WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOCจนทรา ยมเรวตก.พาณิชย์ แนะไทยส่งสินค้าและบริการไอทีเจาะตลาดกัมพูชา หลังพฤติกรรมการบริโภคเริ่มใช้เทคโนโลยีมากขึ้น

    ก.พาณิชย์ เผยสินค้าสำหรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และบริการด้านไอที มีโอกาสขยายตลาดในกัมพูชาสูงมาก แนะผู้ผลิต ผู้ให้บริการไทย วางแผนส่งออกและเข้าไปให้บริการรองรับการเติบโต หลังคนรุ่นใหม่ นักท่องเที่ยว นิยมใช้แอปพลิเคชันค้นหาข้อมูลด้านบันเทิง ที่ท่องเที่ยว ที่ดื่ม ที่กิน หรือรับบริการจากภาครัฐ

     นางจันทิรา ยิมเรวัต วิวัฒน์รัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ปัจจุบันนี้ กัมพูชาได้มีการพัฒนาและยกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมในประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่และอินเทอร์เน็ต ที่เข้าถึงประชากรกัมพูชามากกว่า 45%ของจำนวนประชากร 15 ล้านคน และยังพบว่าภาครัฐและเอกชนในกัมพูชาได้นิยมนำแอปพลิเคชันมาเป็น ส่วนหนึ่งของการทำธุรกิจหรือการให้บริการ ได้ส่งผลให้พฤติกรรมการบริโภค และการใช้ชีวิตเปลี่ยนไปจากเดิม เริ่มมีการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีต่างๆ เพิ่มมากขึ้น และลดการบริโภคหรือใช้บริการบางรูปแบบที่ล้าสมัยและไม่สะดวกสบาย

      ทั้งนี้ จากการขยายตัวดังกล่าว ทำให้สินค้าที่เกี่ยวข้องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เช่น อุปกรณ์รับส่งสัญญาณ กล่องแผงวงจรควบคุม สายเคเบิลชนิดต่างๆ รวมถึงอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือสินค้าและบริการ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคโดยตรง เช่น การสร้างและพัฒนาโปรแกรม ระบบปฏิบัติการ แอปพลิเคชัน ข้อมูลและสื่อทางดิจิตอล ที่สามารถตอบสนองความต้องการในด้านต่างๆ ของผู้บริโภค ทั้งด้านบันเทิง ข้อมูลข่าวสาร วิชาการ สุขภาพ การเดินทาง การติดต่อสื่อสาร การเงิน การซื้อสินค้าและบริการ ได้มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

       “กรมฯ เห็นว่าการขยายตัวของโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีและการให้บริการในกัมพูชา จะเป็นโอกาสสำหรับภาคธุรกิจไทย ทั้งผู้ผลิตและพัฒนาสินค้า ผู้ให้บริการที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ ในการขยายตลาดจำหน่ายสินค้าเหล่านี้ รวมถึงการให้บริการทางด้านวิศวกรรมและด้านเทคนิคสำหรับการติดตั้งและบำรุงรักษาเข้าไปยังกัมพูชา”นางจันทิรากล่าว

      นางจันทิรา กล่าวปิดท้ายว่า สำหรับแอปพลิเคชันที่ได้รับความนิยมในกัมพูชาแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ กลุ่มแรกเป็นแอปพลิเคชันด้านการท่องเที่ยว เช่น แอปฯ Cambodia e-Visa ใช้ขอวีซ่าสำหรับนักท่องเที่ยว แอปฯ จองโรงแรมที่พักในกัมพูชา แอปฯ แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวและการเดินทาง แอปฯ Leboost ค้นหาร้านอาหาร ผับ บาร์ กลุ่มที่ 2 เป็นแอปฯ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น แอปฯ Mealtemple รวบรวมร้านอาหารกว่า 270 ร้าน แอปฯ เรียกรถโดยสารสาธารณะ แอปฯ ทำธุรกรรมทาง การเงิน แอปฯ ส่วนลดร้านอาหาร เป็นต้น และกลุ่มสุดท้าย เป็นแอปฯ ของหน่วยงานภาครัฐ เช่น แอปฯ ของกระทรวงขนส่งสาธารณะและคมนาคม แอปฯ กรมศุลกากร และแอปฯ เกี่ยวกับกฎหมายแรงงานที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจ เป็นต้น

