- Details
- Category: ขายตรง
- Published: Sunday, 31 August 2014 21:07
- Hits: 3511
การทำแฟรนไชส์ในธุรกิจอาหาร ไม่น่าเชื่อว่า ร้านอาหารไทย ยังไม่มีใครทำแฟรนไชส์ ?
หลายคนรู้สึกว่า ร้านอาหารไทยมีแฟรนไชส์ เยอะเยะ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ร้านอาหารแฟรนไชส์ มีมากมายก็จริง แต่จะเป็นอาหารฟาสฟู้ด แบรนด์นอกเสียส่วนใหญ่ เช่น ร้านแมคโดนัล เคเอฟซี พิซซ่าฮัท เป็นต้น
และเป็นอาหารประเภทอื่นที่ไม่ใช่ร้านอาหารไทย เช่น ร้านเชสเตอร์กริล ร้านโชคดีติ่มซำ
ร้านฮ่องกงนู้ดเดิ้ล ร้านเนื้อย่างต่างๆ หรือ ไม่ก้อเป็นร้านก๋วยเตี๋ยว ร้านลูกชิ้นปิ้ง รถเข็นต่างๆ
ส่วนแฟรนไชส์ร้านอาหารไทย เต็มร้อย เห็นจะมีอยู่รายเดียว คือ ร้านแบล็คแคนย่อน
แต่อย่างไรก็ตามภาพลักษณ์ ก็ยังมีน้ำหนักไปในด้านร้านกาแฟมากกว่า
มีร้านอาหารไทย ที่เป็นแฟรนไชส์เต็มร้อย แต่มักจะเป็นร้านที่ขยายในต่างประเทศ เช่น Blue Elephant ซึ่งเจ้าของร้านเป็นคนต่างชาติ ที่มีภรรยาไทย และร้าน Thai Express ที่มีสาขาอยู่ในหลายประเทศ แต่เจ้าของเดิมเป็นคนชาติสิงคโปร์ แต่ปัจจุบันทางค่ายบริษัท ไมเนอร์ ในไทย ได้ซื้อกิจการต่อมาดำเนินงาน แต่ก็ไม่ได้ขยายสาขาในไทย และร้าน Mango Tree ร้านอาหารไทยแฟรนไชส์ในค่ายของโคคา ที่เปิดในหลายประเทศ เช่นกัน
อาหารไทยได้ขึ้นชื่อว่ามีเมนูที่อร่อยติดอันดับของโลก หลายเมนู เช่น มัสมัน ผัดซีอิ้ว แกงเขียวหวาน ต้มยำกุ้ง เป็นต้น
แต่ร้านอาหารไทยนั้น ยังมีน้อยรายนัก ที่จะขยายสาขาได้มากกว่า 20 แห่งขึ้นไป เป็นที่น่าเสียดาย ร้านอาหารไทยแฟรนไชส์
ประสบความสำเร็จกันน้อยเกินไป ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น ?
สมาคมแฟรนไชส์ไทย ร่วมกับ ธนาคารไทยพาณิชย์ มีความประสงค์ ที่จะส่งเสริมอาหารไทย ให้สร้างเป็นระบบแฟรนไชส์ได้จริงมากขึ้น จึงได้จัดอบรม การสร้างระบบแฟรนไชส์ 30 ชั่วโมง ในเดือน ตุลาคม-พฤศจิกายน 2557 ณ.อาคารซีพี ทาวเวอร์ เพื่อให้ผู้ประกอบการ และผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้รับแนวคิด และแนวทาง สร้างสรรค์กิจการอาหารไทย เข้าสู่ระบบแฟรนไชส์เพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสการเติบโตให้กับธุรกิจของชาติ หรืออย่างน้อยที่สุดก็ได้รับแนวทางที่ช่วยให้ปรับปรุงระบบงานดีขึ้น
ยิ่งในภาวะที่ธุรกิจของเรากำลังก้าวสู่เป็นตลาดเดียวกับอาเซียนด้วยแล้ว โอกาสของร้านอาหารไทยยังเปิดกว้างอยู่มาก แต่จะทำอย่างไร ให้ร้านอาหารของไทย ขยายสาขาได้มากขึ้น ด้วยวิธีการของแฟรนไชส์
