WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

OIL36ไทยออยล์ คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 72 - 77 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวที่กรอบ 76 - 81 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

 

แนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบ (2 - 6 ก.ค. 61)

         ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มทรงตัวในระดับสูงต่อเนื่อง หลังคาดปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ จะปรับลดลงต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 4 ติดต่อกัน จากการส่งออกน้ำมันดิบของแคนาดาที่ปรับลดลงและความต้องการใช้น้ำมันที่เพิ่มขึ้นในช่วงฤดูร้อน นอกจากนี้ ตลาดคาดว่าภาวะอุปทานน้ำมันดิบจะตึงตัวมากขึ้น หลังปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบของอิหร่านและลิเบียคาดจะปรับลดลงต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบยังได้รับแรงกดดันจากการเพิ่มกำลังการผลิตของกลุ่มผู้ผลิต นำโดยซาอุดิอาระเบียที่คาดจะเพิ่มกำลังการผลิตขึ้นมาสู่ระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี รวมถึงปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ที่คาดจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในเร็วนี้

 

ปัจจัยสำคัญที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์นี้:

         จับตาสถานการณ์ขัดแย้งและความไม่สงบในลิเบีย หลังบริษัทน้ำมันแห่งชาติของลิเบียที่ได้รับการยอมรับจากต่างชาติยังไม่สามารถกลับมาดำเนินการส่งออกได้ เนื่องจากกองกำลังทหารในกองทัพแห่งชาติของลิเบีย (LNA) เข้ายึดท่าเรือคืนจากกลุ่มติดอาวุธ แต่ได้ทำการส่งมอบสิทธิ์ในการส่งออกให้กับบริษัทน้ำมันแห่งชาติทางฝั่งตะวันออกของลิเบียแทน ส่งผลให้ลิเบียยังไม่สามารถกลับมาดำเนินการส่งออกน้ำมันดิบจากท่าเรือ Es Sider ที่ถูกโจมตีไปได้ ส่งผลให้ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของลิเบียปรับลดลงกว่า 400,000 บาร์เรลต่อวัน

         ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ คาดจะปรับลดลงต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 4 ติดต่อกัน หลังปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบจากแคนาดามีแนวโน้มปรับลดลง เนื่องจากเหตุไฟฟ้าขัดข้องที่แหล่งผลิต Syncrude ซึ่งมีกำลังการผลิต 360,000 บาร์เรลต่อวัน ส่งผลให้ต้องหยุดดำเนินการผลิตโดยทันทีและต้องปิดดำเนินการต่อเนื่องจนถึงเดือน ก.ค. รวมถึงความต้องการใช้น้ำมันดิบที่คาดจะปรับเพิ่มขึ้น หลังโรงกลั่นเพิ่มกำลังการกลั่นเพื่อรองรับความต้องการใช้น้ำมันที่เพิ่มขึ้น โดยปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ สำหรับสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 22 มิ.ย. ปรับลดลง 9.9 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะปรับลดลง 2.6 ล้านบาร์เรล

         ปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบจากอิหร่านคาดจะปรับลดลงมากกว่าที่คาดไว้ จากเดิมที่คาดว่าจะปรับลดลงราว 0.3-0.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน หลังสหรัฐฯ ประกาศให้ประเทศคู่ค้ากับอิหร่านต้องระงับการนำเข้าน้ำมันดิบลงโดยไม่มีการผ่อนปรนใดๆ ทั้งสิ้น โดยล่าสุด ประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอินเดียกำลังอยู่ในกระบวนการต่อรองกับทางสหรัฐฯ เพื่อได้รับการผ่อนผันจากข้อบังคับนี้

        อุปทานน้ำมันดิบจากผู้ผลิตทั้งในและโอเปกคาดจะปรับเพิ่มขึ้นและส่งผลกดดันต่อราคาน้ำมันดิบ โดยในการประชุมวันที่ 22 - 23 มิ.ย. ที่ผ่านมา กลุ่มผู้ผลิตมีมติปรับเพิ่มกำลังการผลิตขึ้น 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพื่อรองรับอุปทานน้ำมันดิบที่ขาดหายไปจากเวเนซุเอลาและอิหร่าน อย่างไรก็ดี ที่ประชุมไม่ได้มีการระบุโควตาการเพิ่มกำลังการผลิตสำหรับแต่ละประเทศ โดยล่าสุดซาอุดิอาระเบียเตรียมปรับเพิ่มกำลังการผลิตจากเดิมที่ 10 ล้านบาร์เรลต่อวันขึ้นมาอยู่ขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 10.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในเดือน ก.ค. ซึ่งระดับดังกล่าวเป็นระดับที่สูงสุดในรอบ 3 ปี

         ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องแตะระดับ 10.9 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่ผ่านมา และคาดจะแตะระดับ 11 ล้านบาร์เรลต่อวันในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ หลังผู้ผลิตเพิ่มปริมาณการขุดเจาะน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ขึ้นมาอยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบ 3 ปีที่ 862 แท่น โดยการผลิตที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้การส่งออกน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยในสัปดาห์ล่าสุด ปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 3.0 ล้านบาร์เรลต่อวัน

         ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีภาคการผลิตและดัชนีภาคการบริการของยูโรโซน ดัชนีภาคการผลิตและดัชนีภาคการบริการของสหรัฐฯ และดัชนีภาคการบริการของจีน

 

สรุปสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์ที่ผ่านมา (25 - 29 มิ.ย. 61)

         ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวเพิ่มขึ้น 5.57 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 74.15 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ในขณะที่ ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับเพิ่มขึ้น 3.89 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 79.44 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนราคาน้ำมันดิบดูไบปิดเฉลี่ยอยู่ที่ 76.0 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล หลังได้รับแรงหนุนปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ที่ปรับลดลงกว่า 9.9 ล้านบาร์เรล สวนทางกับการคาดการณ์ของตลาดว่าจะปรับลดลงราว 2.6 ล้านบาร์เรล ส่งผลมาจากกำลังการผลิตน้ำมันดิบจากแคนาดาที่ปรับลดลงกว่า 0.36 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากเหตุขัดข้องของวงจรไฟฟ้า ส่งผลให้การส่งออกไปสหรัฐฯ ต้องปรับตัวลดลง นอกจากนี้ สหรัฐฯ ได้ประกาศให้ประเทศคู่ค้ากับอิหร่านต้องระงับการนำเข้าน้ำมันดิบลงโดยไม่มีการผ่อนปรนใดๆ ทั้งสิ้น จึงทำให้ตลาดคาดว่ากำลังการผลิตอิหร่านอาจปรับลดลงมากกว่าที่คาดเอาไว้ อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบยังได้รับแรงกดดันจาก กำลังการผลิตสหรัฐฯ ที่ยังคงยืนอยู่ในระดับสูงราว 10.9 ล้านบาร์เรลต่อวัน รวมถึง ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 11 เดือน

         

Click Donate Support Web

468x60 16

BIT FUN728x90

yobit 560 60

8

468x60 bit

468x60 DOG

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!