WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOC อภรด ตนตราภรณรมว.พาณิชย์ เผยปี 61 เดินหน้าผลักดันขยายธุรกิจบริการไทยในตปท.ทั้งธุรกิจใหม่-ต่อยอดธุรกิจเดิม

    นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ในปี 2561 กระทรวงฯ จะเดินหน้าผลักดันธุรกิจบริการไทยในต่างประเทศ ทั้งที่เป็นธุรกิจบริการใหม่ๆ รวมทั้งการต่อยอดธุรกิจบริการเดิมที่มีอยู่แล้วในตลาด โดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศได้จัดกลุ่มธุรกิจบริการหลักๆไว้ 4 กลุ่ม ประกอบด้วย

      กลุ่มแรก เป็นกลุ่มสุขภาพความงาม  (Health & Wellness)จะเน้นเจาะกลุ่มกิจกรรมเพื่อสุขภาพ เช่น มวยไทย นวดไทย รำไทย การบำบัดความเครียดและการรักษาสุขภาพโดยวิธีทำสมาธิ (Meditation) ธุรกิจ nursing care หรือการจัดตั้งสถานพยาบาลสำหรับกลุ่มสูงวัย โดยเน้นตลาดที่มีความต้องการสูง เช่น จีน แอฟริกา และตะวันออกกลาง นอกจากนี้ยังมีธุรกิจประเภทอาหารเพื่อสุขภาพ healthy food/functional food/Clean Eating/Supplementary Food

      กลุ่มที่ 2 ธุรกิจบันเทิง (Digital Content) เน้นการเป็นศูนย์กลาง digital content ในอาเซียน โดยร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัด pitching documentary film ในเดือนมกราคม 2561, จัด Bangkok International Digital Content ธุรกิจ animation, game and characters และ elearning ในช่วงกลางปี, เน้นกลุ่ม character+animation เจาะญี่ปุ่น เกาหลี และกลุ่ม film สนับสนุนผู้กำกับ ผู้สร้าง และบริการผลิตเทคนิค (visual-sound effect)

      กลุ่มที่ 3 ธุรกิจบริการจัดงาน (Event business) ไปประเทศเพื่อนบ้าน กลุ่มนี้ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพในการแข่งขันสูง และปัจจุบันมีบางบริษัทเข้าไปรับงานแล้วในประเทศเพื่อนบ้าน

     กลุ่มที่ 4 ธุรกิจเกี่ยวกับโรงแรม การจัดการด้านต่างๆ ธุรกิจบริการจัดเลี้ยง (Hotel Management Service, business management service, professional service, Catering) โดยจะเน้นการขยายธุรกิจไปประเทศเพื่อนบ้าน เอเชียใต้ ตะวันออกกลาง

     รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า ปัจจุบันในหลายๆ ประเทศที่เช้าสู่ยุคสูงวัยได้หันมาให้ความสำคัญเรื่องสุขภาพ ความเป็นอยู่มากขึ้น มีการทำกิจกรรมหลายๆ รูปแบบที่สามารถเชื่อมต่อกับศิลปวัฒนธรรมได้ ยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ธุรกิจมวยไทยที่ได้รับความนิยมมากโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศยุโรป เช่น เนเธอร์แลนด์ รัสเซีย เยอรมัน ฝรั่งเศส ล่าสุดได้ทราบว่ามีการจัดการแข่งขันมวยไทย Grand Prix ครั้งแรก ณ กรุงปารีส และถ่ายทอดทางช่องกีฬา L’Équipe ซึ่งจะมีผู้รับชมประมาณ 300,000 ครัวเรือน นอกจากนี้รำไทยซึ่งเป็นวัฒนธรรมไทยก็สามารถนำมาประยุกต์ท่ารำใช้รักษาผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ฝึกกล้ามเนื้อ กระดูก และการทรงตัวได้ด้วย

                สำหรับ ธุรกิจการบริหารจัดการก็เป็นเรื่องที่นักธุรกิจไทยมีความเชี่ยวชาญ ขณะที่ความต้องการจากประเทศเพื่อนบ้านยังมีอีกมาก ดังนั้นธุรกิจบริการเหล่านี้จึงมีความสำคัญ และจะส่งผลให้กับสินค้าที่เกี่ยวข้องด้วย

