- Details
- Category: พลังงาน
- Published: Thursday, 11 September 2014 12:22
- Hits: 2554
ณรงค์ชัย เดินสายซื้อก๊าซพม่า กฟผ.ถอดถ่านหินจากแผน'พีดีพี'กระทบค่าไฟพุ่ง
ไทยโพสต์ : วิภาวดีรังสิต * จับตา'ณรงค์ชัย อัครเศรณี'รมว.พลังงานคนใหม่ ควง ปตท.สผ.เดินสายเจรจาซื้อก๊าซพม่าเพิ่ม ด้าน กฟผ.แจงข้อเสนอ เครือข่ายภาคประชาชนให้ถอดโรงไฟฟ้าถ่านหินออกจากแผนพีดีพี 2015 จะส่งผลกระทบให้อนาคตประชาชนแบกรับภาระค่าไฟที่เพิ่มขึ้น พร้อมยังเป็นความเสี่ยงทางความมั่นคงพลังงาน เล็งเพิ่มสัดส่วนผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นมากกว่า 50%
นายอัษฎากร ลิ้มปิติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานกลยุทธ์และพัฒนาธุรกิจ บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม หรือ ปตท.สผ. เปิดเผยว่า โดยในวันที่ 12 ก.ย.นี้ นายณรงค์ชัย อัครเศรณี รมว.พลังงาน จะเดินทางไปเยือนเมียนมาร์ในวาระครบ รอบ 25 ปีที่ ปตท.สผ.เข้าไปดำ เนินธุรกิจในเมียนมาร์ นอกจาก นี้ ยังเป็นการกระชับความสัมพันธ์ ระหว่างไทยกับเมียนมาร์ด้วย ซึ่ง ปตท.สผ.สนใจขยายการลงทุนแหล่งปิโตรเลียมในเมียนมาร์เพิ่มเติม ซึ่งปัจจุบัน ปตท.ลงทุนแหล่งปิโตรเลียมในเมียนมาร์จำนวน 12 แหล่ง โดยแหล่งที่สำรวจและผลิตแล้ว อาทิ แหล่งยาดานา เยตากุน และซอติก้า หรือเอ็ม 9 โดยแหล่งซอติก้าได้ส่งก๊าซเข้ามาไทยแล้ว 240 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และหาก ปตท.เรียกก๊าซเพิ่มก็สามารถเพิ่มได้ถึง 270 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
ส่วนแปลงที่อยู่ระหว่างการสำรวจและประเมินปริมาณสำรอง อาทิ แหล่งบนบก 3 แหล่ง ได้แก่ แปลงอีพี 2, เอ็มโอจีอี 3 และพีเอสซีจี โดยแปลงพีเอสซีจีเบื้องต้นพบว่ามีการขุดพบก๊าซซึ่งปนกับน้ำโคลน แต่ยังไม่สามารถประเมินสำรองได้ คาดว่าจะชัดเจนภายใน 2-3 เดือนนี้ ส่วนแปลงเอ็ม 3 ในทะเล ซึ่งเป็นแหล่งน้ำตื้น จากการขุดเจาะสำรวจพบก๊าซเปียกที่จะสามารถนำมาผลิตปิโตรเคมี ขณะนี้อยู่ระหว่างประเมินปริมาณสำรองเช่นกัน ซึ่งจะชัดเจนภายในปลาย ปี 2557 นี้ หากพบว่าปริมาณสำ รองชัดเจน ได้หารือเมียนมาร์ใน การผลิตก๊าซป้อนโรงงานปิโตร เคมีในพื้นที่ด้านใต้ของเมืองย่าง กุ้งต่อไป
นายสุนชัย คำนูณวัฒน์ ผู้ ว่าการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า กรณีข้อเสนอของเครือข่ายภาคประชาชน กลุ่มขาหุ้นปฏิรูปพลัง งาน ที่ต้องการให้กระทรวงพลัง งานถอดโรงไฟฟ้าถ่านหินออกจากแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าฉบับใหม่ หรือพีดีพี 2015 นั้น ยืนยันว่าประเทศไทยมีความจำ เป็นที่จะต้องมีโรงไฟฟ้าถ่านหินเพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงเรื่องของเชื้อเพลิง ที่ปัจจุบันการผลิตไฟฟ้าต้องพึ่งพาเชื้อเพลิงจากก๊าซธรรมชาติสูงถึง 67.25% หากไม่มีการสร้างโรงไฟฟ้าถ่าน หินจะส่งผลให้ประชาชนแบกรับภาระค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้นในอนาคต เพราะต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว หรือแอลเอ็นจีจากต่างประ เทศในปริมาณที่มากขึ้น เพื่อทด แทนก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยที่จะลดปริมาณลง
นายสุนชัย กล่าวว่า การสร้างความมั่นคงทางด้านไฟฟ้า นั้น กฟผ.คาดว่าหลังสิ้นสุดแผนพีดีพี 2015 ที่จะเริ่มใช้ตั้งแต่ปี 2558-2578 สัดส่วนโรงไฟฟ้าของ กฟผ.จะต้องมีมากกว่า 50% เมื่อเทียบกับโรงไฟฟ้าของเอกชน จากปัจจุบันที่มีโรงไฟฟ้าไม่ถึง 50% ดังนั้นต้องสร้างโรงไฟฟ้าใหม่แทน ในพื้นที่เดิมของโรงไฟฟ้าเก่าที่ปลดระวางไปแล้ว.