- Details
- Category: พลังงาน
- Published: Thursday, 18 September 2014 22:48
- Hits: 2506
ราคาน้ำมันดิบอ่อนตัว เหตุสต๊อกน้ำมันดิบสหรัฐฯ พุ่ง ขณะที่เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นอีกครั้ง หลังเฟคคงอัตราดอกเบี้ยต่ำ
- ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสของสหรัฐฯ และเบรนท์ปรับตัวลดลงอีกครั้ง หลังสำนักสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานว่าปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 12 ก.ย. 57 ปรับเพิ่มขึ้นมากถึง 3.7 ล้านบาร์เรล สวนทางกับที่มีการคาดการณ์ไว้ว่าจะปรับลดลง1.6 ล้านบาร์เรล หลังการนำเข้าในสัปดาห์ที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นเป็น 7.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน ขณะที่กำลังการผลิตปรับลดลงมาอยู่ที่ราว 93% อย่างไรก็ตาม ปริมาณน้ำมันดิบคงคลัง ณ จุดส่งมอบ คุชชิ่ง โอคลาโฮมา ยังคงปรับลดลง 357,000 บาร์เรล
- ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่แข็งค่าขึ้น ส่งผลให้นักลงทุนมีการโยกย้ายเงินออกจากตลาดน้ำมันไปลงทุนในตลาดเงินดอลลาร์มากขึ้น โดยค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นหลังการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ ในวันที่ 16-17 ก.ย. มีมติคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำ 0 - 0.25% ต่อไป แต่มีมติลดวงเงินเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลลงอีก 10,000 ล้านเหรียญฯ ต่อเดือน สะท้อนถึงความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีการฟื้นตัวที่ดีขึ้น
+ อย่างไรก็ตาม การที่ลิเบียหยุดการผลิตน้ำมันดิบจากแหล่ง El Sharara ลงราว 200,000 บาร์เรลต่อวัน หลังถังเก็บน้ำมันของโรงกลั่น Zewiya (กำลังการกลั่น 120,000 บาร์เรลต่อวัน) ซึ่งรับน้ำมันจากแหล่ง El Sharara มาเก็บไว้ถูกขีปนาวุธจากการสู้รบระหว่างรัฐบาลและกองกำลังติดอาวุธยิงจนเกิดไฟไหม้ ส่งผลให้ล่าสุดการผลิตน้ำมันดิบรวมของประเทศปรับลดลงไปอยู่ที่ระดับ 670,000 บาร์เรลต่อวัน จากเดิมที่ 870,000 บาร์เรลต่อวัน เมื่อต้นสัปดาห์
+ อย่างไรก็ตาม การที่ลิเบียหยุดการผลิตน้ำมันดิบจากแหล่ง El Sharara ลงราว 200,000 บาร์เรลต่อวัน หลังถังเก็บน้ำมันของโรงกลั่น Zewiya (กำลังการกลั่น 120,000 บาร์เรลต่อวัน) ซึ่งรับน้ำมันจากแหล่ง El Sharara มาเก็บไว้ถูกขีปนาวุธจากการสู้รบระหว่างรัฐบาลและกองกำลังติดอาวุธยิงจนเกิดไฟไหม้ ส่งผลให้ล่าสุดการผลิตน้ำมันดิบรวมของประเทศปรับลดลงไปอยู่ที่ระดับ 670,000 บาร์เรลต่อวัน จากเดิมที่ 870,000 บาร์เรลต่อวัน เมื่อต้นสัปดาห์
+ นอกจากนี้ อุปทานน้ำมันดิบจากแถบแอฟริกามีแนวโน้มตึงตัวเพิ่มขึ้น หลังกลุ่มสหภาพแรงงานของคนงานน้ำมันในไนจีเรียออกมาประท้วงขอขึ้นค่าแรง หลายฝ่ายมองว่าอาจกระทบต่อการผลิตและส่งออกน้ำมันของประเทศ อย่างไรก็ดี ในตอนนี้การประท้วงยังไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการส่งออกน้ำมัน
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับเพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ ทั้งนี้ เนื่องจากอุปทานในภูมิภาคยังมีเพียงพอ ขณะที่ความต้องการนำเข้าจากตะวันออกกลาง โดยเฉพาะซาอุดิอาระเบียมีแนวโน้มลดลงหลังเริ่มเปิดดำเนินการโรงกลั่นใหม่ในประเทศ อย่างไรก็ดี ความต้องการนำเข้าจากอินโดนีเซียยังส่งแรงหนุนต่อตลาดน้ำมันเบนซินในภูมิภาค
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับเพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ โดยความต้องการใช้ในภูมิภาคยังคงเบาบาง ขณะที่อุปทานน้ำมันในเอเชีย-แปซิฟิกยังล้นตลาด จากการส่งออกของอินเดียที่ปรับเพิ่มขึ้น
ทิศทางราคาน้ำมันดิบ
ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 90-96 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 96-102 เหรียญฯ
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
จับตามองกลุ่ม OPEC ว่าจะมีมาตรการอย่างไรในการจัดการกับอุปทานน้ำมันดิบที่มีอยู่จำนวนมากในตลาด หลังซาอุฯ ส่งสัญญาณลดกำลังการผลิต ขณะที่การผลิตของลิเบียยังอยู่ในระดับสูง
จับตาผลของการประกาศลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ซึ่งหลายฝ่ายมองว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของอีซีบียังไม่แข็งแกร่งพอที่จะช่วยกระตุ้นการฟื้นตัวเศรษฐกิจของ ยูโรโซนได้
นอกจากนี้แหล่งน้ำมันดิบ Buzzard บริเวณทะเลเหนือ ซึ่งมีกำลังการผลิต 200,000 บาร์เรลต่อวัน ได้กลับมาดำเนินการผลิตอีกครั้ง หลังจากปิดซ่อมบำรุงเมื่อปลายเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา