WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

DBDแนะเอกซเรย์ธุรกิจขายตรง

      บ้านเมือง : น.ส.ผ่องพรรณ เจียรวิริยะพันธ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์ที่ปรากฏในข่าวปัจจุบันเกี่ยวกับธุรกิจขายตรง ซึ่งได้สร้างความเสียหายในจำนวนที่สูงมาก อาทิ กรณีการขายตรงที่มีลักษณะหลอกลวงในรูปแบบแชร์ลูกโซ่ เป็นต้น เพื่อป้องกันความเสียหาย กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจึงขอแนะนำให้ผู้ประกอบธุรกิจและประชาชนที่จะทำธุรกิจกับนิติบุคคลประเภทธุรกิจขายตรง ควรตรวจสอบข้อมูลการจดทะเบียน วัตถุประสงค์การจัดตั้งของนิติบุคคลนั้นๆ ที่ต้องมีความถูกต้องตามขั้นตอนข้างต้นให้ดีก่อน รวมทั้งในหนังสือรับรองอาจมี "ข้อควรทราบ" ที่นิติบุคคลบางรายถูกระบุไว้เพื่อเป็นข้อสังเกตในด้านความน่าเชื่อถือ โดยสามารถตรวจสอบด้วยตนเองผ่าน 3 ช่องทางได้แก่ สายด่วน 1570 ทางเว็บไซต์ www.dbd.go.th (หัวข้อคลังข้อมูลธุรกิจ) และ ดาวน์โหลด Application "DBD e- Service" ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย ขณะเดียวกันกรมพัฒนาธุรกิจการค้ายังกำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางในการป้องปรามการกระทำที่จะเกิดขึ้นดังนี้

    สำหรับ กรณี "ธุรกิจขายตรงหรือการตลาดแบบตรง" ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องแสดงเอกสารทางราชการที่เป็น "ต้นฉบับ" ได้แก่ บัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน รวมถึงเอกสารแสดงฐานะทางการเงินจากธนาคารของหุ้นส่วนและผู้ถือหุ้น ทุกคนต่อนายทะเบียนเพื่อตรวจสอบความน่าเชื่อถือ และต้องมีหนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่จากเจ้าของสถานที่ที่สำนักงานจัดตั้งอยู่ด้วย ทั้งนี้ ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องแสดงเอกสารดังกล่าว ให้ครบถ้วนจึงจะสามารถจดทะเบียนจัดตั้งได้

  อย่างไรก็ดี การจดทะเบียนตั้งธุรกิจในประเภทธุรกิจข้างต้นจะยังไม่เป็นผลสมบูรณ์ในทันที เพราะผู้ประกอบธุรกิจที่จะจดทะเบียนนิติบุคคลที่มี "วัตถุประสงค์" ในการประกอบธุรกิจขายตรง และธุรกิจตลาดแบบตรงจะ "ต้องได้รับอนุญาต" การดำเนินธุรกิจจาก "สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค" เสียก่อน จึงจะมีผลสมบูรณ์เป็นไปตามที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ออกระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางว่าด้วยการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัท (ฉบับที่ 9) พ.ศ.2557 ซึ่งมีผลบังคับใช้ไปแล้วตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน 2557

   "กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จึงขอแนะนำให้ผู้ประกอบธุรกิจและประชาชนที่จะทำธุรกิจกับนิติบุคคลประเภทธุรกิจขายตรง ควรตรวจสอบข้อมูลการจดทะเบียน วัตถุประสงค์การจัดตั้งของนิติบุคคลนั้นๆ ที่ต้องมีความถูกต้องตามขั้นตอนข้างต้นให้ดีก่อน รวมทั้งในหนังสือรับรองอาจมี "ข้อควรทราบ" ที่นิติบุคคลบางราย ถูกระบุไว้เพื่อเป็นข้อสังเกตในด้านความน่าเชื่อถือ"

แนะวิธีไล่ตรวจ'ธุรกิจขายตรง'สกัดแชร์ลูกโซ่

   ไทยโพสต์ : สนามบินน้ำ * น.ส.ผ่องพรรณ เจียรวิริยะพันธ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า ปัจจุบันในโลกของธุรกิจมีลักษณะที่มุ่งหลอกลวงประชาชน ขาดความโปร่งใส และไม่ปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลที่ดีมากขึ้น มีการวางแผนสร้างกลไกที่ซับซ้อน และมีกลอุบายในการชี้ชวนให้ผู้บริโภคคล้อยตามหลงเชื่อได้อย่างแยบยล สร้างความเสียหายให้กับผู้หลงเชื่อ และเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม เช่น กรณีการขายตรงที่มีลักษณะหลอกลวงในรูปแบบแชร์ลูกโซ่ เป็นต้น

    ในฐานะที่กรมเป็นผู้ให้บริการในการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคล ดังนั้น เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากแชร์ลูกโซ่ที่อาจแฝงมาในรูปแบบธุรกิจขายตรง จึงได้กำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางในการป้องปรามการกระทำที่จะเกิดขึ้น

   สำหรับ กรณีธุรกิจขายตรงหรือการตลาดแบบตรง ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องแสดงเอกสารทางราชการที่เป็นต้นฉบับ ได้แก่ บัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน รวมถึงเอกสารแสดงฐานะทางการเงินจากธนาคารของหุ้นส่วนและผู้ถือหุ้นทุกคนต่อนายทะเบียนเพื่อตรวจสอบความน่าเชื่อถือ

    ทั้งนี้ ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องแสดงเอกสารดังกล่าวให้ครบถ้วน จึงจะสามารถจดทะเบียนจัดตั้งได้ แต่จะต้องได้รับอนุญาตการดำเนินธุรกิจจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เสียก่อน จึงจะมีผลสม บูรณ์ เป็นไปตามที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ออกระเบียบ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 พ.ย.2557.

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!