WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOCชตมา บณยประภศร copyก.พาณิชย์ เปิดโอกาสการค้าผ่าน FTA อาเซียน-จีน และอาเซียน-ฮ่องกง ระบุก้าวสู่การลดภาษีอย่างเต็มรูปแบบ

    กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เป็นเจ้าภาพจัดสัมมนาใหญ่ เรื่องโอกาสทางการค้าของไทยบนเส้นทางสายไหม: ผ่าน FTA อาเซียน-จีน และอาเซียน-ฮ่องกง ณ โรงแรมเซนทารา แกรนด์ เซ็นทรัลลาดพร้าว กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2560

      นางสาวชุติมา บุณยประภัศร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยหลังเปิดงานสัมมนาว่า งานสัมมนาที่กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ จัดในครั้งนี้ได้รับความสนใจจากทุกภาคส่วนอย่างล้นหลาม โดยมีจำนวนผู้เข้าร่วมกว่า 1,000 คน มีวิทยากรจากภาครัฐ ภาคเอกชน และนักธุรกิจผู้มีประสบการณ์ตรงร่วมแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับโอกาสทางการค้าและการลงทุนในจีนและฮ่องกง อาทิ นายกลินท์ สารสิน ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย นายณัฐพล เดชวิทักษ์ บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) นายธีระทัศน์ รังสิวรโรจน์ บริษัท  เทรเชอร์ โปรดักส์ มาร์เก็ต จำกัด และบริษัท เซี่ยงไฮ้ วันจักร จำกัด นางนทีทอง ทองไทย Thai Farm Fresh  นายเกษมสันต์ วีระกุล นักวิชาการอิสระและผู้เชี่ยวชาญด้าน AEC นายสิทธิชัย จิวัฒน์ธนากุล ผู้จัดการทั่วไปสาขาฮ่องกง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และนายพัฒนพงศ์ รานุรักษ์ บริษัท Divana Spa เป็นต้น

          นางสาวชุติมา กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปี 2561 ที่กำลังจะมาถึง จีนและอาเซียนรวมทั้งไทย กำลังจะก้าวสู่การลดภาษีภายใต้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน อย่างเต็มรูปแบบหลังจากที่ทั้งสองฝ่ายเริ่มลดภาษีระหว่างกันตั้งแต่ปี 2547 และได้ทยอยลดภาษีลงแล้วกว่าร้อยละ 90 ของรายการสินค้าทั้งหมด โดยจัดกลุ่มการลดภาษีออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

          (1) สินค้านำร่อง ได้แก่ ผัก ผลไม้ สินค้าประมง ผลิตภัณฑ์นมและไข่ เป็นต้น ทั้งสองฝ่ายลดภาษีเหลือศูนย์แล้วตั้งแต่ปี 2549 โดยสินค้าที่ไทยได้ประโยชน์ เช่น ผัก ผลไม้ โดยเฉพาะมันสำปะหลัง ซึ่งมีอัตราการขยายตัวมากกว่าร้อยละ 400 และสินค้าประมง ซึ่งมีอัตราการขยายตัวมากกว่าร้อยละ 290 เป็นต้น

          (2) สินค้าปกติ มีจำนวนร้อยละ 90 ของรายการสินค้าทั้งหมด ทั้งสองฝ่ายลดภาษีเหลือศูนย์แล้วตั้งแต่ ปี 2553 โดยสินค้าที่ไทยได้ประโยชน์ เช่น สตาร์ชทำจากมันสำปะหลัง ซึ่งมีอัตราการขยายตัวมากกว่าร้อยละ 120 ส่วนประกอบเลเซอร์ ซึ่งมีอัตราการขยายตัวมากกว่าร้อยละ 2,000 ของผสมน้ำยางธรรมชาติและน้ำยางสังเคราะห์ ซึ่งมีอัตราการขยายตัวมากกว่าร้อยละ 120 ตัวประมวลผลวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีอัตราการขยายตัวมากกว่า ร้อยละ 110 และเม็ดพลาสติก ซึ่งมีอัตราการขยายตัวมากกว่าร้อยละ 45 เป็นต้น

