- Details
- Category: พาณิชย์
- Published: Monday, 23 October 2017 16:34
- Hits: 3416
พณ.ลุยหาตลาดรองรับผลผลิตสินค้าเกษตรทั้งใน-ตปท.เน้นจัดระบบห่วงโซ่อุปทานตลาดภายในให้เข้มแข็งต่อยอดสู่การส่งออก
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้สั่งการให้กรมการค้าภายใน กรมการค้าต่างประเทศ และกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ร่วมกันจัดทำแผนการเชื่อมโยงสินค้าเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และปาล์มน้ำมัน เพื่อรองรับการกระจายผลผลิตสู่ตลาดทั้งในและต่างประเทศ เน้นจัดทำแผนการตลาดสำหรับผลผลิตในแต่ละจังหวัด (Mapping) ตลอดห่วงโซ่อุปทาน และจัดเวทีเจรจาซื้อขายสินค้า(Matching) ระหว่างเกษตรกร กับผู้ผลิต ผู้ค้า ผู้ซื้อทั้งในและต่างประเทศ มั่นใจว่าสามารถหาตลาดรองรับสินค้าเกษตรให้ทันท่วงที โดยเฉพาะช่วงที่ผลิตผลออกสู่ตลาดพร้อมกัน ซึ่งจะส่งผลให้ราคาสินค้ามีเสถียรภาพดียิ่งขึ้น จากการที่สินค้าเกษตรมีความอ่อนไหวง่ายต่อข้อมูลข่าวสาร โดยเฉพาะผลกระทบเชิงจิตวิทยา กระทรวงพาณิชย์จึงได้กำชับให้สำนักงานพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศติดตามสถานการณ์ผลผลิตในระดับพื้นที่อย่างใกล้ชิด และบริหารจัดการการรับซื้อตลอดห่วงโซ่อุปทานให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย
รมว.พาณิชย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมากระทรวงพาณิชย์ได้เชื่อมโยงตลาดสินค้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ระหว่างเกษตรกร – ผู้รวบรวม (หรือผู้ใช้) – โรงงานอาหารสัตว์ ในรูปแบบของ “โมเดลไตรภาคี" โดยเป็นการจับคู่เชื่อมโยงผลผลิตระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทานข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ภายในพื้นที่ ส่งผลให้เกษตรกรขายผลผลิตได้ในราคาที่สูงขึ้น ขณะที่ผู้รับซื้อก็จะได้วัตถุดิบที่มีคุณภาพในราคาที่ต่ำกว่าท้องตลาดโดยทั่วไป โดยดำเนินการไปแล้วใน 14 จังหวัด อาทิ น่าน นครสวรรค์ ลำพูน กาญจนบุรี และกำแพงเพชร มีปริมาณรับซื้อรวมกันกว่า 151,000 ตัน สำหรับแนวทางบริหารจัดการมันสำปะหลัง กระทรวงพาณิชย์ได้เชื่อมโยงผู้เลี้ยงปศุสัตว์ภายในจังหวัดกับเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังในรูปแบบของ“มหาสารคามโมเดล" เพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มและสร้างช่องทางการจัดจำหน่าย ลดปัญหาการเอารัดเอาเปรียบ เน้นวัตถุดิบที่มีคุณภาพ ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตลดลงและเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรด้วยอีกทางหนึ่ง ขณะนี้มี 15 จังหวัดได้นำโมเดลนี้ไป
