WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

GOV1ครม.เห็นชอบร่างพ...ขายตรงและตลาดแบบตรง เตรียมส่งสนช.พิจารณา

   พล..สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่าง พ...ขายตรงและตลาดแบบตรง (ฉบับที่ ...) .. .... ของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาการได้ตรวจพิจารณาแล้ว และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ต่อไป

    พร้อมกันนี้ ยังรับทราบแผนการจัดทำกฎหมายลำดับรอง และกรอบระยะเวลาของร่าง พ...ขายตรงและตลาดแบบตรง (ฉบับที่ ...) .. .... ตามที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเสนอ

    โดยสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม พ...ขายตรงและตลาดแบบตรง พ..2545 ดังนี้

          1. เพิ่มบทนิยามคำว่า 'ห้างหุ้นส่วน' และ 'บริษัท'

          2. กำหนดห้ามประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการขายตรงและตลาดแบบตรงดำรงตำแหน่งหรือถือหุ้นเกินจำนวนที่กำหนดในบริษัทที่ประกอบธุรกิจขายตรงหรือตลาดแบบตรง

          3. กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจขายตรงต้องเป็นห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทและได้จดทะเบียนการประกอบธุรกิจขายตรงหรือตลาดแบบตรง

          4. กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจขายตรงและผู้จำหน่ายอิสระร่วม รับผิดต่อผู้บริโภคในความชำรุดบกพร่องของสินค้าหรือผู้บริการที่ผู้จำหน่ายอิสระขายให้แก่ผู้บริโภคหรือความเสียหายที่ผู้จำหน่ายอิสระนั้นได้ก่อขึ้นจากการไม่ปฏิบัติหน้าที่

          5. กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจขายตรงหรือผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงแจ้งการย้ายสำนักงานและส่งรายงานเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจต่อนายทะเบียน

          6. กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจขายตรงหรือผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงมีหน้าที่จัดทำเอกสารการซื้อขายสินค้าหรือบริการให้แก่ผู้บริโภค และกำหนดบทลงโทษผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม

          7. กำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ขอจดทะเบียนการประกอบธุรกิจขายตรงหรือตลาดแบบตรง โดยกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจขายตรงและผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงต้องเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด ที่มีทุนจดทะเบียนและชำระแล้วไม่ต่ำกว่าสิบล้านบาท

          8. กำหนดให้ต้องมีการวางหลักประกันรวมทั้งหลักเกณฑ์ในการจ่ายหลักประกันเพื่อชดเชยความเสียหายแก่ผู้บริโภค

          9. กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาคำขอจดทะเบียนของนายทะเบียน

          10. กำหนดหลักเกณฑ์การโอนกิจการและการเลิกประกอบธุรกิจขายตรงหรือตลาดแบบตรง และกำหนดบทลงโทษผู้ฝ่าฝืน

          11. กำหนดเหตุเพิกถอนทะเบียนการประกอบธุรกิจขายตรงหรือตลาดแบบตรงและเหตุอุทธรณ์

          12. กำหนดบทลงโทษสำหรับผู้ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียน

          13. กำหนดบทลงโทษสำหรับการสื่อสารข้อมูลเพื่อเสนอขายสินค้าหรือบริการของผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงที่ไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภคในส่วนที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคด้านการโฆษณา

                อินโฟเควสท์

ยกเครื่อง กม.ขายตรง 80 ฉบับ แยกความผิดไม่เหมารวมยกเข่ง

                        บ้านเมือง :  สุภพงษ์ เทียนสี/รายงาน

    ครม.ไฟเขียวแก้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ. ขายตรงรวดเดียว 80 ฉบับ ระบุ แยกความผิดของผู้บริหารและกรรมการบริษัทขายตรง ไม่เหมารวม ทั้งหมด

    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2559 ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล พ.ศ. ... ซึ่งจะนำไปสู่การแก้ไขกฎหมาย 80 ฉบับใน

     ครั้งเดียวกัน เนื่องจากก่อนหน้านี้ได้มีผู้ไปร้องต่อศาล รัฐธรรมนูญว่า พ.ร.บ.ขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ.2550 มีมาตราที่ขัดกับหลักนิติรัฐ นิติธรรม คือตามปกติผู้ที่เป็นจำเลยซึ่งถูกกล่าวหาจะถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ไว้ก่อนจนกว่าจะมีคำตัดสินของศาล แต่ พ.ร.บ.ขายตรงฯ มีมาตราที่ระบุว่า ไม่ว่าผู้นั้นจะเกี่ยวหรือไม่เกี่ยวข้อง แต่หากเป็นกรรมการของบริษัท ก็ถือว่าผิดไว้ก่อนจนกว่าจะพิสูจน์ทราบว่า ไม่ผิดถึงจะหลุดจากข้อกล่าวหาได้ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยออกมาว่าขัดกับหลักนิติรัฐนิติธรรม

