- Details
- Category: ขายตรง
- Published: Thursday, 07 April 2016 12:05
- Hits: 6266
แฟรนไชส์ไทย ไป AEC ได้จริงไหม ?
ช่วงนี้ นโยบายของรัฐบาล กำลัง เร่งเรื่องการค้าขายไปยัง AEC ซึ่งเรื่องของแฟรนไชส์ ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ถูกผลักดันเช่นกัน แต่ทว่า ธุรกิจแฟรนไชส์ของไทย จะก้าวไปใน เออีซี คือ เรื่องจริง หรือ จะเป็น แค่ ความฝัน ?
ในระยะกว่า 20 ปีที่ผ่านมา แฟรนไชส์ไทยมีการส่งออกไม่เกิน 20 ราย เช่น แบล็คแคนย่อน,นีโอสุกี้,คอฟฟี่ เมกเกอร์,แม่ศรีวรรณ , อีซีส์,โมลี่แคร์,สมาร์เบรน ,พิซซ่า คอมพานี,แมงโก้ ทรี คอฟฟีเวิลด์ เป็นต้น
เราประสบความสำเร็จมากไหม เป็นการส่งออกแฟรนไชส์ ไปต่างประเทศ
ถ้าเทียบกับระยะเวลา นับว่าน้อย เพราะเมื่อ 10 ปีก่อนก็มีประมาณ 10 ราย 10 ปี ต่อมา รวมรายชื่อทั้งหมด ไม่น่าจะเกิน 20 ราย แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีแฟรนไชส์ของคนไทย ที่เป็นต้นแบบที่ดี ในการสร้างความสำเร็จให้เห็นในการขยายตลาดต่างประเทศได้เป็นจำนวนมาก เช่น แบล็คแคนย่อน ที่ขายแฟรนไชส์ไปแล้ว ในหลายประเทศ เช่น พม่า อินโดนีเซีย ลาว ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย กัมพูชา เป็นต้น ,แมงโก้ทรีและโคคาสุกี้ เปิดในเอเชีย และยุโรป กว่า 40 แห่ง และ,สมาร์เบรน สถาบันสอนคณิตศาสตร์ สำหรับเด็ก ก็มี แฟรนไชส์ ในต่างประเทศ เช่น ตูนีเซีย ปากีสถาน คูเวต ซาอุ อังกฤษ จีน อีนเดีย เป็นต้น
ความสำเร็จในเหล่านี้ เป็นแรงกระตุ้นที่สำคัญ ที่จะสร้างแรงบันดาลใ จทำให้กิจการของคนไทย มั่นใจว่า แฟรนไชส์ไทยสามารถส่งออกไปต่างประเทศได้จริง แต่ทำอย่างไร จึงจะไปถึง จุดนั้น ? เรื่องนี้มีข้อแนะนำ
1.ความสำเร็จต้องเกิดขึ้นในประเทศเสียก่อน
เราจะเห็นได้ว่า แฟรนไชส์ที่ส่งออกนั้น ย่อมที่จะมีความสำเร็จ เกิดขึ้นในประเทศเสียก่อน หรืออย่างน้อย ก็มีร้านสาขา ที่ประสบความสำเร็จแล้ว ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญในเรื่องทักษะการบริหารจัดการร้านสาขา ที่ไกลออกไป
2.ประเภท ธุรกิจ ควรเป็นประเภท ที่ตลาดโลกต้องการ
ทุกๆปี มีโครงการของภาครัฐ ที่ออกทุน ในการจับคู่ธุรกิจแฟรนไชส์ไทย ในประเทศต่างๆ แต่ผลที่ออกมาอาจไม่น่าพอใจนัก นั่นอาจเป็นเพราะ ความไม่แข็งแรงของกิจการที่ส่งออกก็ส่วนหนึ่ง และที่สำคัญกิจการเหล่านั้นอาจจะยังไม่ถูกใจของนักธุรกิจต่างชาติ ธุรกิจที่พวกเขาสนใจมากที่สุด คือ ร้านอาหารไทย หรือ บริการที่โดดเด่นของไทย เช่น นวดไทย สปาไทย เสริมสวยไทย ศูนย์ออกกำลังกายมวยไทย หรือค่ายมวยไทย เป็นต้น แต่เป็นที่น่าเสียดาย ที่ธุรกิจแฟรนไชส์ของไทยที่ส่งออก ยังไม่ค่อยมีในกลุ่มนี้ เราจะสังเกต เห็นได้ชัดว่า แฟรนไชส์ อาหารไทยแทบจะไม่มี