          (3) สินค้าอ่อนไหว ซึ่งเป็นสินค้าที่ทั้งสองฝ่ายต้องการเวลาปรับตัว จึงมีระยะเวลาการลดและยกเลิกภาษีนานกว่าสินค้าปกติ โดยลดอัตราภาษีลงเหลือไม่เกินร้อยละ 20 ในวันที่ 1 มกราคม 2555 และในวันที่ 1 มกราคม 2561 จะต้องลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0-5 ครอบคลุมสินค้าของฝ่ายไทย เช่น แป้งข้าวสาลี น้ำผลไม้ โพลีเอสเตอร์ ยางรถยนต์ รองเท้ากีฬา ของเล่น กระจก ตู้เย็น ตู้แช่ เครื่องรับโทรทัศน์ ไมโครเวฟ แบตเตอรี่ เป็นต้น และสินค้าของฝ่ายจีน เช่น กาแฟ ใบยาสูบ ขนสัตว์ ฝ้าย ปลายข้าว แป้งข้าวเจ้า สับปะรดแปรรูป กระดาษ โพลีเอสเตอร์ กระปุกเกียร์สำหรับยานยนต์ และถุงลมนิรภัย เป็นต้น โดยสินค้าที่คาดว่าไทยจะได้ประโยชน์จากการลดภาษีของจีน เช่น ใบยาสูบ กาแฟ ฝ้าย สับปะรดแปรรูป และโพลีเอสเตอร์ เป็นต้น

          4) สินค้าอ่อนไหวสูง มีจำนวนรายการสินค้าไม่เกินร้อยละ 40 หรือ 100 รายการของสินค้าอ่อนไหวทั้งหมด (พิกัดศุลกากร 6 หลัก) แล้วแต่ว่าเงื่อนไขใดส่งผลให้มีรายการสินค้าอ่อนไหวสูงน้อยกว่า โดยสามารถคงอัตราภาษีไว้ได้จนถึง    1 มกราคม 2558 หลังจากนั้น ต้องลดภาษีมาอยู่ที่ไม่เกินร้อยละ 50 โดยครอบคลุมสินค้าของฝ่ายไทย เช่น สินค้าเกษตร 23 รายการที่มีโควตาภาษี (อาทิ นม ครีม มันฝรั่ง กระเทียม ไหมดิบ) หินอ่อน เป็นต้น และสินค้าของฝ่ายจีน เช่น ข้าวโพด ข้าว พืชน้ำมัน น้ำตาล กระดาษ ด้ายใยสังเคราะห์ กระดาษแข็ง เป็นต้น

          เนื่องจากจีนเป็นตลาดขนาดใหญ่ มีประชากรกว่า 1.4 พันล้านคน หลังจากที่มีความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน อาเซียนและจีนมีมูลค่าการค้าขยายตัวเพิ่มมากกว่า 2 เท่า จาก 140 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2549 เป็น 452 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2559 การค้าระหว่างไทยและจีนก็ขยายตัวเพิ่มขึ้นมากเช่นกัน โดยเพิ่มขึ้น 2.5 เท่า จาก 25.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2549 เป็น 65.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2559

          สำหรับ ฮ่องกง ในปี 2562 ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ฮ่องกง ก็จะเริ่มมีผลใช้บังคับ โดยฮ่องกง มีศักยภาพหลายด้าน อาทิ การพัฒนา SMEs การค้าบริการวิชาชีพ เป็นนักลงทุนที่มีศักยภาพ และยังมีบทบาทในการเป็นประตูการค้าและการลงทุนของไทยมายาวนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัจจุบันฮ่องกงมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” (Belt and Road Initiative) ของจีน เห็นได้จากการที่ฮ่องกงและจีนมีโครงการเชื่อมโยงใหญ่ ร่วมกัน อาทิ โครงการก่อสร้างสะพานข้ามทะเลยาวกว่า 50 กิโลเมตร เชื่อมระหว่างฮ่องกง มาเก๊า และจู่ไห่ มณฑลกวางตุ้งของจีน และโครงการพัฒนาพื้นที่ Guangdong - Hong Kong - Macau Greater Bay Area: Greater Bay Area (มณฑลกวางตุ้ง 9 เมือง ฮ่องกง และมาเก๊า) เพื่อพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวเป็น World Class City Cluster โดยไทยสามารถเชื่อมโยงผ่านฮ่องกงไป Greater Bay Area ได้

