WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOC พมพชนก วอนขอพรพาณิชย์ เผย CPI เดือน พ.ย.60 โต 0.99%, Core CPI โต 0.61%, คาดทั้งปี 0.7% จากกรอบ 0.4-1.0%

    กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) ในเดือน พ.ย.60 อยู่ที่ 101.45 ขยายตัว 0.99% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และขยายตัว 0.07% จากเดือน ต.ค.60 ส่งผลให้ CPI เฉลี่ยช่วง 11 เดือน (ม.ค.-พ.ย.) ปี 60 ขยายตัว 0.66%

       ส่วน Core CPI เดือน พ.ย.60 อยู่ที่ 101.59 ขยายตัว 0.61% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และขยายตัว 0.06% จากเดือน ต.ค.60 ส่งผลให้ Core CPI เฉลี่ยช่วง 11 เดือนปี 60 ขยายตัว 0.55%

      ขณะที่ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์อยู่ที่ 101.93 ขยายตัว 0.03% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ลดลง 0.42% จากเดือน ต.ค.60 ส่วนดัชนีหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มอยู่ที่ 101.20 ขยายตัว 1.55% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และขยายตัว 0.36% จากเดือน ต.ค.60

      น.ส.พิมพ์ชนก เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อในเดือน พ.ย.60 ที่เพิ่มขึ้น เป็นผลจากการปรับขึ้นของราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศที่ปรับขึ้นตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก จากการขยายเวลาการลดกำลังการผลิตของกลุ่มโอเปก และการปรับขึ้นราคาค่าเช่าบ้านบางจังหวัด ตลอดจนการทยอยปรับขึ้นราคาบุหรี่ตามโครงสร้างภาษีสรรพสามิตใหม่

      ทั้งนี้ ในเดือน พ.ย.60 มีการเปลี่ยนแปลงของรายการสินค้าดังนี้ สินค้าที่มีราคาสูงขึ้น 119 รายการ เช่น ข้าวสารเจ้า, บุหรี่, น้ำอัดลม, น้ำปลา, กาแฟผงสำเร็จรูป, น้ำมันเชื้อเพลิง, ก๊าซหุงต้ม และค่าเช่าบ้าน เป็นต้น ส่วนสินค้าที่มีราคาลดลง 89 รายการ เช่น ข้าวสารเหนียว, เนื้อสุกร, ไข่ไก่, ผักสด, น้ำมันพืช เป็นต้น ในขณะที่สินค้าอีก 214 รายการไม่มีการเปลี่ยนแปลงราคา

      "ดัชนีเงินเฟ้อเดือนพ.ย. ยังขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ผลจากการปรับขึ้นราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศเป็นสำคัญ"น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร ผอ.สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กล่าว

      ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ยังคงคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในปีนี้ว่าจะอยู่ในระดับ 0.4-1.0% ส่วนปี 61 คาดการณ์อยู่ที่ 0.6-1.6%

     "ทั้งปีนี้ เราคาดว่าเงินเฟ้อจะเฉลี่ยอยู่ที่ 0.7% ก็เป็นไปตามกรอบเดิมที่เราคาดไว้ที่ 0.4-1.0% จากสมมติฐาน GDP โต 3-4% ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ย 45-55 ดอลลาร์/บาร์เรล และอัตราแลกเปลี่ยนที่ระดับ 33.50-34.50 บาท/ดอลลาร์" น.ส.พิมพ์ชนก กล่าว

      อย่างไรก็ดี คงต้องติดตามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในช่วงเดือนธ.ค.นี้ด้วย เนื่องจากถ้าเฟดมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยตามที่คาดไว้ ก็จะทำให้มีเม็ดเงินบางส่วนไหลออกไปยังฝั่งสหรัฐฯ และจะส่งผลให้เงินบาทปรับตัวอ่อนค่าลงได้เมื่อเทียบกับดอลลาร์

