WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaaaTCharging Station

กฟผ. 4.0 ทดลองสถานีอัดประจุไฟฟ้า (Charging Station) แบบแตะบัตร 1 ปี ก่อนเปิดให้บริการประชาชน และพัฒนาเชิงพาณิชย์ต่อไป

      นายธาตรี ริ้วเจริญ ผู้ช่วยผู้ว่าการกิจการสังคม กฟผ. เปิดเผยว่า กฟผ. โดยฝ่ายบริหารและแผนงานด้านการใช้ไฟฟ้า (อผช.) ได้เปิดให้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้า (Charging Station) เป็นการนำร่องในระยะที่ 1 เพื่อให้บริการแก่รถประจำตำแหน่งของรองผู้ว่าการ กฟผ. ที่ใช้รถไฟฟ้าประเภท PHEV (Plug - In Hybrid) ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2561 เป็นต้นไป โดยเมื่อแตะบัตร RFID ที่สถานีอัดประจุไฟฟ้าแล้ว จะสามารถใช้บริการได้ทันที ซึ่งจะมีการคิดค่าใช้จ่ายตามหน่วยไฟฟ้า (kWh) ที่ใช้เป็นรายเดือนโดยจะทำการหักออกจากบัญชีเงินเดือน

      ในการใช้บริการแต่ละครั้งนั้น รายละเอียดประวัติการใช้งานและค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บ จะถูกบันทึกไว้ในระบบบริหารจัดการการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า (Energy Management System : EMS) เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาในระยะที่ 1 และ 2 ก่อนเปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบในระยะต่อไป โดยการให้บริการนำร่องในระยะที่ 1 นี้ จะใช้ระยะเวลาประมาณ 2 เดือนนายธาตรี ริ้วเจริญ กล่าว

      สำหรับ ระยะที่ 2 เป็นระยะของโครงการศึกษาวิจัยเพื่อเก็บข้อมูล ซึ่งจะใช้ระยะเวลาประมาณ 1 ปี โดยจะเปิดให้บริการแก่บุคคลทั่วไป ทั้งภายในและภายนอก กฟผ. ให้สามารถใช้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้าโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งระหว่างนี้ ฝ่ายกฎหมาย (อกม.) จะทำการศึกษาในเรื่องของระเบียบ ข้อกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และสายงานรองผู้ว่าการบัญชี (รวบ.) จะพิจารณาในเรื่องของการคิดค่าบริการควบคู่กันไป เพื่อให้สามารถเปิดให้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้าอย่างเต็มรูปแบบ

      ในระยะที่ 2 ผู้ใช้งานจะต้องลงทะเบียนในระบบเพื่อขอรับบัตร RFID ก่อน สำหรับแตะเข้าใช้งานสถานีอัดประจุไฟฟ้า และสามารถดาวน์โหลด EGAT EV Application ได้ที่ EGAT App Center เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งาน โดยสามารถตรวจสอบสถานะและตำแหน่งพร้อมนำทางมายังสถานีอัดประจุไฟฟ้าได้ รวมทั้งยังติดตามข้อมูลต่างๆ เช่น ค่าพลังงานไฟฟ้า ระยะเวลาการอัดประจุ ค่าใช้จ่าย รวมถึงสามารถควบคุมการใช้งาน (Start / Stop) สถานีอัดประจุไฟฟ้าได้ด้วย ทั้งนี้ ข้อมูลการใช้งานสถานีอัดประจุไฟฟ้าทั้งหมดจะถูกเก็บบันทึกผ่านระบบบริหารจัดการการใช้งาน (Energy Management System) เพื่อนำมาใช้ประกอบการวิเคราะห์ วางแผน และจัดการด้านการใช้ไฟฟ้าสำหรับรองรับการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

       ส่วนในระยะที่ 3 เป็นระยะของการเปิดใช้งานสถานีอัดประจุไฟฟ้าเต็มรูปแบบ การใช้งานจะแบ่งเป็น 2 กรณี คือ 1) การอัดประจุรถไฟฟ้าของ กฟผ. เพื่อใช้ในกิจการของ กฟผ. และ 2) การอัดประจุรถไฟฟ้าของบุคคลทั่วไป ทั้งภายในและภายนอก กฟผ. โดยมีการเก็บค่าใช้จ่ายจากการใช้งาน โดยในกรณีที่ 2 ถือเป็นการดำเนินธุรกิจจำหน่ายไฟฟ้า ซึ่งนอกจากการขออนุญาตประกอบการจำหน่ายแล้ว ยังมีความจำเป็นต้องแก้ไขพระราชกฤษฎีกากำหนดผู้ใช้พลังงานไฟฟ้า เพื่อเพิ่มรายชื่อลูกค้าของ กฟผ. จึงจะสามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้อง

      ปัจจุบัน กฟผ. ได้ดำเนินการติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้า ในพื้นที่บริเวณอาคารสำนักผู้ว่าการ และศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. สำนักงานกลาง รวมจำนวน 5 สถานี ประกอบด้วย สถานีอัดประจุไฟฟ้าแบบธรรมดา จำนวน 2 สถานี และสถานีอัดประจุไฟฟ้าแบบเร็ว จำนวน 3 สถานี พร้อมติดตั้งระบบบริหารจัดการการใช้งานสถานีอัดประจุไฟฟ้า ให้แล้วเสร็จภายในปี 2561 เพื่อรองรับการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าของ กฟผ. และศึกษาประสิทธิภาพการใช้ไฟฟ้าของยานยนต์ไฟฟ้าและสถานีอัดประจุไฟฟ้า นับเป็นส่วนหนึ่งในแผนส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าของ กฟผ. รองรับมติคณะกรรมการพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ตามนโยบายพลังงาน 4.0

         

Click Donate Support Web

468x60 16

BIT FUN728x90

yobit 560 60

8

468x60 bit

468x60 DOG

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!