ในส่วนของการหาตลาดใหม่สำหรับผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง กระทรวงพาณิชย์ได้มอบหมายให้กรมการค้าต่างประเทศจัดคณะเดินทางไปตุรกี และสามารถบรรลุข้อตกลงซื้อขายมันสำปะหลังอัดเม็ดกับผู้นำเข้าตุรกีได้ถึง 900,000 ตัน มูลค่ากว่า 5,000 ล้านบาท สำหรับการหาตลาดรองรับข้าวที่จะออกในเดือนพฤศจิกายน ศกนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศเชิญนักธุรกิจจากทั่วโลก มาเจรจาซื้อขายข้าวระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม – 2 พฤศจิกายน ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์แอทเซ็นทรัลเวิลด์ ซึ่งขณะนี้มีผู้ซื้อจำนวน 169 บริษัท จาก 24 ประเทศได้แจ้งตอบรับมาแล้ว อาทิ จีน ฮ่องกง แคนาดา สหรัฐอเมริกา ยุโรป แอฟริกา ซาอุดิอาระเบีย และอาเซียน
นอกจากนั้น กระทรวงพาณิชย์ยังได้ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมขยายการเชื่อมโยงตลาดข้าวสีภายใต้แนวทางการตลาดนำการผลิต (Demand Driven) เพื่อเพิ่มปริมาณและขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศในระยะยาว ข้าวสีที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน อาทิ ข้าวหอมมะลิแดง ข้าวหอมมะลิดำ (หอมนิล) และข้าวไรซ์เบอรี่ ล้วนมีศักยภาพการส่งออกสูงและเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ โดยจะเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวสี – โรงสีของกลุ่มเกษตร/โรงสีของวิสาหกิจชุมชน-สมาคมผู้ประกอบการข้าวถุงไทย/สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย ซึ่งจะนำร่องในพื้นที่ 3 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ อุบลราชธานี สุรินทร์ และศรีสะเกษ ก่อนขยายผลไปยังจังหวัดอื่น ทั้งนี้ ได้สั่งการให้สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศของกระทรวงพาณิชย์ในทุกภูมิภาคทั่วโลก เร่งจัดกิจกรรมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์และคุณประโยชน์ข้าวสีของไทยซึ่งดำเนินการอยู่แล้วให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นโดยเร็วต่อไป "นางอภิรดี กล่าวในตอนท้าย
อินโฟเควสท์
พาณิชย์ รุกคืบปั้น 4 สมุนไพรอัพมูลค่าเพิ่ม
ไทยโพสต์ : พาณิชย์ * นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ได้จัด ทำยุทธศาสตร์และฐานข้อ มูลสมุนไพรไทย 4 ชนิด ได้แก่ ขมิ้นชัน ไพล บัวบก และกระชายดำ เพื่อผลักดันให้เป็นสินค้าตัวใหม่ออก สู่ตลาดโลก ทั้งการส่งออก แบบสด และแปรรูปเป็นสิน ค้าที่มีมูลค่าเพิ่ม โดยขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ดังกล่าวให้ เห็นผลในทางปฏิบัติ ซึ่งได้มอบนโยบายเพิ่มเติมให้เน้นการผลักดันสมุนไพรที่เป็นเกษตรอินทรีย์ เพื่อตอบสนอง ความต้องการของตลาดทั้ง ในและต่างประเทศที่ให้ความสำคัญกับการรักษาสุขภาพและปกป้องสิ่งแวดล้อม และยังสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้มากกว่าสินค้าปกติหลายเท่าตัว
ทั้งนี้ ภายใต้ยุทธศาสตร์ ดังกล่าว กระทรวงพาณิชย์จะเข้าไปส่งเสริมและผลักดันให้เกษตรกร หันมาให้ความสำคัญกับการปลูกพืชสมุนไพรทั้ง 4 ชนิด โดยจะปลูกหลังจากทำนา หรือปลูกแซมในไร่นา เพื่อเป็นรายได้เสริมหรือจะปลูกเป็นอาชีพหลักก็ได้ แต่หากสามารถเพาะปลูกในรูปแบบของเกษตรอินทรีย์ก็จะยิ่งดี เพราะตลาดมีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง โดยเฉพาะความ ต้องการนำไปใช้ในอุตสาห กรรมอาหาร, ยา, เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์สปา เป็นต้น.
