- Details
- Category: พลังงาน
- Published: Thursday, 07 June 2018 22:44
- Hits: 2592
รมว.พลังงาน เปิดเวทีถามตอบเกี่ยวกับการประมูลแหล่งบงกช-เอราวัณ พร้อมเปิดให้หน่วยงานรัฐเข้าร่วมลงทุนไม่เกิน 25%
นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รมว.พลังงาน เป็นประธานเปิดงานสัมมนาผู้เข้าร่วมประมูล (Bidder Conference) เพื่อให้ข้อมูล รับฟัง และเพื่อให้เป็นเวทีถามตอบเกี่ยวกับการประมูลยื่นขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียม แปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข G1/61 (เอราวัณ) และ G2/61 (บงกช) ให้กับผู้ประกอบการที่ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้น ขณะที่เปิดเงื่อนไขให้หน่วยงานรัฐเข้าร่วมลงทุนในแหล่งปิโตรเลียมดังกล่าวไม่เกิน 25%
การจัดสัมมนาครั้งนี้ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประมูลได้รับทราบรายละเอียดที่เกี่ยวกับการประมูลยื่นขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียม แปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทย หมายเลข G1/61 และ G2/61 ได้อย่างเท่าเทียมกันทุกบริษัท อาทิ ภาพรวมทางเทคนิคทั่วไปของแปลงสำรวจที่ประมูล และรูปแบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต ข้อกำหนด รวมถึงเงื่อนไขการประมูล กระบวนการจัดทำและยื่นข้อเสนอการประมูล ชุดข้อมูลของแปลงสำรวจ และการเข้าใช้ห้องศึกษาข้อมูล เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการได้แสดงความคิดเห็น และซักถามในประเด็นข้อสงสัยเกี่ยวกับการประมูลในครั้งนี้ เพื่อให้ผู้ประกอบการทุกรายสามารถดำเนินการตามข้อกำหนดและขั้นตอนการประมูลได้อย่างถูกต้อง
ภายหลังจากการสัมมนาครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมประมูลจะมีโอกาสได้ศึกษาข้อมูลแปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข G1/61 และ G2/61 อย่างเท่าเทียมกัน ก่อนจัดทำข้อเสนอด้านเทคนิคและผลประโยชน์ตอบแทนรัฐ โดยมีกำหนดให้ยื่นข้อเสนอต่อกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ในวันที่ 25 กันยายน 2561
สำหรับ ผู้ประกอบการที่ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้น และได้ยื่นเอกสารแสดงความจำนงเข้าร่วมประมูลตามรายชื่อ ดังนี้ บริษัท Chevron Thailand Holdings Ltd., บริษัท PTTEP Energy Development Company Limited, บริษัท MP G2 (Thailand) Limited, บริษัท MP L21(Thailand) Limited และ บริษัท Total E&P Thailand
หลังจากนั้น กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติจะใช้เวลาประมาณ 2 เดือน ในการพิจารณาเปรียบเทียบข้อเสนอเพื่อเลือกผู้ชนะการประมูล ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณเดือนธันวาคม 2561 และจะใช้เวลาในการเจรจาสัญญาแบ่งปันผลผลิตในขั้นสุดท้ายกับผู้ที่ชนะการประมูล โดยมีเป้าหมายจะลงนามสัญญากับผู้ชนะการประมูลในระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิตสำหรับทั้ง 2 แปลงสำรวจได้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2562
นายวีระศักดิ์ พึ่งรัศมี อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กล่าวว่า งานสัมมนา Bidder Conference วันนี้ เพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้สนใจเข้าแสดงความจำนง เพื่อเข้ารับการคัดเลือกเป็นผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตในแปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข G1/61 (เอราวัณ) และ G2/61 (บงกช) ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการมากพอสมควร ซึ่งภายหลังจากงานดังกล่าว จะเป็นขั้นตอนการเข้าดูข้อมูลในห้อง Data Room จากนั้นจะเปิดให้ยื่นข้อเสนอต่อกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติในวันที่ 25 กันยายนนี้