    ดังนั้น ในครั้งนี้จึงได้มีการแก้ไขใหม่ว่า ต่อจากนี้ กฎหมายใดที่ขัดกับหลักรัฐธรรมนูญ ถ้าคนหนึ่งคนใดในบริษัทที่ผิดให้มีความผิดเฉพาะคนนั้น คนเดียว ส่วนคนอื่นที่ไม่รู้เห็นไม่ต้องรับผิด ไม่ว่า จะเป็นประธานบริษัท รองประธานบริษัท กรรมการบริษัท แต่หากมีส่วนรู้เห็นก็ต้องรับผิดชอบด้วย และจะไม่แก้ไขที่ พ.ร.บ.ขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ.2550 ฉบับเดียวแต่ให้แก้ไขในประเด็นเดียวกันของกฎหมายทั้ง 80 ฉบับ โดยจะมีบัญชีแนบท้ายระบุว่า 80 ฉบับที่ต้องการแก้ไขคือกฎหมายฉบับใดบ้าง แก้ไขในมาตราใดด้วยถ้อยคำอย่างใด

     อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ได้ออกมาเผยถึงสถิติการรับจดทะเบียนธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรง ปี 2559 ว่า ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันมีผู้มายื่นขอรับจดทะเบียนและได้รับ ใบอนุญาตแล้ว 48 บริษัท แบ่งเป็นธุรกิจขายตรง 30 บริษัท และธุรกิจตลาดแบบตรงอีก 18 บริษัท จากปัจจุบันมีบริษัทที่ยังดำเนินธุรกิจอยู่ 1,112 บริษัท ตั้งแต่ช่วงปี 2545-2558 โดยปริมาณการขอจดทะเบียนดำเนินธุรกิจในปีนี้ถือว่าเป็นปกติ แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจจะชะลอตัว ซึ่งส่วนใหญ่การดำเนินธุรกิจยังเป็นบริษัทของผู้ประกอบการคนไทยเป็นหลัก แต่อาจจะมีบางบริษัทที่มีผู้ถือหุ้นเป็นชาวต่างชาติบ้าง

    "การจดทะเบียนเพื่อดำเนินธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรง ไม่ถือว่ามากหรือน้อยในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ รวมถึงผู้ประกอบการยังคงเป็นคนไทย แม้ว่าช่วงก่อนหน้าที่จะเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซี มีการคาดการณ์ว่าจะมีผู้ประกอบการจากต่างชาติเข้ามาดำเนินธุรกิจจำนวนมาก ซึ่งอาจจะเป็นเพราะ

    ต่างชาติเห็นว่าประเทศไทยมีจำนวนผู้ประกอบการธุรกิจขายตรงเป็นจำนวนมากแล้วก็เป็นไปได้ สำหรับแผนธุรกิจที่มาจดทะเบียนขอใบอนุญาต จะพบว่าเป็นแผนในรูปแบบไบนารี หรือการหาสมาชิก 2 คนต่อๆ กันไป ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นเพราะแผนที่ทำให้ธุรกิจเติบโตได้เร็ว"

    ส่วนบริษัทที่ สคบ.เพิกถอนใบอนุญาตในปีนี้มีประมาณ 10 บริษัท ซึ่งความผิดจะเป็นลักษณะสถานที่ตั้งไม่ตรงกับใบอนุญาต หรือสถานที่ตั้งเปลี่ยนไปดำเนินธุรกิจอื่นแทน แต่มี 1 บริษัทที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบว่าจะเข้าข่ายฉ้อโกงประชาชนหรือลักษณะแชร์ลูกโซ่หรือไม่ ซึ่งกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ อยู่ระหว่างการตรวจสอบหลักฐานและแจ้งกลับมายัง สคบ. เพื่อดำเนินการ เพิกถอนใบอนุญาตหากกระทำความผิดจริง

