- Details
- Category: พลังงาน
- Published: Tuesday, 25 September 2018 20:16
- Hits: 7443
อุปทานตึงตัวหนุนราคาน้ำมันดิบพุ่ง
+ ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 3% และราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสปรับเพิ่มขึ้นราว 1.8% จากความกังวลต่ออุปทานน้ำมันดิบโลกตึงตัว หลังซาอุดิอาระเบียและรัสเซียตัดสินใจคงระดับการผลิต โดยไม่สนใจต่อคำเรียกร้องของสหรัฐ
+ รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานของซาอุดิอาระเบียให้ความเห็นว่าตลาดน้ำมันดิบกำลังอยู่ในระดับสมดุลและคาดว่ากำลังการผลิตที่เหลือของซาอุดิอาระเบียยังไม่จำเป็น เนื่องจากกำลังการผลิตของผู้ผลิตนอกกลุ่มโอเปกมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นกว่าอุปสงค์ในปีหน้า
+ Trafigura และ Mercuria คาดราคาน้ำมันดิบเบรนท์มีแนวโน้มแตะระดับ 90 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลในช่วงปลายเดือน ธ.ค. 61 และทะลุ 100 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลในช่วงต้นปี 2562 จากอุปทานน้ำมันดิบที่ตึงตัวขึ้นภายหลังมาตรการคว่ำบาตรอิหร่านมีผลบังคับใช้ในเดือน พ.ย. 61
+/- ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงแตะระดับต่ำสุดตั้งแต่ช่วงต้นปี 2558 ขณะที่ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ยังคงอยู่ในระดับสูง แต่ชะลอตัวลงจากกำลังการขนส่งน้ำมันดิบทางท่อที่จำกัด
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์เพิ่มเติมจากประเทศคูเวต ประกอบกับราคาน้ำมันเบนซินในภูมิภาคตะวันตกยังคงอยู่ในระดับดี
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ที่ดีในภูมิภาคเอเชียเหนือและออสเตรเลีย ประกอบกับมีอุปสงค์เพิ่มเติมจากประเทศแอฟริกาใต้
ไทยออยล์คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 70-75 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 78-83 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
การผลิตน้ำมันดิบจากกลุ่มโอเปกมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังได้มีการปรับเพิ่มกำลังการผลิตมาติดต่อกันกว่า 3 เดือน โดยรายงานล่าสุดจากโอเปกเผยปริมาณการผลิตกลุ่มโอเปกในเดือน ส.ค. 61 ที่ผ่านมาอยู่ที่ราว 32.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน
สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนยังคงทวีความรุนแรงมากขึ้นและคาดจะส่งผลกดดันต่อเศรษฐกิจและความต้องการใช้น้ำมันของโลกอย่างต่อเนื่อง หลังสหรัฐฯ ประกาศเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีนในอัตราร้อยละ 10 กับสินค้านำเข้าจากจีนมูลค่ารวมกว่า 200,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบของประเทศอิหร่านมีแนวโน้มปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง หลังสหรัฐฯ ประกาศคว่ำบาตรในเดือน พ.ค. 61 ที่ผ่านมา
ปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบของเวเนซุเอลายังคงปรับลดลงต่อเนื่อง หลังท่าเรือขนส่งน้ำมันดิบหลักของเวเนซุเอลายังคงปิดดำเนินการอยู่
Click Donate Support Web