สำหรับ เงื่อนไขที่กระทรวงพลังงานสงวนสิทธิที่จะมอบหมายให้หน่วยงานของรัฐเป็นผู้ร่วมลงทุนในสัญญาแบ่งปันผลผลิต (State Participation) ในสัดส่วนการลงทุนไม่เกิน 25% ภายใต้หลักการการร่วมลงทุนอย่างเท่าเทียมกันกับผู้ขอสิทธิที่ได้รับการคัดเลือก โดยผู้ขอสิทธิต้องเสนอหลักการและเงื่อนไขการให้หน่วยงานของรัฐเป็นผู้ร่วมลงทุนในสัดส่วน 25% นั้นผู้ประกอบการจะต้องระบุชื่อหน่วยงานรัฐที่จะเข้าร่วมถือหุ้นในแหล่งปิโตรเลียมดังกล่าว แต่ภาครัฐจะเป็นผู้ตัดสินใจเองว่าจะเข้าร่วมกี่เปอร์เซ็นต์ แต่ต้องไม่เกิน 25%
ขณะเดียวกัน หน่วยงานรัฐที่จะเข้ามาถือสัดส่วนการลงทุน จะต้องลงเงินทุนเท่าเทียมกับบริษัทผู้ลงทุน ซึ่งไม่สามารถถือหุ้นลอยได้ ส่วนการคัดเลือกรายชื่อหน่วยงานรัฐที่มีความเหมาะสมร่วมถือสัดส่วนการลงทุนนั้น กระทรวงพลังงานจะเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อ พิจารณาต่อไป อย่างไรก็ตามหากผู้ประกอบการที่ยื่นประมูลไม่ระบุหรือไม่มีการกำหนดสงวนสิทธิดังกล่าวก็จะถูกตัด หรือไม่ผ่านการประมูลในครั้งนี้
ด้านนายสมพร ว่องวุฒิพรชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) กล่าวว่า การกำหนดเงื่อนไขเรื่องสัดส่วนการลงทุนที่ผู้ประกอบการจะต้องสงวนสิทธิการเข้าถือสัดส่วนลงทุนในส่วนของภาครัฐ ไม่เกิน 25% นั้น ส่วนตัวมองว่าเป็นเรื่องที่ดี เนื่องจากรัฐบาลจะเข้ามามีส่วนร่วมด้วย แต่บริษัทคงต้องศึกษาเงื่อนไข และคำนิยามนี้อย่างละเอียดก่อน ส่วนปตท.สผ. จะเป็นผู้ดำเนินการ ( Operater) หรือเป็นผู้ร่วมลงทุนในแหล่งใดนั้น เบื้องต้น ปตท.สผ. จะเป็น Operater ในแหล่งบงกชแน่นอน ส่วนแหล่งเอราวัณนั้น ยังไม่มีความชัดเจนซึ่งอาจเป็นได้ทั้ง Operater หรือผู้ร่วมลงทุนก็ได้
อนึ่ง กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน ได้ออกประกาศเชิญชวนผู้ที่สนใจประมูลยื่นขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมแปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข G1/61 และ G2/61 ตามทีโออาร์การเปิดประมูลภายใต้ระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต (Production Sharing Contract : PSC) เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2561 และได้เปิดให้ผู้ที่สนใจเข้าร่วมประมูลยื่นขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมแปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข G1/61 และ G2/61 เข้ายื่นแสดงความจำนงเพื่อเข้าร่วมการพิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้นเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2561 และกำหนดให้ผู้ที่สนใจเข้าร่วมประมูล เข้ายื่นหลักฐานแสดงคุณสมบัติเบื้องต้น ในวันที่ 15 - 16 พฤษภาคม 2561
เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2561 กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ได้ประกาศรายชื่อผู้ที่ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยมีผู้ที่ผ่านคุณสมบัติเบื้องต้น และมีสิทธิเข้าร่วมประมูลยื่นขอสิทธสำรวจและผลิตปิโตรเลียมแปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยแปลง G1/61 และ G2/61 (แหล่งเอราวัณและบงกช) ดังนี้
- แปลง G1/61 (แหล่งเอราวัณ) จำนวน 5 บริษัท ได้แก่
1. บริษัท Chevron Thailand Holdings Ltd.
2. บริษัท PTTEP Energy Development Company Limited
3. บริษัท MP G2 (Thailand) Limited
4. บริษัท Total E&P Thailand
5. บริษัท OMV Aktiengesellschaft
- แปลง G2/61 (แหล่งบงกช) จำนวน 4 บริษัท ได้แก่
1. บริษัท Chevron Thailand Holdings Ltd.