          ภายใต้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ฮ่องกง ฮ่องกงผูกพันลดภาษีทุกรายการที่ร้อยละ 0 โดยถึงแม้ว่าปัจจุบัน ในทางปฏิบัติ ภาษีนำเข้าของฮ่องกงจะเป็นศูนย์ทุกรายการแล้ว แต่ผูกพันการลดภาษีภายใต้ WTO เพียงร้อยละ 47 เท่านั้น ดังนั้น หากไม่มีความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ฮ่องกง ฮ่องกงก็สามารถขึ้นภาษีในสินค้าอีก ร้อยละ 53 ที่ไม่ได้ผูกพันไว้ได้ทุกเมื่อ แต่เมื่อมีความตกลงเสรีอาเซียน-ฮ่องกง ฮ่องกงจะไม่สามารถขึ้นภาษีในสินค้าใด ๆ ได้อีก นอกจากนั้น ฮ่องกงยังเปิดตลาดบริการเพิ่มเติมตามที่ไทยเรียกร้องในบริการการผลิตเนื้อหารายการแก่ผู้ประกอบการวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ จึงเป็นโอกาสที่นักลงทุนไทยซึ่งมีความเชี่ยวชาญในสาขาบริการดังกล่าว จะเข้าไปลงทุนอย่างครบวงจร นอกจากนี้ ฮ่องกงได้ให้เงินสนับสนุนจำนวน 25 ล้านเหรียญฮ่องกง สำหรับแผนการดำเนินงานภายใต้บทความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ ในระยะเวลา 5 ปี หลังความตกลงฯ มีผลใช้บังคับ ซึ่งครอบคลุมสาขาความร่วมมือด้านต่าง ๆ ได้แก่ บริการวิชาชีพ โลจิสติกส์ SMEs และ E-Commerce เป็นต้น โดยไทยสามารถเสนอโครงการขอความช่วยเหลือด้านวิชาการจากฮ่องกง เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในด้านดังกล่าวได้

          นางสาวชุติมา เสริมว่า ความตกลงการค้าเสรีทั้ง 2 ฉบับ เป็นโอกาสในการขยายตลาด การค้าและการลงทุนระหว่างกัน ซึ่งเมื่อผนวกกับนโยบายส่งเสริมความเชื่อมโยง ได้แก่ Belt and Road Initiative ของจีนกับฮ่องกง กับโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ของไทย ด้วยแล้ว ยิ่งจะทำให้การค้าการลงทุนระหว่างอาเซียน ไทย จีน และฮ่องกงขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ

          ปัจจุบัน จีนเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของไทย โดยจีนเป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 และเป็นแหล่งนำเข้าอันดับ 1 ของไทย ในขณะที่ไทยเป็นตลาดส่งออกอันดับ 15 และแหล่งนำเข้าลำดับที่ 10 ของจีน ในปี 2559 การค้าสองฝ่ายมีมูลค่ารวม 65.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยในปี 2560 (ม.ค.-พ.ย.) การค้ารวมระหว่างไทยกับจีนมีมูลค่า 67 พันล้านเหรียญสหรัฐ สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย ได้แก่ ยางพารา ผลิตภัณฑ์ยาง เม็ดพลาสติก คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เป็นต้น ในขณะที่ไทยนำเข้าสินค้าประเภทเครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เคมีภัณฑ์ อุปกรณ์และส่วนประกอบรถยนต์ และผลิตภัณฑ์เหล็ก เป็นต้น