ดังนั้น เราควรจะมีการทำการศึกษาให้แน่ชัด ถึงความต้องการของผู้ซื้อแฟรนไชส์ในต่างประเทศว่า เขาต้องการกิจการแบบไหน อย่างไร ของคนไทย เพื่อตอบสนองให้ตรงจุด
3.แนวทางการส่งเสริม
ถ้าการส่งออกแฟรนไชส์ เกิดขึ้นไทยเพียงแค่ 5 ราย ของทุกๆปี ก็เท่ากับว่าเติบโตได้ถึง 20% ทีเดียว ครบ 5 ปี ก็มีเพิ่ม 25 ราย เท่ากับมากกว่า 100% ของปัจจุบัน ก็จะทำให้ธุรกิจแฟรนไชส์ของไทยสามารถผงาดในตลาดโลกได้อย่างสวยงามแล้ว แต่น่าจะติดที่พื้นฐาน ที่ตัวเลือกแฟรนไชส์ที่มีศักยภาพในการส่งออกของไทย มีน้อยเกินไป และการคัดเลือกส่งเสริม ควรเน้น ธุรกิจที่มีความเป็นไปได้ และตลาดโลกต้องการ
4.มีความตั้งใจสูง ในครองตลาดต่างประเทศ
นักธุรกิจของคนไทยส่วนมาก ยังไม่ได้ตั้งเป้าสูงขนาดส่งออกกิจการไปตลาดโลก แต่นับจากนี้ไป หากใครก็ตาม ที่แน่ใจว่ากิจการของตัวเองมีดี และชาวโลกต้องการ อาจลองศึกษา เรื่องการขยายธุรกิจด้วยระบบแฟรนไชส์ดู ที่ช่วยให้ทำให้กิจการนั้น ไปไกลเกินกว่าที่ฝันเอาไว้
5.การมีหุ้นส่วน ที่ใช่
การขายแฟรนไชส์ไปต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จได้นั้น ส่วนที่สำคัญยิ่งก็คือ การได้พบกับคู่ค้าที่ใช่ เพราะผู้ที่สร้างความสำเร็จตัวจริง คือคู่ค้าในประเทศนั้น ดังนั้น หากได้พบกับคู่ค้ าที่ดี ก็ถือว่ามีโชค
6.ศึกษา เรื่องแฟรนไชส์
การส่งออกแฟรนไชส์ไทย ไป AEC หรือ ตลาดโลก ไม่ใช่เรื่องไกลเกินฝัน ถ้าสินค้า-บริการของเรามีจุดเด่น ที่ชาวต่างชาติชอบ เพียงแต่ต้องปรับปรุง หน้าตา ภาพลักษณ์ของกิจการให้โดดเด่นมากขึ้นด้วยการดีไซน์ที่ดี และใส่ระบบงาน หรือบันทึกขั้นตอนการทำงานที่ดีในทุกจุด เพื่อให้ง่ายในการบริหารจัดการ และควบคุมมาตรฐาน รวมทั้งหาความรู้ในเรื่องของการสร้างระบบแฟรนไชส์ การบริหารสาขา และความรู้ที่เกี่ยวข้องให้มากที่สุด ทั้งจากสมาคม องค์กรต่างๆ และจากผู้ที่มีประสบการณ์มาก่อน
สมาคมแฟรนไชส์ไทย ขอร่วมส่งเสริมให้ธุรกิจแฟรนไชส์ของคนไทย ได้ไปไกลถึงตลาดโลก เพราะกิจการของคนไทยมีดี มีเอกลักษณ์ของตัวเองอยู่แล้ว เช่น อาหารไทย มีความอร่อยเป็นที่เลื่องลือ หรือ งานด้านบริการของไทยทุกประเภท เช่น บริการด้านสุขภาพ ความงาม เป็นต้น แฟรนไชส์ไทย ไป AEC จะเป็นเรื่องจริง หรือ แค่ความฝัน ขึ้นกับ การตั้งเป้าของผู้ประกอบการไทย ที่จะใช้ระบบแฟรนไชส์ ในการขยายธุรกิจอย่างจริงจังในตลาดโลก เพื่อจะสร้างโอกาสใหม่อย่างไร้ขีดจำกัด