2. บริษัท PTTEP Energy Development Company Limited
3. บริษัท MP L21 (Thailand) Limited
4. บริษัท OMV Aktiengesellschaft
ทั้งนี้ ผู้ที่ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติดังกล่าว มีคุณสมบัติครบถ้วนใน 2 หลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ
1. มีกิจการที่มีส่วนของผู้ถือหุ้น (Shareholder’s Equity) อย่างน้อย 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ในช่วงปี 2559 หรือ 2560 สำหรับผู้ที่จะร่วมประมูลในแปลง G1/61 (แหล่งเอราวัณ) และมีกิจการที่มีส่วนของผู้ถือหุ้น (Shareholder’s Equity) อย่างน้อย 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ระหว่างปี 2559 หรือ 2560 ในแปลง G2/61
2. เป็นผู้มีประสบการณ์ในการดำเนินงานการผลิตปิโตรเลียมในทะเล (Offshore Gas Field Operate) อย่างน้อย 1 แหล่ง ที่มีอัตราการขายก๊าซธรรมชาติเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 100 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ในระหว่างปี 2559 หรือ 2560
ในระหว่างวันที่ 30 พฤษภาคม ถึง 1 มิถุนายน 2561 กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ได้เปิดให้บริษัทที่ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้น ในการประมูลสำรวจและผลิตปิโตรเลียมแปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทย แปลง G1/61 (เอราวัณ) และ G2/61 (บงกช) เข้ายื่นเอกสารแสดงความจำนงเข้าร่วมประมูล สำหรับแปลง G1/61 จำนวน 4 ราย และ G2/61 จำนวน 3 ราย ดังนี้
แปลง G1/61 (เอราวัณ)
- บริษัท Chevron Thailand Holdings Ltd.
- บริษัท PTTEP Energy Development Company Limited
- บริษัท Total E&P Thailand
- บริษัท MP G2 (Thailand) Limited
แปลง G2/61 (บงกช)
- บริษัท Chevron Thailand Holdings Ltd.
- บริษัท PTTEP Energy Development Company Limited
- บริษัท MP L21 (Thailand) Limited
นอกจากนี้ บริษัท Chevron Thailand Holdings Ltd. ซึ่งเป็นผู้เข้าร่วมประมูลแปลง G1/61 และแปลง G2/61 ได้รับรองสิทธิให้บริษัท มิตซุย ออยล์ เอ็กซโปลเรชั่น จำกัด เข้าร่วมขอรับชุดข้อมูล ทั้ง 2 แปลงด้วย และบริษัท PTTEP Energy Development Company Limited ได้รับรองสิทธิให้บริษัท Total E&P Thailand เข้าร่วมขอรับชุดข้อมูลสำหรับแปลง G2/61
ทั้งนี้ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ จะนำส่งรายได้จากการเรียกชำระค่าเข้าร่วมประมูลและผู้ขอรับชุดข้อมูล ชุดละ 7 ล้านบาท จำนวน 10 ชุด เป็นเงินรวม 70 ล้านบาท ให้กับกระทรวงการคลังเพื่อเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป
สำหรับ บริษัท OMV Aktiengesellschaftซึ่งได้ยื่นเอกสารในขั้นตอนการพิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้น ไม่ได้ร่วมแสดงความจำนงเข้าร่วมประมูลเมื่อสิ้นสุดกำหนดการในวันที่ 1 มิถุนายน 2561
-อินโฟเควสท์
ความมั่นคงด้านพลังงานเป็นหนึ่งในนโยบายหลักของทุกประเทศในอาเซียน บางประเทศขยายแนวคิดเรื่องความมั่นคงด้านพลังงานออกกไป สำหรับประเทศส่วนใหญ่รวมทั้งประเทศไทยได้ขยายการใช้พลังงานอย่างมีนัยสำคัญเป็นศูนย์กลางของอาเซียนรวมทั้งก๊าซและพลังงานชีวภาพ สำหรับประเทศไทย เราเป็นหนึ่งในประเทศที่ประสบความสำเร็จด้านการพัฒนาพลังงาน ด้วยการผสมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน พลังงาน ละการเข้าถึงตลาด เราสามารถภูมิใจได้ว่าไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาด้านพลังงานทางเลือก
