- Details
- Category: พลังงาน
- Published: Friday, 11 May 2018 19:45
- Hits: 6676
ราคาน้ำมันดิบดีดตัว จากสหรัฐฯ ถอนตัวจากข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่านและปริมาณน้ำมันดิบคงคลังลดลง
+ราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้นไปแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย. 57 โดยได้รับแรงหนุนจากการที่ตลาดคาดว่าอิหร่านอาจต้องลดกำลังการผลิตและส่งออก หลังสหรัฐฯ ประกาศถอนตัวจากข้อตกลงนิวเคลียร์ โดยสหรัฐฯ จะมีการร่างข้อตกลงขึ้นมาใหม่เพื่อยับยั้งโครงการทดลองนิวเคลียร์ของอิหร่าน อย่างไรก็ตาม เยอรมนีได้ออกมาประกาศที่จะสนับสนุนข้อตกลงเดิมกับอิหร่านต่อไป
- นักวิเคราะห์ยังคงมีการจับตามองท่าทีของจีน ญี่ปุ่น และ ผู้ซื้อรายอื่น โดยเฉพาะในเอเชีย ขณะที่ซาอุดิอาระเบียได้ออกมาให้ความเห็นว่า ซาอุฯ และชาติพันธมิตรพร้อมที่จะเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อชดเชยการปริมาณการส่งออกของอิหร่านที่ลดลง
+ Bank of America คาดราคาน้ำมันดิบเบรนท์อาจพุ่งสูงถึงระดับ 100 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลภายในปีหน้าหรือเร็วกว่านั้น เนื่องจากวิกฤตในประเทศเวเนซุเอลาที่กำลังการผลิตยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับความกังวลในการส่งออกน้ำมันดิบของอิหร่าน
+ สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ (EIA) ปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ มาอยู่ที่ 12 ล้านบาร์เรลต่อวันในช่วงปลายปีหน้า ซึ่งหากเป็นไปตามการคาดการณ์จะส่งผลให้สหรัฐฯ ขึ้นมาเป็นผู้ผลิตน้ำมันดิบรายใหญ่ที่สุดของโลก
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังโรงกลั่นน้ำมันในประเทศจีนบางส่วนปิดซ่อมบำรุง อย่างไรก็ตาม ยังคงได้รับแรงกดดันจากระดับอุปทานที่ยังอยู่ในระดับสูงจากฝั่งตะวันออกกลาง และยุโรป
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวเพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังปริมาณการส่งออกน้ำมันดีเซลจากประเทศจีนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากอุปสงค์ในจีนที่เริ่มอ่อนตัวลงอย่างไรก็ตาม ยังคงมีแรงหนุนจากประเทศอินเดียที่มีความต้องการนำเข้าสูงเนื่องจากโรงกลั่นในประเทศปิดซ่อมบำรุง
ไทยออยล์ คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์หน้า
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 69-74 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 74-79 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
จับตาผลกระทบจากการถอนตัวจากข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่านของสหรัฐฯ ซึ่งอาจจะนำไปสู่การคว่ำบาตรอิหร่านอีกครั้งปริมาณน้ำมันดิบคงคลังโลกมีแนวโน้มปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง จากความต้องการใช้น้ำมันโลกที่เติบโตอย่างแข็งแกร่ง ประกอบกับผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกยังคงเดินหน้าปรับลดลงกำลังการผลิต
ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ คาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังราคาน้ำมันดิบทรงตัวเหนือระดับต้นทุนการผลิตของผู้ผลิตในสหรัฐฯ ส่งผลให้จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบในสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
Click Donate Support Web