรับลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 111 ในเดือน ก.ย. 61 ลดลงจากเดือน ส.ค. 61 ที่ร้อยละ 129หลังกลุ่มโอเปกและรัสเซียได้ทยอยเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อรองรับปริมาณการผลิตที่หายไปจากอิหร่านและเวเนซุเอลา
- Baker Hughes รายงานปริมาณแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบในสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้นราว 4 แท่นมาอยู่ระดับ 873 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี ส่งผลให้ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบสหรัฐฯ มีแนวโน้มจะปรับตัวเพิ่มขึ้นในสัปดาห์ข้างหน้า
- นักลงทุนได้ลดการถือครองสัญญาน้ำมันดิบ WTI ในตลาด NYMEX ที่นิวยอร์ก และ ICE ที่ลอนดอนลง โดยล่าสุดสัญญาน้ำมันดิบสุทธิ (Net Long Position) ปรับลดลงลงมาอยู่ที่ระดับต่ำสุดในรอบ 1 ปี ที่ราว 259,375 สัญญา
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวสูงขึ้นสวนทางกับการปรับลงของน้ำมันดิบดูไบ จากอุปสงค์ในประเทศอินโดนีเซียที่ยังคงอยู่ในระดับที่ดี อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันเบนซินได้รับแรงกดดันจากน้ำมันเบนซินคงคลังสิงคโปร์ที่ปรับเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 11 จากสัปดาห์ก่อนหน้า
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ที่ยังอยู่ในระดับดี ในขณะที่ อุปทานค่อนข้างตึงตัวในช่วงการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่น อย่างไรก็ตาม ปริมาณการส่งออกจากประเทศอินเดียคาดจะปรับตัวขึ้นในเดือนหน้า
ไทยออยล์ คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์หน้า
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 67-72 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 78-83 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
ตลาดน้ำมันดิบยังคงได้รับแรงหนุนจากความกังวลต่อภาวะอุปทานน้ำมันดิบที่มีแนวโน้มจะตึงตัวมากขึ้น หลังปริมาณการผลิตและการส่งออกน้ำมันดิบของอิหร่านยังคงปรับลดลงต่อเนื่อง
ความต้องการใช้น้ำมันมีแนวโน้มชะลอตัวลง หลังเศรษฐกิจโลกคาดจะเจริญเติบโตช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้และราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นค่อนข้างมาก โดยล่าสุด IEA ปรับลดคาดการณ์ความต้องการใช้น้ำมันทั้งในปีนี้และปีหน้าลงกว่า 0.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน
ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังผู้ผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐฯ เริ่มปรับเพิ่มการขุดเจาะขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 4 สัปดาห์ เนื่องจากกำลังการขนส่งของท่อขนส่งน้ำมันดิบจากแหล่ง
Click Donate Support Web