แม้ราคาพลังงานของเราไม่ได้ต่ำที่สุดอย่างประเทศอื่นๆ แต่มันก็อยู่ในระดับที่เราสามารถนำไปพัฒนาประเทศ ทั้งเรื่อง เสริมสร้าง สวัสดิการ พัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ บ้านเมือง และทำให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจ และพัฒนาอุตสาหกรรมทั้งในเขตเมืองและเขตชนบท ซึ่งเราเข้าใจตรงกันว่าการเข้าถึงพลังงานที่ทันสมัยและพลังงานทดแทนและเชื้อเพลิงที่สะอาดเป็นพื้นฐานสำคัญในการเผชิญกัความท้าทายในโลกปัจจุบัน ทั้งในเรื่องปัญหาความยากจน ความมั่นคงทางด้านอาหาร ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ น้ำสะอาดและบ้านเรือนรวมถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจ การเพิ่มขึ้นของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นส่วนใหญ่มาจากการพึ่งพาพลังงานจากฟอสซิล ทั้งนี้หน่วยงานด้านพลังงานระหว่างประเทศคาดว่าความต้องการพลังงานจะเพิ่มขึ้นเป็น 37 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2040 ซึ่งวาระการประชุมของสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้แนะนำว่าการจะเพิ่มความมั่นคงด้านพลังงาน เราจำเป็นต้องทำ ดังนี้
1. เราจำเป็นต้องสร้างความมั่นใจว่าจะสามารถเข้าถึงบริการด้านพลังงานที่ทันสมัยและราคาไม่แพงและเชื่อถือได้
2. เราจำเป็นต้องเพิ่มส่วนแบ่งของพลังงานหมุนเวียนในพลังงานโลกอย่างมาก
3. เราจำเป็นต้องเพิ่มอัตราการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพเป็นสองเท่า
4.เราต้องกระชับความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงการวิจัยและเทคโนโลยีด้านพลังงานที่สะอาด รวมถึงพลังงานหมุนเวียนและประสิทธิภาพการใช้พลังงานรวมทั้งการพัฒนาพลังงานเทคโนโลยีเชื้อเพลิงฟอสซิลที่สะอาดและส่งเสริมการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานและเทคโนโลยีพลังงานสะอาด
และสุดท้ายคือการขยายโครงสร้างพื้นฐานและดำเนินการด้านเทคโนโลยีเพื่อจัดหาบริการด้านพลังงานที่ยั่งยืนอย่างยั่งยืนสำหรับทุกคน
ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานในประเทศไทยได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาและการใช้แหล่งพลังงานทดแทนและทดแทน ดังนั้นเราจึงวางแผนที่จะเพิ่มปริมาณอุปทานให้กับการจัดหาพลังงานหมุนเวียนของเราให้ได้ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเน้นไปที่เป็นเชื้อเพลิงโดยชีวมวลและก๊าซชีวภาพ เรากำลังมองหาเพื่อให้เกิดโรงงานผลิตชีวภาพมากกว่า 3,000 เมกะวัตต์
บริษัทพลังงานแห่งชาติของเรากำลังทำงานร่วมกับกลุ่มบริษัทปูนซิเมนต์ไทยเพื่อนำแนวคิดเรื่องการใช้พลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ในการผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่ เรามีเป้าหมายในการผลิตพลังงานทดแทนจากพลังงานหมุนเวียนถึงสัดส่วนร้อยละ 30 และเรายังหวังที่จะที่รายได้และลดต้นทุนด้านพลังงานไปควบคู่กัน ความสำเร็จนี้จะทำให้มั่นใจได้ว่าเราบรรลุพันธกรณีในการมีส่วนร่วมในรับมือกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การมีส่วนร่วมของเราไม่เพียงแต่ให้ความยั่งยืนด้านสภาพภูมิอากาศของโลกเท่านั้น แต่ยังคำนึงถึงผลกระทบของเศรษฐกิจและเพื่อให้เกิดความยั่งยืนและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ทั้งนี้ ประเทศไทยไม่หยุดยั้งในเรื่องนี้เรากำลังมุ่งพัฒนาไปสู่การพัฒนาด้านพลังงานอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันกระทรวงพลังงานกำลังจัดทำกรอบการทำงานที่จะช่วยให้แต่ละครัวเรือนสามารถมีส่วนร่วมในตลาดพลังงานโดยการผลิตพลังงานทดแทนซึ่งเป็นรูปแบบพลังงานแสงอาทิตย์บนชั้นดาดฟ้าของพวกเขาสำหรับการใช้และหากเหลือก็สามารถขายได้ ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศไทยมีเครือข่ายพลังงานที่เข้มแข็งและมั่นคงและทำให้เราลดการพึ่งพาพลังงานจากฟอสซิลที่นำเข้าน้อยลงและบรรลุเป้าหมายสู่การใช้พลังงานที่ยั่งยืนได้