- Details
- Category: พลังงาน
- Published: Monday, 05 February 2018 19:17
- Hits: 1041
ราคาน้ำมันดิบปรับลดลง จากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นและตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ดีขึ้น
- ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง เนื่องจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุล โดยปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.58% โดยมีปัจจัยสนับสนุนมาจากตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐฯ เดือน ม.ค. และตัวเลขค่าแรงต่อชั่วโมงของแรงงานสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มมากขึ้นมากที่สุดในรอบ 8 ปีครึ่ง ส่งผลให้มีการคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อในปีนี้น่าจะปรับตัวเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน
- Baker Hughes รายงานจำนวนแท่นขุดเจาะในสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์ ณ วันที่ 2 ก.พ. ปรับเพิ่มมากขึ้น 6 แท่น มาสู่ระดับ 765 แท่น ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 2 ติดต่อกัน ประกอบกับตัวเลขกำลังการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ หลังสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ (EIA) รายงานปรับเพิ่มขึ้นแตะระดับ 10 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดตั้งแต่ปี 2513 ที่ผ่านมา
-/+ กำลังการผลิตน้ำมันดิบของกลุ่มโอเปกเดือน ม.ค. ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับต่ำสุดในรอบ 8 เดือนที่ผ่านมา มาสู่ระดับ 32.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยปรับเพิ่มมากขึ้นจากเดือน ธ.ค. 60 100,000 บาร์เรลต่อวัน เนื่องจากมีกำลังการผลิตน้ำมันดิบจากไนจีเรียและซาอุดิอาระเบียเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตามกำลังการผลิตจากเวเนซุเอลาได้ปรับตัวลดลง และเปอร์เซ็นความร่วมมือของกลุ่มโอเปกที่จะลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 137% ในเดือน ธ.ค. 60 เป็น 138% ในเดือน ม.ค. 61
ไทยออยล์คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 63-68 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 67-72 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ คาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 10 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือน ก.พ. นี้ หลังจากราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นเหนือระดับ 50 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับจุดคุ้มทุนเฉลี่ยในการลงทุนผลิตน้ำมันของผู้ผลิตน้ำมันดิบจากหินชั้นดินดาน (Shale oil) ในสหรัฐฯ
ความร่วมมือของกลุ่มผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกในการปรับลดกำลังการผลิตยังอยู่ในระดับสูง โดยผู้ผลิตยังคงเดินหน้าปรับลดกำลังการผลิตอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ปริมาณน้ำมันคงคลังกลับมาสู่ระดับค่าเฉลี่ย 5 ปี และรักษาเสถียรภาพของตลาดน้ำมันดิบ
ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของเวเนซุเอลามีแนวโน้มปรับตัวลดลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยในเดือน ม.ค. ปริมาณการผลิตลดลงสู่ระดับ 1.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 30 ปี เนื่องจากประเทศกำลังเผชิญกับวิกฤติทางเศรษฐกิจ และการเงินจากภาวะหนี้สินที่อยู่ในระดับสูง