สาเหตุที่ร้านอาหารไทย ขยายสาขา ไม่ได้มากมายนั้น มีอุปสรรค์ที่มองเห็นได้ชัดจาก
ประการแรก เมนูอาหารของร้านอาหารไทยนั้นมีมากมายเกินไป ทำให้ยากในการควบคุมมาตรฐานให้เท่ากันทุกร้าน อีกทั้ง ยังเกิดต้นทุนมากจากเตรียมวัตถุดิบมหาศาล ซึ่งหากต้องการให้ร้านมีการขยายสาขามากขึ้น ควรจะเลือกเมนูที่เป็นเอกลักษณ์ของร้าน และขายดีของร้านมาพัฒนาให้มีมาตรฐาน และตัดเมนูที่ขายได้น้อยออกไป และเลือกเฉพาะบางเมนูที่คล้ายๆกันทดแทนกันได้ เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง การคัดสรรเมนูให้น้อยลงจะช่วยลดอุปสรรค ในการขยายร้าน และสามารถควบคุมคุณภาพได้ง่ายกว่า แต่ ในทางตรงกันข้าม ถ้าร้านแฟรนไชส์ มีเมนูนับร้อยรายการ เป็นไปไม่ได้เลยที่จะขยายร้านเป็นร้อยสาขาได้ โดยมีคุณภาพเหมือนกันกับร้านแรก
ประการที่สอง พึงพา พ่อครัวแม่ครัว คุณเห็นไหมว่า ร้านอาหารนานาชาติที่เป็นแฟรนไชส์ เช่น ร้านเคเอฟซี ร้านแมคโดนัลด์ ไม่จำเป็นต้องใช้กุ๊กที่มาจากโรงแรม 5 ดาว ผู้ทำอาหารจะเป็นใครก็ได้ ที่ผ่านการฝึกฝน ไม่กี่ขั้นตอน ก็สามารถทำอาหารออกมาได้อร่อยเหมือนกันหมดทุกร้าน ต่างจากร้านอาหารไทย ต้องง้อพ่อครัวแม่ครัว เมื่อเขาลาออกไป ยอดขายของร้านก็ตกทันที บางแห่งถึงกับขาดทุน ต้องปิดกิจการไปเลยก็มี จะทำอย่างไรให้ร้านที่ต้องการเติบโต สามารถทำอาหารอร่อยได้โดยไม่ต้องพึ่งพ่อครัวแม่ครัวมือหนึ่งอีกต่อไป นั่นก็คือ ต้องมีระบบงาน
ประการที่ 3 ขาดการสร้างระบบงานมาตรฐาน และระบบตรวจสอบ กิจการของคนไทยส่วนใหญ่ ยังขาดการพัฒนาระบบงาน ระบบงานคืออะไร คือการค้นหาวิธีการที่ดีขึ้นในการทำงาน เพื่อให้ได้คุณภาพสินดีสม่ำเสมอ ลดความผิดพลาด ซึ่งก็คือ การลดขั้นตอนการทำงานให้ง่ายที่สุด ยกตัวอย่าง เช่น สมมุติว่า ผัดกระเพรา แทนที่คนผัด จะต้องตักน้ำปลา พริก น้ำตาล น้ำมันหอย เนื้อสับ รวมทั้งสิ้น 10 ขั้นตอน เจ้าของร้านต้องคิดหาวิธี มีกระบวนการทำงานให้ง่ายที่สุด อาจจะเหลือเพียง 2-3 ขั้นตอนเท่านั้น เช่น มีการชั่งตวงวัดวัตถุดิบเนื้อ ใบกระเพรา จัดเป็นชุดไว้เรียบร้อยแล้ว ส่วนเครื่องปรุง ผสมเป็นซอสเอาไว้ เพื่อให้คนทำตักแค่ครั้งเดียว จำนวน 1 ช้อน เป็นต้น การจัดทำระบบงานให้ง่าย มีมาตรฐานเดียวกัน โดยทำให้ลูกค้าได้รับอาหารที่มีคุณภาพเดียวกันทุกร้าน และทุกๆครั้ง คือหัวใจสำคัญของการขยายร้านด้วยระบบแฟรนไชส์