'พาณิชย์'แนะส่งสินค้าและบริการไอทีเจาะตลาดกัมพูชา

      'พาณิชย์'เผยสินค้าสำหรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และบริการด้านไอที มีโอกาสขยายตลาดในกัมพูชาสูงมาก แนะผู้ผลิต ผู้ให้บริการไทย วางแผนส่งออกและเข้าไปให้บริการรองรับการเติบโต หลังคนรุ่นใหม่ นักท่องเที่ยว นิยมใช้แอปพลิเคชันค้นหาข้อมูลด้านบันเทิง ที่ท่องเที่ยว ที่ดื่ม ที่กิน หรือรับบริการจากภาครัฐ 

     นางจันทิรา ยิมเรวัต วิวัฒน์รัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ปัจจุบันนี้ กัมพูชาได้มีการพัฒนาและยกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมในประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่และอินเทอร์เน็ต ที่เข้าถึงประชากรกัมพูชามากกว่า 45% ของจำนวนประชากร 15 ล้านคน และยังพบว่าภาครัฐและเอกชนในกัมพูชาได้นิยมนำแอปพลิเคชันมาเป็นส่วนหนึ่งของการทำธุรกิจหรือการให้บริการ ได้ส่งผลให้พฤติกรรมการบริโภค และการใช้ชีวิตเปลี่ยนไปจากเดิม เริ่มมีการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีต่างๆ เพิ่มมากขึ้น และลดการบริโภคหรือใช้บริการบางรูปแบบที่ล้าสมัยและไม่สะดวกสบาย 

       ทั้งนี้ จากการขยายตัวดังกล่าว ทำให้สินค้าที่เกี่ยวข้องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เช่น อุปกรณ์รับส่งสัญญาณ กล่องแผงวงจรควบคุม สายเคเบิลชนิดต่างๆ รวมถึงอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือสินค้าและบริการ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคโดยตรง เช่น การสร้างและพัฒนาโปรแกรม ระบบปฏิบัติการ แอปพลิเคชัน ข้อมูลและสื่อทางดิจิตอล ที่สามารถตอบสนองความต้องการในด้านต่างๆ ของผู้บริโภค ทั้งด้านบันเทิง ข้อมูลข่าวสาร วิชาการ สุขภาพ การเดินทาง การติดต่อสื่อสาร การเงิน การซื้อสินค้าและบริการ ได้มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

     “กรมฯ เห็นว่าการขยายตัวของโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีและการให้บริการในกัมพูชา จะเป็นโอกาสสำหรับภาคธุรกิจไทย ทั้งผู้ผลิตและพัฒนาสินค้า ผู้ให้บริการที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์    ในการขยายตลาดจำหน่ายสินค้าเหล่านี้ รวมถึงการให้บริการทางด้านวิศวกรรมและด้านเทคนิคสำหรับการติดตั้งและบำรุงรักษาเข้าไปยังกัมพูชา”นางจันทิรากล่าว

        นางจันทิรากล่าวปิดท้ายว่า สำหรับแอปพลิเคชันที่ได้รับความนิยมในกัมพูชาแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ กลุ่มแรกเป็นแอปพลิเคชันด้านการท่องเที่ยว เช่น แอปฯ Cambodia e-Visa ใช้ขอวีซ่าสำหรับนักท่องเที่ยว แอปฯ จองโรงแรมที่พักในกัมพูชา แอปฯ แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวและการเดินทาง แอปฯ Leboost ค้นหาร้านอาหาร ผับ บาร์ กลุ่มที่ 2 เป็นแอปฯ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น แอปฯ Mealtemple รวบรวมร้านอาหารกว่า 270 ร้าน แอปฯ เรียกรถโดยสารสาธารณะ แอปฯ ทำธุรกรรมทาง การเงิน แอปฯ ส่วนลดร้านอาหาร เป็นต้น และกลุ่มสุดท้าย เป็นแอปฯ ของหน่วยงานภาครัฐ เช่น แอปฯ ของกระทรวงขนส่งสาธารณะและคมนาคม แอปฯ กรมศุลกากร และแอปฯ เกี่ยวกับกฎหมายแรงงานที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจ เป็นต้น

           สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย       

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!