WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ขายตรงพร้อมรับมือเออีซี กางตำราเดินหน้าเจาะเพื่อนบ้าน

                บ้านเมือง : สุภพงษ์ เทียนสี/รายงาน

     นับถอยหลังเหลืออีกไม่กี่อึดใจ ก็จะถึงการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปีหน้า โดยเฉพาะภาคส่วนต่าง ที่เตรียมการขยับแข้งขยับขาความพร้อมต่างๆ เตรียมรับมือความพร้อมในการแข่งขันที่ยิ่งทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น เช่นเดียวกับธุรกิจขายตรงก็เช่นกัน เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ต้องมานั่งถกเถียง เพราะถือว่าเป็นธุรกิจที่สร้างมูลค่าทางการตลาดอย่างมหาศาลธุรกิจหนึ่ง โดยหากพิจารณาศักยภาพของบริษัทขายตรงสัญชาติไทย ก็คงต้องยอมรับว่ามีไม่น้อยกว่าบริษัทสัญชาติตะวันตกหรือในอาเซียนด้วยกันเอง ปัจจุบันได้มีการออกไปทำตลาดกันอย่างต่อเนื่อง และได้สร้างมูลค่าและยอดขายกลับมาสู่ประเทศไทย เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของผู้ประกอบการไทยที่ไม่ได้แพ้ใครในเวทีการค้านานาชาติแน่นอน

     วันนี้ทีมข่าว "ไดเรกเซลล์บ้านเมือง" ออกสำรวจความพร้อมบริษัทขายตรงต่อการรับมือการเปิดการค้าเสรีอาเซียนที่จะถึงนี้ มีความพร้อมกันมากน้อยแค่ไหน

     นายเศรษฐพงค์ เหมินทคุณ รองประธานกรรมการด้านธุรกิจเครือข่ายเอสเนเจอร์ บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ที่ผ่านมา "เอสเนเจอร์" ได้พิสูจน์แล้ว เพราะยอดเพิ่มขึ้นทุกปี ในส่วนของ AEC "เอสเนเจอร์" มีสำนักงานที่พม่าแล้ว และสินค้าการเกษตรตอบรับดีมาก ส่วนที่ลาว "เอสเนเจอร์" ก็มีสำนักงานเช่นกัน แต่จะเป็นในเรื่องความสวยความงาม และที่กัมพูชา ตอนนี้ได้ขอจดทะเบียนสินค้าได้บางตัวแล้ว ซึ่งกำลังดูอยู่ว่าจะทำอย่างไรต่อ และที่แทรกมานั่นก็คือมาเลเซีย เนื่องจากว่ามีคนสนใจมาก ตอนนี้กำลังดำเนินการอยู่ ต่อจากนี้จะเป็นสิงคโปร์ อินโดนีเซีย บรูไน เพราะว่าตรงนี้เป็นส่วนที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันหมด ซึ่งต้องยอมรับว่าทั้งมาเลเซียและอินโดนีเซียเป็นตลาดใหญ่ของเกษตร สิงคโปร์แม้จะไม่ใช่ตลาดใหญ่ของเกษตร แต่มีคอนเนคชั่นทั่วโลก

   ขณะที่นายพรภวิษย์ วงศ์ประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ร้อยเท่าพันทวี จำกัด กล่าวว่า นอกจากปัจจุบันบริษัทเปิดสำนักงานที่เอสพลานาด ถนนรัชดาภิเษกแล้ว ยังมีการเดินหน้าขยายสาขาเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นสาขาเชียงใหม่ นครราชสีมา จากนั้นจะรุกเข้าสู่ตลาด AEC โดยนำร่องที่ประเทศพม่าเป็นที่แรก จากนั้นก็ขยายต่อไปยังกัมพูชาในโอกาสต่อไป แต่ทั้งนี้การเข้าไปขยายตลาดต้องไปพร้อมกันกับผู้นำไทย ซึ่งจะเดินหน้าเติบโตไปด้วยกัน

     ด้านนายเอกดนัย สุฉันทบุตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท สไมล์ พลัส เน็ตเวอร์ค จำกัด กล่าวว่า บริษัทมีแผนการรุกตลาดต่างประเทศในคอนเซ็ปต์ One Code One World รหัสเดียวรวยทั่วโลก โดยได้เตรียมเข้าไปเปิดตลาดในประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศลาวและประเทศพม่า ซึ่งเป็นตลาดใหม่ที่ยังมีโอกาสอีกมากในการขยายฐานธุรกิจเครือข่ายในทั้ง 2 ประเทศ โดยบริษัทได้มีการเตรียมดำเนินการของ อย.ที่ประเทศลาวไว้แล้ว ซึ่งคาดว่าในปีหน้าจะสามารถเริ่มเปิดตลาดได้ในระยะเวลาอันใกล้นี้ แต่อย่างไรก็ต้องมีการศึกษากฎหมายและตลาดในประเทศนั้นๆ ให้ถ่องแท้เสียก่อน ค่อยเข้าไปอย่างภาคภูมิใจ