ประการที่ 4 ขาดความรู้เรื่องระบบแฟรนไชส์ ถ้าต้องการความสำเร็จเรื่องแฟรนไชส์ แน่นอนที่สุดที่เจ้าของกิจการก็ต้องมีความรู้จริงเรื่องของการสร้างระบบแฟรนไชส์ เราจะ ขยายร้านออกไปได้นับ ร้อยนับพันแห่ง โดยไม่ต้องลงทุนเอง ได้อย่างไร ระบบแฟรนไชส์ มีข้อดี-ข้อเสีย อย่างไร กิจการของเราพร้อมที่จะทำแฟรนไชส์หรือยัง และมีขั้นตอนอะไรบ้างถ้าต้องทำแฟรนไชส์ เมื่อจะขายแฟรนไชส์ต้องทำอะไรบ้าง การทำสัญญาแฟรนไชส์เขาทำกันอย่างไร การสนับสนุนร้านเครือข่ายแฟรนไชส์ควรมีอะไรบ้าง เป็นต้น นี่เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องรู้ ถ้าต้องการความสำเร็จ
ร้านอาหารไทย หรือ แม้กระทั่งร้านอาหารประเภทอื่นๆ มีโอกาสสูง ที่ทำเป็นระบบแฟรนไชส์ได้ เพราะความต้องการซื้อแฟรนไชส์อาหารยังมีสูงที่สุด แต่ใครล่ะจะสามารถทำแฟรนไชส์ในธุรกิจอาหารได้สำเร็จ สมาคมแฟรนไชส์ไทย สำรวจความต้องการลงทุนแฟรนไชส์ ทุกครั้ง พบว่า มีผู้ที่ต้องการลงทุนแฟรนไชส์ อาหารมากที่สุด แต่ปรากฏว่า ตัวเลือกของร้านอาหารแฟรนไชส์ที่น่าสนใจมีน้อย ดังนั้น จึงเป็นช่องว่างอยู่ และนี่คือกาสทองของธุรกิจอาหาร ที่จะขยายธุรกิจได้ด้วยระบบแฟรนไชส์ แต่ปัญหาก็คือ ยังขาดแหล่งที่ให้ความรู้ และผู้ให้คำแนะนำ
สมาคมแฟรนไชส์จึงได้จัดอบรม “การสร้างระบบแฟรนไชส์ 30 ชั่วโมง รุ่นที่ 6 ขึ้น โดยใช้เวลา 5 วัน วันละ 6 ชั่วโมง ทุกวันเสาร์ (เยี่ยมชมกิจการแฟรนไชส์ชั้นนำ)
โดยมีหัวข้ออบรม เกี่ยวกับ การศึกษาความเป็นไปได้ในการทำแฟรนไชส์,เรื่องขั้นตอนการสร้างระบบแฟรนไชส์,การทำร้านต้นแบบ,ระบบมาตรฐานและการจัดทำคู่มือ,สัญญาแฟรนไชส์,การสร้างแบรนด์ การหาแหล่งทุนสนับสนุน เป็นต้น นอกจากนี้แล้วยังมีกิจกรรมจัดเยี่ยมชมแฟรไชส์ชั้นนำ คือ โรงงานซีพีแรม ซึ่งเป็นโรงงานที่ผลิตอาหารเพื่อจำหน่ายในร้านเซเว่น อีเลฟเว่น และ เยี่ยมชม ร้านแฟรนไชส์ชั้นนำ สำหรับวิทยากร ที่จะมาให้ความรู้ และให้คำแนะนำ การทำธุรกิจแฟรนไชส์ ล้วนเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ และมีประสบการณ์ในการบุกเบิกขยายธุรกิจแฟรนไชส์ได้สำเร็จมานานกว่า 20 ปี จึงอยากเชิญชวน ผู้ที่สนใจ การสร้างระบบแฟรนไชส์ ทั้งผู้ที่อยู่ในธุรกิจอาหาร หรือ ผู้อยู่ในธุรกิจอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหาร เข้าร่วมอบรม หลักสูตร “การสร้างระบบแฟรนไชส์ 30 ชั่วโมง” ประจำปี 2557 นี้ ซึ่งการอบรมจะรับจำนวนจำกัด ไม่เกิน 60 ท่าน ผู้ที่สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.franchisefocus.co.th หรือสอบถามเพิ่มเติมผ่านอีเมลล์ที่ [email protected]
หรือสอบถามที่สมาคมแฟรนไชส์ไทย โทร. 02 321 7701-2