- Details
- Category: พลังงาน
- Published: Tuesday, 02 October 2018 18:52
- Hits: 10123
ราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้นราว 2 เหรียญ จากความกังวลต่อเนื่องของการคว่ำบาตรอิหร่านของสหรัฐฯ
+ ราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้นราว 2 เหรียญ แตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย. 57 โดยยังคงได้รับแรงหนุนจากความกังวลในเรื่องอุปทานน้ำมันดิบตึงตัว จากผลกระทบของการคว่ำบาตรอิหร่านของสหรัฐฯ
+ ผู้นำเข้าน้ำมันดิบรายใหญ่จากอิหร่าน เช่น อิเดียและจีน ส่งสัญญาณปรับลดการนำเข้าน้ำมันดิบจากอิหร่าน โดยบริษัท Sinopec ของจีน ปรับลดการนำเข้าน้ำมันดิบจากอิหร่านในเดือน ก.ย. ลงราวร้อยละ 50 มาอยู่ที่ 130,000 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งถือเป็นการปรับลดมากที่สุดในรอบหลายปี ส่งผลให้ตลาดเริ่มกังวลว่าอุปทานน้ำมันดิบจะตึงตัวมากกว่าคาดการณ์ หากจีนให้ร่วมมือในการปรับลดการนำเข้าน้ำมันดิบจากอิหร่าน
+ สหรัฐฯ และแคนาดาสามารถบรรลุข้อตกลงการค้าฉบับใหม่ เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา โดยจะร่วมลงนามกับเม็กซิโก และเปลี่ยนชื่อเป็น "ข้อตกลงสหรัฐ-เม็กซิโก-แคนาดา" (USMCA) ซึ่งมุ่งเน้นที่ช่วยในเรื่องการจ้างแรงงาน และทำให้กลไกการค้ามีความเสรีและความเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้การขยายตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้เติบโตดีขึ้น
+ นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ราคาน้ำมันดิบอาจแตะที่ระดับ 100 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล หากปริมาณน้ำมันดิบจากอิหร่านลดลงไป 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากผลกระทบของการคว่ำบาตรที่จะมีผลในวันที่ 4 พ.ย. นี้
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากแรงซื้อในภูมิภาคยังคงแข็งแกร่ง อย่างไรก็ตาม ตลาดน้ำมันเบนซินในยุโรปและสหรัฐฯ ยังคงถูกกดดันจากปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังที่อยู่ในระดับสูง
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากได้รับแรงหนุนจากแรงซื้อที่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มจะปรับตัวสูงขึ้นในช่วงฤดูหนาว อย่างไรก็ตาม ปริมาณน้ำมันดีเซลคงคลังในยุโรปปรับตัวสูงขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 6 เดือน ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไทยออยล์ คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 73-78 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 81-86 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
ปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบของประเทศอิหร่านมีแนวโน้มปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง หลังสหรัฐฯ ประกาศคว่ำบาตรในเดือน พ.ค. 61 ที่ผ่านมา
ปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบของเวเนซุเอลายังคงปรับลดลงต่อเนื่อง หลังท่าเรือขนส่งน้ำมันดิบหลักของเวเนซุเอลายังคงปิดดำเนินการอยู่
สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนยังคงทวีความรุนแรงมากขึ้นและคาดจะส่งผลกดดันต่อเศรษฐกิจและความต้องการใช้น้ำมันของโลกอย่างต่อเนื่อง หลังสหรัฐฯ ประกาศเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีนในอัตราร้อยละ 10 กับสินค้านำเข้าจากจีนมูลค่ารวมกว่า 200,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
Click Donate Support Web