   ขณะที่ นายสมชาย ติงสมิธ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อัลฟ่า ไบโอ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า กลยุทธ์ในการบุกตลาดในครึ่งปีหลัง ตรงนี้บริษัทได้เตรียมการกระตุ้นยอดขายอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นโปรโมชั่นท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ การลดราคาสินค้าและแจกของแถม พร้อมทั้งส่งเสริมให้ผู้นำเปิดเซ็นเตอร์ ลงทุนประมาณ 300,000 บาท ซึ่งปัจจุบันมีเซ็นเตอร์อยู่ 55 แห่งทั่วประเทศ แต่ที่กระแสตอบรับกำลังมาแรงคือทางภาคอีสาน จังหวัดอำนาจเจริญ กาฬสินธุ์ นครพนม และมุกดาหาร ข้ามฝั่งไปโตที่สะหวันนะเขต ประเทศลาว และมีแผนพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามแนวตะเข็บชายแดน เพื่อรองรับการเปิด AEC ซึ่งขณะนี้มีที่พม่าแล้ว และต่อไปจะขยายเข้าเปิดที่ลาว ซึ่งตอนนี้ยังใช้วิธีหิ้วอยู่ ส่วนกัมพูชาต้องรอก่อนสักพัก ตอนนี้ "อัลฟ่า" ได้ร่วมกับธนาคารไทยพาณิชย์ในการใช้บริการบัตรแคชการ์ดที่จะเข้ามาช่วยในระบบการจ่ายโอนคอมมิชชั่นด้วย

    ส่วนนายใจกล้า กาดำดวน รองประธานกรรมการ บริษัท รมิตา เฮลธ์แอนด์บิวตี้ จำกัด กล่าวว่า ปีนี้คงต้องยอมรับว่าโดนปัญหาในเรื่องของเศรษฐกิจหนัก โดยเฉพาะในเรื่องปีหลัง จุดนี้เองจึงทำให้ "รมิตา" ต้องขยายออกไปต่างประเทศเป็นหลัก ณ ขณะนี้มีสาขาที่ประเทศ 11 สาขา, เวียดนาม 1 สาขา, พม่า 1 สาขา, กัมพูชา 1 สาขา แต่ยังไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าที่ควร และที่มาเลเซีย ซึ่งได้รับการตอบรับดีมาก ตรงนี้บริษัทได้เปิดดำเนินการเองทั้งหมด

     "ต้องบอกว่าที่มาเลเซียตอนนี้กำลังบูมมาก เนื่องจากว่าเราได้ผู้นำจากค่ายอื่นเข้ามาร่วมงานกับเราได้มาลุยงานอย่างเต็มที่ และอีกอย่างเราก็มีโปรโมชั่นสำหรับพี่น้องมุสลิม นั่นคือการทำยอดถึงปลายปีนี้ประมาณ 30 ท่าน เพื่อไปประกอบพิธีอุมเราะห์ตามหลักศาสนาอิสลาม เนื่องจากพิธีฮัจญ์ เอกชนไม่สามารถทำได้ รัฐบาลจะเป็นผู้กำหนดว่าในแต่ละปีสามารถไปได้กี่คน เราจึงได้กำหนดการไปประกอบพิธีอุมเราะห์ขึ้นมา โดยจะเดินทางประมาณเดือนเมษายนปี 58 นี้"

   อย่างไรก็ตาม ในเรื่องของ AEC นี่ไม่ใช้เรื่องใหม่ เพราะเมื่อก่อนก็มีการติดต่อสื่อสารกันเป็นประจำ ถือได้ว่า AEC อยู่ในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว เพราะมีการขยายสายงานข้ามกันไปมาตลอด เพียงแต่ว่ายังไม่ได้รวมกลุ่มกันแบบชัดเจน แต่ในเมื่อได้มีการรวมกลุ่มกันแล้ว แน่นอนที่สุดในเรื่องของภาษีลดลง ทำให้ตลาดใหญ่ขึ้น และการติดต่อประสานงานกันสะดวกมากขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเราก็ต้องเตรียมรับมือด้วยเช่นกัน เพราะประเทศต่างๆ ใน AEC หรือประเทศที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่ม AEC จะต้องเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ในประเทศไทยเป็นแน่นอน...!

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!