          ในปี 2559 ฮ่องกงเป็นคู่ค้าอันดับ 9 ของไทย โดยฮ่องกงเป็นตลาดส่งออกอันดับ 4 และเป็นแหล่งนำเข้าอันดับ 24 ของไทย เป็นประตูสู่จีนแผ่นดินใหญ่ การค้าสองฝ่ายมีมูลค่ารวม 13 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยในปี 2560 (ม.ค.-พ.ย.) การค้ารวมระหว่างไทยกับฮ่องกงมีมูลค่า 13.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปฮ่องกง ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า ข้าว ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง เป็นต้น สินค้านำเข้าสำคัญของไทยจากฮ่องกง ได้แก่ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องประดับอัญมณี และผ้าผืน เป็นต้น

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

'พาณิชย์' จับมือ 'เกษตร'ลงพื้นที่เชียงใหม่ เตรียมความพร้อมเกษตรกรโคนมไทย รับมือค้าเสรี FTA-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ มองไกลขยายตลาดนมไทยไปจีน และ CLMV

                กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ขานรับนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์) ที่ให้บูรณาการการทำงานระหว่างกระทรวงพาณิชย์กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จับมือกรมปศุสัตว์และชุมนุมสหกรณ์โคนมแห่งประเทศไทย ลงพื้นที่ประชุมหารือเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมเขตภาคเหนือ ณ จังหวัดเชียงใหม่ รับมือการเปิดเสรี FTA ไทย-ออสเตรเลีย และไทย-นิวซีแลนด์

                นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯ ได้ร่วมกับกรมปศุสัตว์และชุมนุมสหกรณ์โคนมแห่งประเทศไทย ลงพื้นที่ประชุมหารือกับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมเขตภาคเหนือ เมื่อวันที่ 21-22 ธันวาคม 2560 ณ จังหวัดเชียงใหม่ เรื่องการเปิดเสรี FTA ไทย-ออสเตรเลีย และไทย-นิวซีแลนด์ที่ไทยต้องลดภาษีนำเข้าสินค้านมและผลิตภัณฑ์นมเป็นศูนย์ในปี 2564 และปี 2568 โดยการลงพื้นที่ครั้งนี้ได้เยี่ยมฟาร์มและประชุมหารือกับเกษตรกร สหกรณ์โคนม และผู้เกี่ยวข้องเพื่อให้ข้อมูลเรื่อง FTA รับฟังความเห็นและความต้องการของเกษตรกร ซึ่งทำให้เห็นว่าเกษตรกรผู้ผลิตโคนมในภาคเหนือของไทยมีศักยภาพและน่าจะสามารถพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสได้ เนื่องจากสภาพภูมิประเทศและอากาศที่เอื้ออำนวย ทำให้โคนมที่เลี้ยงผลิตน้ำนมที่มีคุณภาพ อย่างไรก็ดี เกษตรกรต้องการวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่มีคุณภาพ ราคาเหมาะสม จึงเห็นว่าหากกรมปศุสัตว์เข้ามาช่วยพัฒนาเกษตรกรไทยในเรื่องการลดต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ พัฒนาสายพันธุ์และโภชนาการอาหารสัตว์ การบริหารจัดการฟาร์ม การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ขณะที่กระทรวงพาณิชย์ช่วยในเรื่องการสร้างแบรนด์ และขยายตลาดสินค้านมไทยไปต่างประเทศ เช่น                เมียนมา จีน กัมพูชา ซึ่งมีความต้องการนมคุณภาพน่าจะช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถของสินค้านมไทยให้แข่งขันในยุคการค้าเสรีได้

