WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

OIL8ราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่า

  + ราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยได้รับแรงหนุนจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่อ่อนค่าลง และการปรับลดปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบของซาอุดิอาระเบียลงในเดือน ส.ค.

  + ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่า แตะระดับต่ำสุดในรอบ 4 วัน หลังทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ออกมาวิจารณ์เกี่ยวกับนโยบายการปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่ทำให้สหรัฐฯ สูญเสียความสามารถในการแข่งขัน และอาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ

  + ซาอุดิอาระเบีย เปิดเผยว่าปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบในเดือน ส.ค. มีแนวโน้มปรับตัวลดลง 100,000 บาร์เรลต่อวัน เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ปริมาณน้ำมันดิบออกสู่ตลาดมากเกินไป ขณะที่ปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบในเดือน ก.ค. ยังคงใกล้เคียงกับเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา    

  + ปริมาณแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบสหรัฐฯ สัปดาห์มี่ผ่านมา ปรับตัวลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค. หลังราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงในช่วงเดือนที่ผ่านมา โดย Baker Hughes รายงานว่าจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ปรับตัวลดลง 5 แท่น มาอยู่ระดับ 858 แท่น

  - อย่างไรก็ตาม ความวิตกกังวลในเรื่องสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ยังคงเป็นปัจจัยที่กดดันราคาน้ำมันดิบอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด ทรัมป์ได้ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว CNBC ว่า ตนพร้อมที่จะเรียกเก็บภาษีต่อสินค้านำเข้าจากจีนในวงเงินสูงถึง 5 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งเทียบเท่ากับวงเงินสินค้าจีนที่สหรัฐฯ นำเข้าในปีก่อนหน้า ที่ 5.05 แสนล้านดอลลาร์

ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังได้รับแรงหนุนจากแรงซื้อจากเกาหลี เนื่องจากหน่วยผลิตน้ำมันเบนซินใหม่ยังไม่สามารถดำเนินการผลิตได้เต็มกำลัง อย่างไรก็ตาม จีนยังคงส่งออกน้ำมันเบนซินในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง

  ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ จากแรงหนุนของปริมาณน้ำมันดีเซลคงคลังสหรัฐฯ ที่ปรับตัวลดลง อย่างไรก็ตาม ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากอุปทานในภูมิภาคที่ยังคงอยู่ในระดับสูง

 

ไทยออยล์ คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้

   ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 67-72 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

  ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 70-75 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

 

ปัจจัยที่น่าจับตามอง

  ปริมาณการผลิตและส่งออกน้ำมันดิบของลิเบียคาดจะปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังท่าเรือส่งออกน้ำมันดิบ Zueitina และ Hariga ซึ่งมีกำลังการขนส่งราว 400,000 บาร์เรลต่อวัน กลับมาดำเนินการได้ตามปกติ รวมถึง แหล่งผลิตน้ำมันดิบ El Feel ที่มีกำลังการผลิตกว่า 75,000 บาร์เรลต่อวัน กลับมาทำการอีกครั้ง หลังปิดตัวลงในเดือน ก.พ. 61

  สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน คาดจะส่งผลกดดันต่อเศรษฐกิจโลกและความต้องการใช้น้ำมัน หลังจีนเตรียมประกาศมาตรการภาษีกับสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ มูลค่ากว่า 1.6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ในเร็วนี้ เพื่อตอบโต้สหรัฐฯ ที่ประกาศเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีนมูลค่ากว่า 3.4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ตั้งแต่วันที่ 6 ก.ค. และมูลค่ากว่า 1.6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ที่เตรียมจะประกาศภายในสิ้นเดือนนี้

  จับตาปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ว่าจะปรับเพิ่มขึ้นหรือไม่ หลังในสัปดาห์ที่ผ่านมาปริมาณน้ำมันดิบคงคลังปรับเพิ่มขึ้นกว่า 5.8 ล้านบาร์เรล สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะปรับลดลง 3.7 ล้านบาร์เรล เนื่องจากการนำเข้าน้ำมันดิบ โดยเฉพาะจากกลุ่มโอเปกปรับตัวสูงขึ้นกว่า 1.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!