WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

OIL34ราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯ ลดลงมากกว่าคาด

         (+) ราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA)รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์ สิ้นสุดวันที่ 24 ส.ค. 61 ปรับตัวลดลง 2.6 ล้านบาร์เรลซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะปรับลดลงเพียง 686,000 บาร์เรล นอกจากนี้ ปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังสหรัฐฯ ปรับตัวลดลง 1.6ล้านบาร์เรล ซึ่งสวนทางกับนักวิเคราะห์ที่คาดการณ์ว่าจะปรับเพิ่มขึ้น 370,000บาร์เรล

         (+) การส่งออกน้ำมันดิบและคอนเดนเสทของอิหร่านปรับตัวลดลงในเดือน ส.ค. 61 โดยยอดการส่งออกลดลงต่ำกว่าระดับ 70 ล้านบาร์เรล แตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย. 60หลังได้รับผลกระทบจากการที่สหรัฐฯ เตรียมออกมาตรการคว่ำบาตรครั้งใหม่ต่ออิหร่านในวันที่ 4พ.ย. นี้

         (+/-) กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันดิบรายใหญ่ (โอเปก) เตรียมหารือกันในเดือน ธ.ค. 61 ถึงความเป็นไปได้ที่จะปรับเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันดิบเพื่อชดเชยในส่วนของการส่งออกที่หายไปของอิหร่านหลังมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ

         (-) เวเนซุเอลาเตรียมปรับเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันดิบอีกครั้ง หลังกำลังการผลิตปรับลดลงตั้งแต่ปี 59 โดยบริษัทผลิตน้ำมันแห่งชาติของเวเนซุเอลา (pDVSA)ได้เซ็นสัญญาทำข้อตกลงที่จะลงทุนปรับเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันดิบ 640,000บาร์เรลต่อวัน จากการผลิตน้ำมันดิบใน 14แหล่งขุดเจาะ แต่อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์คาดว่ากำลังการผลิตจะไม่เป็นไปตามแผน

         ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปทานน้ำมันเบนซินมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังโรงกลั่งเริ่มกลับมาดำเนินการผลิตตามปกติ อย่างไรก็ตาม อุปสงค์จากปากีสถานและอินโดนีเซียยังช่วยหนุนตลาดอยู่

         ราคาน้ำมันดีเซลปรับตัวลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปทานน้ำมันดีเซลยังคงตึงตัว อย่างไรก็ตาม ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากตัวเลขกำลังการผลิตน้ำมันดีเซลในญี่ปุ่นที่ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.3 จากสัปดาห์ก่อนหน้า

 

ไทยออยล์ คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้

         ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 66-71เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

         ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ73-78เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

 

ปัจจัยที่น่าจับตามอง

         ปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบของอิหร่านมีแนวโน้มปรับตัวลดลงอย่างเนื่อง หลังสหรัฐฯ ประกาศคว่ำบาตรการส่งออกน้ำมันดิบจากอิหร่าน และเรียกร้องให้ทุกประเทศหยุดการนำเข้าน้ำมันดิบจากอิหร่านนับตั้งแต่วันที่ 4พ.ย. นี้เป็นต้นไป

         ความต้องการใช้น้ำมันโลกคาดว่าจะได้รับผลกระทบจากความไม่แน่นอนของการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก หลังสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และจีนยังคงมีอย่างต่อเนื่อง

         

Click Donate Support Web

468x60 16

BIT FUN728x90

yobit 560 60

8

468x60 bit

468x60 DOG

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!