                นางอรมน เสริมว่า ความตกลง FTA ไทย-ออสเตรเลีย และไทย-นิวซีแลนด์ ถือเป็นความตกลง FTA ลำดับต้นๆ ของไทยที่มีผลใช้บังคับมาตั้งแต่ปี 2548 โดยปัจจุบันออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ได้ลดภาษีสินค้าทุกรายการให้กับไทยเหลือศูนย์แล้วตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 ส่วนไทยได้ลดภาษีสินค้าเกือบทั้งหมดให้ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เหลือศูนย์แล้วเช่นกัน แต่ยังคงเหลือสินค้าเกษตรบางรายการ ซึ่งรวมถึงสินค้านมและผลิตภัณฑ์นมที่ไทยยังใช้มาตรการโควตาภาษีและมาตรการปกป้องพิเศษ เพื่อให้ภาคการผลิตและอุตสาหกรรมโคนมของไทยมีเวลาในการปรับตัว โดยปัจจุบันกลุ่มผลิตภัณฑ์นมไทยที่เปิดตลาดลดภาษีเหลือศูนย์แล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559 คือ นมและครีมข้นไม่หวาน และบัตเตอร์มิลล์ แต่ยังคงเหลือสินค้าที่ไทยจะต้องทยอยเปิดตลาดให้กับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ได้แก่ สินค้านมผงที่มีไขมันเกิน 1.5% (ไม่ใช้เลี้ยงทารก) ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของนม หางนม (เวย์) เนย ไขมันเนย (AMF)และกลุ่มสินค้าเนยแข็ง จะต้องไม่มีการจำกัดโควตาและลดภาษีเป็นศูนย์ ในปี 2564 และสินค้านมและครีม เครื่องดื่มประเภทนมปรุงแต่ง นมผงขาดมันเนย ที่จะต้องไม่มีโควตาและลดภาษีเป็นศูนย์ในปี 2568

                หลังจากนี้ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศจะร่วมกับกรมปศุสัตว์และชุมนุมสหกรณ์โคนมแห่งประเทศไทย จัดประชุมกับเกษตรกรผู้ผลิตโคนมในภูมิภาคอื่นๆ เพื่อให้ข้อมูลเรื่อง FTA และสอบถามความต้องการของเกษตรกร เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือการค้าเสรีต่อไป โดยจะจัดที่ สระบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น และกาญจนบุรี ในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2561 จากนั้นมีแผนจะคัดเลือกเกษตรกรและผู้ประกอบการที่มีศักยภาพเข้าร่วมโครงการพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับนมและผลิตภัณฑ์นมของไทย เพื่อพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ อาทิ การแปรรูปผลิตภัณฑ์นม (เช่น นมยูเอชที โยเกิร์ต ไอศกรีม) การสร้างแบรนด์ การพัฒนาหีบห่อบรรจุภัณฑ์ และนำออกสู่ตลาดต่างประเทศ รวมทั้งเข้าร่วมงานแสดงสินค้าที่กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์จะจัดในปี 2561 เช่น งาน Top Thai Brands ที่กัมพูชา ลาว เวียดนาม เมียนมา และจีน เป็นต้น โดยโครงการนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมความพร้อมเกษตรกรโคนมไทยรับมือการค้าเสรีของกระทรวงพาณิชย์  ทั้งนี้ ไทยส่งออกสินค้านมและผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น นมปรุงแต่ง UHT โยเกิร์ตและนมข้นหวาน โดยในปี 2559 มีมูลค่าส่งออก 1,263.50 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยร้อยละ 50 ของการส่งออกไปตลาดสำคัญ เช่น กัมพูชา สปป.ลาว เวียดนาม และเมียนมา (CLMV)ที่เหลือไปฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และจีน ซึ่งการลงพื้นที่ครั้งนี้ทำให้ได้เห็นโอกาสที่จะขยายการส่งออกนมและผลิตภัณฑ์นมของไทยในต่างประเทศ ซึ่งภายใต้ FTA อาเซียน-จีน จีนได้ลดภาษีสินค้านมและผลิตภัณฑ์ให้ไทยเป็นศูนย์แล้ว และภายใต้ FTA อาเซียน กัมพูชา สปป.ลาว และเมียนมา ก็จะต้องลดภาษีนมและผลิตภัณฑ์นมให้ไทยเป็นศูนย์ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561