     สำหรับ ปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนอัตราเงินเฟ้อ คือ อุปสงค์ภาคครัวเรือนเริ่มฟื้นตัวสอดคล้องกับการผลิตและรายได้เกษตร, มาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายให้ประชาชน, การส่งออกที่มีการขยายตัวเป็นลำดับจากการฟื้นตัวของการค้าโลก, จำนวนนักท่องเที่ยวยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และการใช้จ่ายของภาครัฐในปีงบประมาณ 60

     อย่างไรก็ดี ยังมีปัจจัยเสี่ยงต่อเงินเฟ้อในช่วงที่เหลือของปีนี้ คือ ความไม่แน่นอนด้านนโยบายการค้าของประเทศคู่ค้าสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทย, ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น จากผลของซาอุดิอาระเบียและรัสเซียขยายระยะเวลาการลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบถึงสิ้นปี 61 จากเดิมมี.ค.60 และปัจจัยสุดท้ายเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน

      น.ส.พิมพ์ชนก กล่าวว่า สนค.ได้คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อปี 61 ว่าจะสูงขึ้นจากปีนี้เล็กน้อย โดยอยู่ในกรอบ 0.6-1.6% ซึ่งถือว่าเริ่มเข้าสู่กรอบเป้าหมายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยอยู่ภายใต้สมมติฐาน ดังนี้ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ปี 61 โต 3.5-4% ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยที่ 50-60 ดอลลาร์/บาร์เรล และอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ระดับ 33-35 บาท/ดอลลาร์

      "ปีหน้าเรามองกรอบเงินเฟ้อไว้ที่ 0.6-1.6% ซึ่งจะเริ่มเข้ากรอบของ ธปท. ตามนโยบาย Flexible inflation trageting" ผู้อำนวยการ สนค.กล่าว

      น.ส.พิมพ์ชนก ยังกล่าวถึงโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐต่อผลของอัตราเงินเฟ้อว่า จากที่ได้หารือร่วมกับหลายหน่วยงาน ทั้งธนาคารแห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พบว่า การใช้จ่ายของผู้มีรายได้น้อยผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการคำนวณอัตราเงินเฟ้อทั่วไป เนื่องจากเป็นรายได้ของประชาชนที่เพิ่มขึ้น แต่ไม่ได้มีผลกระทบต่อราคาสินค้าในภาพรวม

       "เรื่องบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ไม่ได้มีผลกระทบต่อเงินเฟ้อ เพราะไม่ได้มีผลโดยตรงกับราคาสินค้า เป็นเพียงมาตรการที่ทำให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้นในกระเป๋า แต่อาจจะต้องรอดูอีกสักระยะ ซึ่ง สนค.อาจจะมีการเพิ่มสัดส่วนของร้านธงฟ้าเข้ามาคำนวณในตะกร้าเงินเฟ้อมากขึ้น เพราะสินค้าบางรายการที่ขายในร้านธงฟ้าประชารัฐมีราคาถูกกว่าท้องตลาด 10-20% ตอนนี้เราขอรอเก็บผลกระทบอีกสักระยะก่อน" ผู้อำนวยการ สนค.กล่าว   อินโฟเควสท์

เงินเฟ้อ'พ.ย.'พุ่งรับ'บุหรี่-สุรา-น้ำมัน'ขึ้นราคา

       แนวหน้า : เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2560 สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ แถลงดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ หรือตัวเลขเงินเฟ้อ ประจำเดือนพฤศจิกายน 2560 พบว่า ดัชนีอยู่ที่ 101.45 สูงขึ้น 0.07% เทียบกับตุลาคม 2560 และ สูงขึ้น 0.99% เทียบกับพฤศจิกายน 2559 ถือว่าเป็นการปรับตัวสูงขึ้นติดต่อกัน 4 เดือน ส่งผลให้เงินเฟ้อเฉลี่ย 11 เดือน (มกราคมพฤศจิกายน 2560) สูงขึ้น 0.66% เทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีที่ผ่านมา