พาณิชย์ เดินหน้าใช้ตลาดสร้างรายได้ให้ท้องถิ่นเข้มแข็ง พัฒนาเกษตรกร-ผู้ค้าชุมชนสู่ผู้ประกอบการ 4.0
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ได้แปลงนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของรัฐบาลสู่การปฏิบัติ โดยใช้การพัฒนา "ตลาด" หลากหลายรูปแบบเป็นกลไกขยายช่องทางจำหน่ายให้ผลผลิตทางการเกษตร สินค้าชุมชนและท้องถิ่น เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากและสร้างรายได้สู่ชุมชนทั่วประเทศ พร้อมจับมือหน่วยงานพันธมิตรพัฒนาเกษตรกร ผู้ผลิต และผู้ค้ารายย่อยในชุมชนสู่การเป็นผู้ประกอบการ 4.0
กระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินนโยบายรัฐบาลเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ สร้างรายได้ สร้างเศรษฐกิจชุมชนให้เข้มแข็ง ประชาชนมีความสุข โดยมุ่งส่งเสริมตลาดสินค้าเกษตรและตลาดชุมชน เพื่อขยายช่องทางการจำหน่าย อาทิ การจัดตั้งตลาดชุมชนภายใต้ชื่อ "ตลาดต้องชม" โดยพัฒนาตลาดชุมชนเดิมที่มีอัตลักษณ์ สะท้อนวิถีชุมชน มีเอกลักษณ์พาณิชย์ และจำหน่ายสินค้าในราคายุติธรรมและปริมาณเที่ยงตรง รวมถึงสนับสนุนให้เกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการท้องถิ่นนำสินค้าในพื้นที่มาจำหน่ายให้ประชาชนโดยตรง เพื่อกระตุ้นระบบเศรษฐกิจและสร้างรายได้เพิ่ม ก่อให้เกิดความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจท้องถิ่น (Local Economy)
ปัจจุบันมี 'ตลาดต้องชม'อยู่ทั่วทุกภูมิภาคจำนวน 148 แห่ง ก่อให้เกิดการท่องเที่ยวที่ช่วยให้ตลาดชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นหลายร้อยล้านบาท การจัดตั้งตลาดเฉพาะสินค้า (Magnet Market) เชื่อมโยงผลผลิตเด่นจากแหล่งผลิตสู่ผู้บริโภคและนักท่องเที่ยวโดยตรง เช่น ตลาดทุเรียน ปัจจุบันเปิดตลาดแล้ว 4 แห่ง ณ จังหวัดเชียงใหม่ ภูเก็ต อุดรธานี และกรุงเทพฯ การพัฒนาศูนย์จำหน่ายสินค้าเกษตรชุมชน (Farm Outlets) เพื่อเป็นแหล่งหรือศูนย์กลางให้เกษตรกรนำผลผลิตเกษตรและผลิตภัณฑ์ชุมชนมาจำหน่าย ปัจจุบันมีศูนย์ฯ รวมทั้งสิ้น 42 แห่ง ใน 24 จังหวัด ก่อให้เกิดมูลค่าการจำหน่ายสินค้ารวมกว่า 300 ล้านบาท การจัดตั้งตลาดประชารัฐชายแดน โดยปรับปรุงให้ตลาดในพื้นที่มีมาตรฐานและผลักดันให้เป็นตลาดที่ทำการซื้อขายสินค้าของประชาชนในพื้นที่ และส่งเสริมให้ประชาชนจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาซื้อขายเพื่อขยายมูลค่าการค้าชายแดน โดยจะนำร่องตลาดประชารัฐไทย-ลาว เป็นแห่งแรก
นอกจากนั้น กระทรวงพาณิชย์ยังได้ส่งเสริมตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลผลิตการเกษตรผ่านการเข้าร่วมงานแสดงและจำหน่ายสินค้าอินทรีย์ระดับภูมิภาคและระดับประเทศ (Organic & Natural Expo 2017) รวมทั้งได้จัดตั้งหมู่บ้านเกษตรอินทรีย์ (Organic Village) เพื่อสนับสนุนเกษตรกรให้มีการผลิตสินค้าตามมาตรฐานและมีความรู้ด้านการตลาดอินทรีย์โดยเฉพาะ
รมว.พาณิชย์ กล่าวเสริมว่า ในช่วงต่อไปกระทรวงพาณิชย์มีแผนที่จะขยายจำนวน "ตลาด" เพิ่มเติมเพื่อให้ครอบคลุมชุมชนจำนวนมากขึ้น พัฒนา "ตลาดรูปแบบใหม่" พร้อมทั้งต่อยอด "ตลาด" ให้เชื่อมโยงกับภาคธุรกิจท่องเที่ยว ขณะเดียวกันจะมอบหมายให้สำนักงานพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศเร่งผลักดันให้เกิดการเชื่อมโยงการรับซื้อตลอดห่วงโซ่อุปทาน ให้คำปรึกษาแก่เกษตรกรและผู้ประกอบธุรกิจท้องถิ่นให้สามารถผลิตสินค้าที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ขยายช่องทางการตลาดทั้งในและนอกพื้นที่ ตลอดจนจัดการอบรมให้แก่ผู้ผลิต ผู้ค้า ผู้ประกอบการในชุมชนและเกษตรกรให้สามารถก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการ 4.0 โดยผ่านสถาบัน อินโฟเควสท์