                จากสถิติการค้าที่ผ่านมาพบว่า ไทยได้ประโยชน์จากการจัดทำความตกลง FTA กับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ โดยการค้าระหว่างไทยกับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี 2559 การค้าไทยกับออสเตรเลียมีมูลค่า 13,727 ล้านเหรียญสหรัฐ และการค้าไทยกับนิวซีแลนด์มีมูลค่า 2,022 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าและ 3.6 เท่าตัวจากปี 2547 ตามลำดับ และไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้ากับทั้งสองประเทศมาโดยตลอด โดยไทยส่งออกสินค้ารถยนต์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ อาหารกระป๋องและแปรรูป เครื่องใช้ไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์ยางไปยังออสเตรเลีย และส่งออกสินค้ารถยนต์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าไปยังนิวซีแลนด์ได้เพิ่มสูงขึ้น

                กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เลขที่ 44/100 ถ.นนทบุรี1 ต. บางกระสอ อ. เมือง จ. นนทบุรี 11000 โทรศัพท์ (66) 2507-7444 แฟกซ์ (66) 2547-5630

 

พาณิชย์ เผยต้นปี 61 FTA ไทย-จีนลดภาษีเต็มรูปแบบ เชื่อปี 63 เพิ่มมูลค่าการค้าได้ตามเป้า 1.2 แสนล้านดอลลาร์

                น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร รมช.พาณิชย์ เปิดเผยในงานสัมมนา เรื่อง "โอกาสทางการค้าของไทยบนเส้นทางสายไหม : ผ่าน FTA อาเซียน – จีน และอาเซียน – ฮ่องกง"ว่า ในวันที่ 1 ม.ค.61 ความตกลงการค้าเสรี (FTA) อาเซียน-จีน จะเปิดเสรีอย่างเต็มรูปแบบ หลังจากที่ทั้ง 2 ฝ่ายได้เริ่มลดภาษีนำเข้าสินค้าระหว่างกันมาตั้งแต่ปี 47 โดยทยอยลดภาษีลงแล้วกว่า 90% ของรายการสินค้าทั้งหมด ซึ่งจะทำให้ผู้ส่งออกไทยส่งออกสินค้าไปจีนได้มากขึ้น และช่วยผลักดันให้การค้าไทย-จีน เพิ่มสูงขึ้นตามเป้าหมายที่กำหนดจะมีมูลค่า 120,000 ล้านดอลลาร์ในปี 63 จากในช่วง 11 เดือน (ม.ค.-พ.ย.) ปีนี้ มูลค่าการค้าระหว่างกันอยู่ที่ 67,000 ล้านดอลลาร์

                สำหรับ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.61 สินค้ากลุ่มอ่อนไหวจะลดภาษีลงเหลือ 0-5% จากปี 55 ที่ลดลงเหลือไม่เกิน 20% โดยสินค้าที่จีนจะลดภาษี เช่น กาแฟ ใบยาสูบ ขนสัตว์ ฝ้าย ปลายข้าว แป้งข้าวเจ้า สับปะรดแปรรูป กระดาษ โพลีเอสเตอร์ กระปุกเกียร์สำหรับยานยนต์ และถุงลมนิรภัย เป็นต้น โดยสินค้าที่คาดว่าไทยจะได้ประโยชน์จากการลดภาษีของจีน เช่น ใบยาสูบ กาแฟ ฝ้าย สับปะรดแปรรูป และโพลีเอสเตอร์ ส่วนสินค้าที่ไทยจะลดภาษี เช่น แป้งข้าวสาลี น้ำผลไม้ โพลีเอสเตอร์ ยางรถยนต์ รองเท้ากีฬา ของเล่น กระจก ตู้เย็น ตู้แช่ เครื่องรับโทรทัศน์ ไมโครเวฟ แบตเตอรี่ เป็นต้น