       น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) ชี้ว่า สาเหตุที่ทำให้เงินเฟ้อในเดือนดังกล่าวสูงขึ้นมาจากสินค้าที่ไม่ใช่อาหาร และเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้น โดยน้ำมันเชื้อเพลิงทุกชนิดยกเว้นก๊าซธรรมชาติ รวมทั้งหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ เพิ่มขึ้นมีสาเหตุหลักมาจากการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตใหม่ ซึ่งมีผลเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2560 พร้อมคาดการณ์ว่าเงินเฟ้อทั้งปี 2560 จะขยายตัว 0.7% เป็นไปตามกรอบเป้าหมายที่วางไว้ 0.4-1.0%

       "การทยอยปรับขึ้นของราคาบุหรี่ตามโครงสร้าง ภาษีสรรพสามิตใหม่ที่มีผลต่ออัตราเงินเฟ้อร้อยละ 0.08 แม้ราคาสินค้ากลุ่มอาหารสด เช่น ผักสด ผลไม้ รวมถึงเนื้อสัตว์ ราคาจะเริ่มปรับตัวลดลง จากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย ทำให้ผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้นก็ตาม" น.ส.พิมพ์ชนก กล่าว

       ขณะที่ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ระบุว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นผลมาจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับเพิ่มขึ้นเป็นหลัก โดยราคาน้ำมันดิบเบรนท์เฉลี่ยในเดือนพฤศจิกายนเพิ่มขึ้นกว่า 34.7%YOY (ปีต่อปี)ทำให้ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับตัวขึ้นเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ดัชนีราคาอาหารสดยังคงหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 อยู่ที่ -1.2%YOY โดยเฉพาะราคา เนื้อสัตว์ ไข่ และผลิตภัณฑ์นม รวมถึงผักและผลไม้

        ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่เพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่ง เป็นผลต่อเนื่องมาจากการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิต ในเดือนกันยายนส่งผลให้ราคาหมวดยาสูบและเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์เพิ่มขึ้น 5.8%YOY ประกอบกับการ ปรับอัตราค่าไฟฟ้า Ft รอบเดือนกันยายน-ธันวาคมขึ้น ก็ยังมีผลให้ดัชนีราคาหมวดไฟฟ้าในที่พักอาศัยเพิ่มขึ้น 4.3%YOY

       อีไอซีคาดอัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2017 และปี 2018 อยู่ที่ 0.7%YOY และ 1.1% YOY ตามลำดับ โดยปัจจัยหลักที่จะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นในปีหน้ามาจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่มีแนวโน้มปรับสูงขึ้น โดยราคาน้ำมันดิบเบรนท์(ลอนดอน) เฉลี่ยในปี 2018 มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นไปอยู่ที่ 58 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อบาร์เรลจาก 54 ในปีนี้ ประกอบกับการปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตสำหรับบุหรี่และสุราที่จะยังคงมีผลต่ออัตราเงินเฟ้อต่อเนื่องไปจนถึงช่วงครึ่งแรกของปีหน้า อย่างไรก็ตาม ราคาอาหารสดโดยเฉพาะราคาผักและผลไม้ ยังมีแรงกดดันจากผลผลิตทางการเกษตร ที่อาจมีปริมาณออกสู่ตลาดจำนวนมาก ตามแนวโน้มสภาพอากาศและปริมาณน้ำที่เอื้ออำนวยต่อการผลิตในปีหน้า

       อย่างไรก็ตาม อีไอซีมองว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำที่ 0.5% และ 0.6% ในปี 2017 และ 2018 ตามลำดับ เนื่องจากกำลังซื้อ ของผู้บริโภคยังไม่ได้ฟื้นตัวชัดเจนนัก โดยเฉพาะในกลุ่มของผู้มีรายได้ปานกลางน้อย ทำให้ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคอื่นๆ จะถูกปรับราคาขึ้นได้อย่างช้าๆ

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!