                        อินโฟเควสท์

พาณิชย์ ร่วมทัพนายกฯ ประชุมสุดยอดอาเซียน พร้อมเร่งถกผู้นำ RCEP ครั้งแรก

      ‘พาณิชย์’เผยเล็งลงนาม FTA อาเซียน-ฮ่องกง และถกเข้มเร่งเจรจา RCEP เตรียมเสนอผลคืบหน้าต่อการประชุมผู้นำ 16 ชาติ RCEP ครั้งแรก ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 31 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 12 - 14 พฤศจิกายน 2560 ณ กรุงมะนิลา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์

     นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในโอกาสที่จะร่วมคณะนายกรัฐมนตรีเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 31 เปิดเผยว่า รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนจะลงนามความตกลงการค้าเสรีและความตกลงด้านการลงทุนระหว่างอาเซียนและฮ่องกง ซึ่งไทยในฐานะประเทศผู้ประสานงานและประธานร่วมฝ่ายอาเซียน ได้มีบทบาทสำคัญให้การเจรจาสรุปผลได้สำเร็จ รวมทั้งจะเข้าร่วมการประชุมผู้นำ RCEP ครั้งแรกนับตั้งแต่เปิดการเจรจา RCEP เมื่อปี 2556 โดยผู้นำประกาศเน้นย้ำที่จะสรุปผลการเจรจา RCEP โดยขอให้คณะเจรจาเร่งการเจรจาในปีหน้าให้บรรลุผลได้โดยเร็วเพื่อให้ RCEP เป็นความตกลงที่มีคุณภาพสูงและเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน

      นางอภิรดี กล่าวว่า ในการประชุมครั้งนี้ ยังมีกำหนดเข้าร่วมการประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC Council ซึ่งจะพิจารณารับรองแผนการดำเนินงานสำคัญของอาเซียน ได้แก่ 1) แผนปฏิบัติการเชิงยุทธศาสตร์ด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้า ซึ่งเป็นแผนดำเนินงานที่จะช่วยให้การค้าระหว่างกันภายในอาเซียนสะดวกมากยิ่งขึ้น โดยมีเป้าหมายที่จะลดต้นทุนธุรกรรมทางการค้าลงร้อยละ 10 ภายในปี 2563 และเพิ่มมูลค่าการค้าภายในภูมิภาคเป็น 2 เท่าภายในปี 2568 2) แผนการดำเนินการด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน ซึ่งกำหนดแนวทางการดำเนินการด้านต่างๆ ที่จะช่วยส่งเสริมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ภายในภูมิภาค และ 3) ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยนวัตกรรม ซึ่งแสดงถึงเจตนารมณ์ร่วมกันของประเทศสมาชิกอาเซียนในการใช้นวัตกรรมเป็นปัจจัยขับเคลื่อนให้เกิดการเติบโตและการแข่งขันของอุตสาหกรรมระดับภูมิภาค โดยเอกสารดังกล่าวจะเสนอต่อผู้นำอาเซียนต่อไป นอกจากนี้ จะเข้าร่วมการหารือระหว่างผู้นำอาเซียนกับสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจอาเซียน (ASEAN-BAC) และสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเชียตะวันออก (EABC) ซึ่งได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อมและรายย่อย (MSMEs)

       ในปี 2559 อาเซียนมีการส่งออกรวมมูลค่า 1.14 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 7.2 ของมูลค่าการส่งออกของโลก และมีการนำเข้ารวมมูลค่า 1.08 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 6.6 ของมูลค่าการนำเข้าของโลก โดยอาเซียนมีคู่ค้านอกภูมิภาคที่สำคัญ ได้แก่ จีน สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ทั้งนี้ ประเทศสมาชิกมีสัดส่วนการส่งออกภายในกลุ่มอาเซียนร้อยละ 24.7 และมีสัดส่วนนำเข้าจากประเทศภายในกลุ่มอาเซียน ร้อยละ 22.2

      สำหรับ การค้าระหว่างไทยกับอาเซียนในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2560 (มกราคม-สิงหาคม) มีมูลค่า 66,035 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นการส่งออก 38,673 ล้านเหรียญสหรัฐ และการนำเข้า 27,362 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยการส่งออกขยายตัวร้อยละ 8.2 และการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 13.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!