    ส่วนเรื่องร้องเรียนของธุรกิจขายตรงตั้งแต่ปี 2556-2558 มีจำนวน 1,005 เรื่อง และในปีนี้มี 170 เรื่อง แบ่งเป็นธุรกิจขายตรง 50 เรื่อง และตลาดแบบตรงอีก 120 เรื่อง ซึ่งเรื่องร้องเรียน ได้แก่ 1.ขอคืนสินค้าและขอเงินคืน เนื่องจากสินค้าชำรุดเสียหาย สินค้าไม่เป็นไปตามที่โฆษณา และไม่พึงพอใจสินค้าที่สั่งซื้อ 2.ขอให้ตรวจสอบการโฆษณาขายสินค้าพร้อมเรียกค่าเสียหาย 3.ขอให้บริษัทปฏิบัติตามสัญญา การสั่งซื้อที่เสร็จเด็ดขาด 4.ผู้ประกอบธุรกิจไม่ปฏิบัติตามสัญญา 5.ผู้ประกอบธุรกิจส่งมอบสินค้าเลยกำหนดระยะเวลาที่ระบุในหน้าเว็บไซต์ และ 6.ผู้ประกอบธุรกิจคืนเงินแก่ผู้บริโภค ไม่ตรงตามที่โฆษณาระบุในหน้าเว็บไซต์

      ทั้งนี้ หากเมื่อเกิดปัญหาที่ผู้บริโภคได้รับความเดือดร้อนจากการซื้อสินค้า สคบ.จะเรียกให้ ผู้ประกอบการมาเจรจาตกลง ซึ่งส่วนใหญ่จะสามารถเจรจากันได้ด้วยดี แต่หากเป็นธุรกิจตลาดแบบตรง โดยเฉพาะการขายสินค้าผ่านเว็บไซต์หรือออนไลน์

     มักจะไม่สามารถหาตัวผู้ประกอบการที่จำหน่ายสินค้าได้ จึงต้องใช้เวลาในการสืบหาข้อมูลพอสมควร แต่มีบางกรณีที่มีการสั่งซื้อสินค้าจำนวนมากผ่านออนไลน์เพื่อมาจำหน่ายต่อ โดยเฉพาะสินค้าแบรนด์เนมและพบว่าโดนหลอกลวง ทาง สคบ.จะไม่สามารถเข้าไปดำเนินการได้ เนื่องจากผู้ซื้อ ไม่ได้อยู่ในฐานะของผู้บริโภค จึงต้องไปดำเนินการ แจ้งความเอาผิดในฐานฉ้อโกงประชาชนกับเจ้าหน้าที่ตำรวจแทน

     "ส่วนธุรกิจขายตรงหากเป็นผู้บริโภคที่ซื้อสินค้ามาใช้เอง สคบ.จะเรียกผู้ประกอบการมาแก้ไขปัญหา ซึ่งสามารถตกลงกันได้ แต่ถ้าเป็นผู้จำหน่ายอิสระที่อาจจะไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการทำธุรกิจ สคบ.จะเป็นตัวกลางในการเจรจาให้แต่ไม่ถือว่าอยู่ในฐานะของผู้บริโภคเช่นกัน อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การแก้ไขปัญหาได้ในหลายเรื่อง ทาง สคบ. ได้เสนอแก้ไข พ.ร.บ.ขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ.2545 ใน 5-6 ประเด็นสำคัญ ซึ่งมีเรื่องการนำเสนอให้มีการวางเงินประกัน กับผู้ที่จะดำเนินธุรกิจ เพื่อใช้เป็นหลักทรัพย์ในการแก้ไขปัญหาหากกรณี เกิดปัญหาขึ้นกับผู้บริโภค ที่ขณะนี้เรื่องอยู่ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. หากกฎหมายดังกล่าวผ่านแล้วจะทำให้แก้ไขปัญหาผู้บริโภคไม่ได้รับความเป็นธรรม ได้มาก และแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อีกหลายอย่างด้วยกัน"

     สำหรับ กรอบวงเงินประกันที่จะนำมาใช้สำหรับการขอใบอนุญาตดำเนินธุรกิจนั้น ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการขายตรงและตลาดแบบตรงที่จะเป็นผู้กำหนด แต่น่าจะเริ่มต้นที่วงเงิน 1 แสนบาทสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก และปรับเพิ่มขึ้นตามขนาดของธุรกิจ นอกจากนี้ ยังมีประเด็นที่เสนอแก้ไขให้ผู้ประกอบการในธุรกิจขายตรง และตลาดแบบตรงจะต้องรายงานผลการดำเนินงานให้ สคบ.ได้รับทราบทุก 6 เดือน และใบอนุญาตที่มีกำหนดอายุจะต้องต่อใหม่ ซึ่งแนวทางดังกล่าวจะช่วย ลดปัญหาการฉ้อโกงประชาชน รวมถึงปัญหาความเดือดร้อนอื่นๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น กับผู้บริโภคได้ด้วย ซึ่งทาง สคบ.คาดว่ากฎหมายดังกล่าวน่าจะผ่าน สนช.ออกมา มีผลบังคับได้ภายในปีนี้

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!