WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOCอภรดก.พาณิชย์ผสานพลังภาคเอกชนหนุนประชารัฐร่วมใจช่วยชาวนาลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพการเก็บเกี่ยวข้าว พร้อมเปิดตัวแอพพลิเคชั่น ‘จองรถเกี่ยว

      กระทรวงพาณิชย์ร่วมกับสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยช่วยเหลือค่าบริการรถเกี่ยวข้าวแก่เกษตรกรชาวนาที่จะเริ่มเก็บเกี่ยวข้าวในปีการเพาะปลูก 2560/61 เดือนพฤศจิกายนนี้ คาดว่าจะช่วยลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรชาวนามากขึ้น พร้อมเปิดตัวแอพพลิเคชั่น ‘จองรถเกี่ยว’ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารรถเกี่ยวข้าวเพื่อให้มีบริการอย่างเพียงพอ

  นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า หลังจากที่กระทรวงพาณิชย์ร่วมกับสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยได้ริเริ่มโครงการประชารัฐร่วมใจเพื่อลดต้นทุนการผลิตให้กับเกษตรกรชาวนาไทยเมื่อปี 2559 โดยได้ดำเนินโครงการประชารัฐร่วมใจบ้านดอนชี จังหวัดอุบลราชธานี ในการก่อสร้างท่อส่งน้ำทำให้เกษตรกรทุกครัวเรือนได้มีน้ำใช้สำหรับการเพาะปลูกในฤดูทำนาและปลูกพืชชนิดอื่นหลักเสร็จสิ้นการเก็บเกี่ยวข้าวและโครงการจัดซื้อรถเกี่ยวนวดข้าวจำนวน 10 คัน ซึ่งได้มอบให้กองทัพบกไปบริหารจัดการในการช่วยเหลือชาวนาที่ขาดแคลนรถเกี่ยวนวดข้าวโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งนี้จากการติดตามการดำเนินงานของกองทัพบกโดยกรมกิจการพลเรือนทหารบกมีการนำรถเกี่ยวข้าวทั้ง 10 คัน ไปใช้ในการช่วยเหลือเกษตรกรเก็บเกี่ยวข้าวในปีการผลิต 2559/60 ตามแหล่งปลูกสำคัญทั้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคอื่นๆ นอกจากนี้ ในช่วงเดือนกรกฎาคม - สิงหาคมที่ผ่านมา ก็ได้นำรถเกี่ยวข้าวเข้าไปช่วยเหลือเกษตรกรเก็บเกี่ยวข้าวหนีน้ำช่วงที่เกิดอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดอยุธยาจึงเห็นได้ว่าการดำเนินโครงการทั้งสองดังกล่าวสามารถช่วยเหลือเกษตรกรชาวนาได้อย่างแท้จริงและเห็นผลเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนนับว่าเป็นโครงการที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดียิ่ง

  สำหรับ ในปีนี้กระทรวงพาณิชย์และพันธมิตรภาคเอกชนยังคงเล็งเห็นความจำเป็นของพี่น้องเกษตรกรชาวนาและให้ความสำคัญกับปัญหาการขาดแคลนรถเกี่ยวข้าวและค่าบริการรถเกี่ยวข้าวที่สูงในบางพื้นที่ในปีการเพาะปลูก 2560/61 ซึ่งจะเริ่มเก็บเกี่ยวข้าวในเดือนพฤศจิกายนนี้ จึงได้จัดทำ “โครงการลดต้นทุนเพิ่มประสิทธิภาพและยกระดับคุณภาพข้าวส่งออกของเกษตรกร” โดยสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยยินดีให้การสนับสนุนเงินช่วยเหลือสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายค่าบริการรถเกี่ยวนวดข้าวแก่ชาวนาในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวคุณภาพดีที่สำคัญเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ โดยจะให้เงินช่วยเหลือค่ารถเกี่ยวนวดข้าวแก่ชาวนาในอัตราไร่ละ 200 บาท รายละไม่เกิน 10 ไร่ โดยได้ประสานสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทยรวบรวมรายชื่อซึ่งมีจำนวนเกษตรกรชาวนาเข้ารับการช่วยเหลือทั้งสิ้น 5,363 ราย รวมพื้นที่เพาะปลูก 45,831.50 ไร่ ใน 12 จังหวัด (ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม ร้อยเอ็ด สุรินทร์ นครราชสีมา มหาสารคาม บุรีรัมย์ อำนาจเจริญ อุบลราชธานี กาฬสินธุ์ และศรีสะเกษ) รวมเงินช่วยเหลือ 9,172,300 บาท โดยจะโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) ของชาวนาแต่ละรายโดยตรง รวมทั้งในปีนี้ได้ร่วมกับกองทัพบกโดยกรมกิจการพลเรือนทหารบกวางแผนจัดเตรียมความพร้อมรถเกี่ยวข้าว 10 คัน ตามที่ได้รับมอบจากสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยในการช่วยเหลือเกษตรกรชาวนาในช่วงฤดูการเก็บเกี่ยวนี้

  นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์โดยกรมการค้าภายในได้ร่วมกับสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (GISTDA) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดตัวแอพพลิเคชั่น “จองรถเกี่ยว” เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารรถเกี่ยวข้าวและแก้ไขปัญหาการขาดแคลนรถเกี่ยวข้าวในพื้นที่ที่มีปัญหาซ้ำซากในแต่ละปี โดยจะนำร่องใช้ในจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวหอมมะลิคุณภาพที่สำคัญของประเทศ ครอบคลุมพื้นที่ 7 อำเภอในจังหวัดอุบลราชธานี ได้แก่อำเภอเดชอุดม อำเภอวารินชำราบ อำเภอเขื่องใน อำเภอพิบูลมังสาหาร อำเภอม่วงสามสิบ อำเภอน้ำขุ่น และอำเภอตระการพืชผล โดยจะเปิดใช้วันที่ 18 - 19 ตุลาคม 2560 และนำผลการดำเนินงานจากโครงการนำร่องดังกล่าวมาพัฒนาและปรับปรุงโครงการให้มีประสิทธิภาพ และขยายการให้บริการในแหล่งเพาะปลูกข้าวสำคัญทั่วประเทศต่อไปโดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวหอมมะลิสำคัญของประเทศต่อไป

  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการส่งออกข้าวในปี 2560 ยังมีแนวโน้มที่ดี ข้าวไทยยังคงเป็นที่ต้องการของตลาดโลกอย่างต่อเนื่อง โดยการส่งออกข้าวในปี 2560 (1 มกราคม - 11 ตุลาคม 2560) ตามใบอนุญาตส่งออกข้าวมีปริมาณ 8.97 ล้านตัน มูลค่า 132,754 ล้านบาท หรือ 3,891 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.28 และมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.41 เมื่อเปรียบเทียบกับจากช่วงเดียวกันของปี 2559 ที่มีปริมาณส่งออก 7.16 ล้านตัน มูลค่า 113,064 ล้านบาท หรือ 3,216 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่วนชนิดข้าวที่มีการส่งออกมากที่สุด คือ ข้าวขาวปริมาณส่งออก 3.91 ล้านตัน (ร้อยละ 43.61) ข้าวนึ่ง ปริมาณการส่งออก 2.65 ล้านตัน (ร้อยละ 29.59) และข้าวหอมมะลิไทย ปริมาณการส่งออก 1.68 ล้านตัน (ร้อยละ 18.73)

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!