                ส่วนกลุ่มสินค้าอ่อนไหวสูงที่ยังคงภาษีไว้จนถึงวันที่ 1 ม.ค.58 นั้น ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.61 จะลดลงมาอยู่ที่ไม่เกิน 50% ของอัตราภาษีเดิม โดยสินค้าของจีน เช่น ข้าวโพด ข้าว พืชน้ำมัน น้ำตาล กระดาษ ด้ายใยสังเคราะห์ กระดาษแข็ง เป็นต้น และของไทย เช่น สินค้าเกษตร 23 รายการที่มีโควตาภาษี เช่น นม ครีม มันฝรั่ง กระเทียม ไหมดิบ และหินอ่อน เป็นต้น ขณะที่กลุ่มสินค้าที่ลดภาษีไปแล้ว ไทยยังคงใช้ประโยชน์ในการส่งออกได้ต่อไป คือ กลุ่มสินค้านำร่อง ได้แก่ ผัก ผลไม้ สินค้าประมง ผลิตภัณฑ์นมและไข่ เป็นต้น ลดภาษีเป็น 0% ตั้งแต่ปี 49 และกลุ่มสินค้าปกติจำนวน 90% ของรายการสินค้าทั้งหมด ที่ได้ลดภาษีเป็น 0% ตั้งแต่ปี 53

                น.ส.ชุติมา ยังกล่าวต่อถึง FTA อาเซียน-ฮ่องกงว่า จะมีผลบังคับใช้วันที่ 1 ม.ค.62 ซึ่งฮ่องกงลดภาษีสินค้าทุกรายการเป็น 0% อยู่แล้ว และไม่สามารถขึ้นภาษีในอนาคตได้ เพราะได้ผูกพันไว้แล้ว ส่วนภาคบริการได้เปิดตลาดในบริการการผลิตเนื้อหารายการแก่ผู้ประกอบการวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ จึงเป็นโอกาสที่นักลงทุนไทยจะเข้าไปลงทุน และฮ่องกงยังได้สนับสนุนเงิน 25 ล้านดอลลาร์ฮ่องกงในด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ ได้แก่ บริการวิชาชีพ, โลจิสติกส์, วิสาหกิจขนาดกลางและเล็ก (เอสเอ็มอี), พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น โดยไทยสามารถเสนอโครงการขอความช่วยเหลือด้านวิชาการจากฮ่องกง เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในด้านดังกล่าวได้

                นอกจากนี้ ในฐานะที่ฮ่องกงมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายวัน เบล์ท วัน โรด ของจีน จากการทำโครงการเชื่อมโยงฮ่องกงและจีน ทั้งการก่อสร้างสะพานข้ามทะเลยาวกว่า 50 กิโลเมตร เชื่อมฮ่องกง มาเก๊า และจูไห่ และโครงการ Greater Bay Area เชื่อมมณฑลกวางตุ้ง 9 เมืองกับฮ่องกงและมาเก๊า ซึ่งไทยสามารถเชื่อมโยงการค้าการลงทุนเข้ากับโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ของไทย เพื่อขยายการค้าการลงทุนระหว่างอาเซียน ไทย จีน และฮ่องกงได้

                "กระทรวงฯ ยังมีแผนผลักดันให้ผู้ประกอบการไทยใช้ประโยชน์จาก FTA ที่ไทยได้เจรจากับคู่ค้า โดยจะช่วยเหลือเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร ผู้ประกอบการในลักษณะ Focus Group เพื่อให้คำแนะนำชี้โอกาสในการส่งออก และจะทำงานร่วมกับกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ในการพาออกไปขยายตลาดต่างประเทศ ซึ่งจะทำให้ทุกภาคส่วนมีโอกาสและสามารถใช้ประโยชน์จากการค้าเสรีได้จริง" รมช.พาณิชย์ระบุ

                อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!