สนใจเรื่องการสร้างระบบแฟรนไชส์ ในเดือนพฤษภาคม 2558นี้ สมาคมแฟรนไชส์ไทย เปิดอบรม อาคารซี พีทาวเวอร์ ถนนสีลม เรื่อง 'การสร้างระบบแฟรนไชส์ 30 ชั่วโมง'พร้อมจัดเยี่ยมชมกิจการแฟรนไชส์ที่ประสบความสำเร็จ สนใจสอบถามที่ 02 321 7701-2 หรือ โทร/ID Line: 086 341 2973 ดูเพิ่มรายละเอียดเติมได้ที่ www.franchisefocus.co.th
อบรมสร้างระบบแฟรนไชส์ 30 ชั่วโมง
อาคาร ซีพีทาวเวอร์ ชั้น 11 ถนนสีลม (ลงรถไฟฟ้าสถานีศาลาแดง,หรือ ลงรถใต้ดิน สถานีสีลม)
วันเสาร์ที่ 7 พ.ค 59
12.30 น. ลงทะเบียน (คุณสมจิตร ลิขิตสถาพร นายกสมาคมแฟรนไชส์ไทย)
13.00 น. ความหมายแฟรนไชส์ ข้อดี-ข้อเสีย ของการทำแฟรนไชส์
14.00 น. การศึกษาความเป็นไปได้ ในการทำแฟรนไชส์
15.00 น กรณีศึกษา (…………………………………………)
(…………………………………………)
17.00 น กิจกรรมสัมพันธ์
18.00 น. ถาม-ตอบ จบการอบรม
วันศุกร์ที่ 13 พ.ค 59 (เยี่ยมชมกิจการ)
8.00 น. ลงทะเบียน จุดนัดพบ
8.20 น. ออกเดินทาง รับของว่างในรถบัส
9.30 น. เยี่ยมชมกิจการแฟรนไชส์ ศูนย์นวัตกรรมซีพีแรม และโรงงาน อ. ศรีราชา จ.ชลบุรี
13.30 น รับประทาน อาหารกลางวัน ( ร้านแฟรนไชส์ ไจแอนด์ ยากินิกึ )
16.00 น. เดินทางกลับ
วันเสาร์ที่ 21 พ.ค 59
12.30 น. ลงทะเบียน (คุณกุลวัฒน์ วิชัยลักษณ์ ผู้บริหาระบบแฟรนไชส์ )
13.00 น. ขั้นตอนในการสร้างระบบแฟรนไชส์ (ร้าน พิซซ่า คอมพานี ร้านสเว่นเซ่น เบอร์เกอร์คิงส์)
15.00 น ระบบมาตรฐาน
16.00 น. การจัดทำคู่มือ และการอบรม
18.00 น. ถาม-ตอบ จบการอบรม
วันเสาร์ที่ 28 พ.ค 59
12.30 น. ลงทะเบียน (บริษัท เบเคอร์ แอนด์ แม็คแค็นซี่ จำกัด)
13.00 น. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับแฟรนไชส์ และสัญญา แฟรนไชส์
14.00 น. การวางกลยุทธ์ ในการขยายธุรกิจ ( คุณธนินวัฒน์ พรพัฒน์เดชอุดม )
15.00 น การสร้าง คอนเซ็ปต์ธุรกิจ
16.00 น. ฝึกปฎิบัติการ จัดทำคู่มือ (คุณสมจิตร ลิขิตสถาพร นายกสมาคมแฟรนไชส์ไทย)
18.00 น. ให้ความเห็น การทำโครงร่างคู่มือ
วันเสาร์ที่ 4 มิ.ย 59
12.30 น. ลงทะเบียน ( ผศ.เอกพงษ์ ตรีตรง คณบดี คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร)
13.00 น. การสร้างแบรนด์
15.00 น. ร้านต้นแบบ
17.30 น สอบความรู้
18.00 น. รับประกาศนียบัตร อบรมความรู้ จากสมาคมแฟรนไชส์ไทยปิดการอบรม