- Details
- Category: พลังงาน
- Published: Tuesday, 10 April 2018 19:26
- Hits: 17183
ราคาน้ำมันดิบปรับเพิ่ม หลังตลาดหุ้นในสหรัฐฯ ดีดตัวขึ้นวานนี้
+ราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 2 หลังตลาดหุ้นในสหรัฐฯ ดีดตัวเพิ่มขึ้น โดยนักลงทุนคาดว่าสหรัฐฯ และจีนจะสามารถกลับสู่โต๊ะเจรจาเพื่อแก้ไขข้อพิพาททางการค้าได้ ประกอบกับนักลงทุนหวังเก็งกำไรจากผลประกอบการไตรมาสแรกที่จะมีการทยอยประกาศในสัปดาห์นี้
+ ตลาดมีความกังวลต่ออุปทานน้ำมันดิบในตลาดโลก หลังเกิดการโจมตีฐานทัพอากาศใกล้เมืองฮอมส์ของกองทัพซีเรียด้วยขีปนาวุธหลายลูก ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก โดยรัฐบาลซีเรียและรัสเซียประณามอิสราเอลว่าอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
- ตลาดคาดการณ์ท่อส่งน้ำมันดิบจากแหล่ง Permian ของสหรัฐฯ จะเต็มกำลังการส่งภายในกลางปีนี้ หลังตัวเลขกำลังการส่งสูงถึงร้อยละ 96 ในช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา ส่งผลให้ผลต่างราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเทียบราคาน้ำมันดิบเบรนท์กว้างมากขึ้น
-/+ ค่าเงินดอลลาร์ปรับตัวสูงขึ้นหลังประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สนับสนุนให้เดินหน้าปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไป จากทิศทางเศรษฐกิจที่คาดว่าจะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง หลังอัตราการว่างงานทรงตัวที่ระดับร้อยละ 4.1 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 17 ปี
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ โดยได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ที่ดีในอินโดนีเซีย อย่างไรก็ดี อุปสงค์และอุปทานยังคงอยู่ในระดับทรงตัว
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังตลาดยังคงตึงตัวต่อเนื่อง โดยตลาดคาดการณ์อุปสงค์ในช่วงฤดูร้อนนี้อาจแตะระดับสูงสุดในรอบหลายปีที่ผ่านมา
ไทยออยล์ คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 60-65 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 65-70 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับลดลง หลังโรงกลั่นน้ำมันของสหรัฐฯ กลับมาจากการปิดซ่อมบำรุง ส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันปรับตัวสูงขึ้น โดยล่าสุด สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ สำหรับสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 30 มี.ค. 61 ปรับลดลง 4.6 ล้านบาร์เรล เมื่อ สู่ระดับ 425.3 ล้านบาร์เรล
ความร่วมมือระหว่างผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกยังอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของกลุ่มโอเปกในเดือนมี.ค. รายงานโดยสำนักข่าวรอยเตอร์ ปรับตัวลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 11 เดือน โดยการปรับลดหลักๆ มาจากการแองโกลา ลิเบีย และเวเนซุเอลา