WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOCพมพชนก วอนขอพรพาณิชย์ เผยเงินเฟ้อก.ย. 60 อยู่ที่ 0.86% พร้อมหั่นเป้าเงินเฟ้อทั่วไปปีนี้เหลือ 0.4-1% จากเดิมคาด 0.7-1.7%

    พาณิชย์เผยเงินเฟ้อก.ย. 60 อยู่ที่ 0.86% ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 0.53% เพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมัน และราคาบุหรี่ - สุรา หลังรัฐฯ ขึ้นภาษีบาป ด้านงวด 9 เดือนปี 60 เงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 0.59%- เงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 0.54% พร้อมหั่นเป้าเงินเฟ้อทั่วไปปีนี้เหลือ 0.4-1% จากเดิมคาด 0.7-1.7%  บนสมมติฐานจีดีพีที่ 3.5%- เงินบาทที่ 34 บ./ดอลล์ พร้อมจับตาเงินเฟ้อในระยะสั้นหลังปชช.มีกำลังซื้อเพิ่มขึ้นจากบัตรสวัสดิการรัฐฯ ขณะที่นโยบายศก.คู่ค้าไม่แน่นอน- ปัญหาเกาหลีเหนือยังเป็นปัจจัยเสี่ยง 

       นางสาวพิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือนกันยายน 2560 ที่ผ่านมาโดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 101.22 ปรับตัวสูงขึ้น 0.86% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 101.44 ปรับเพิ่มขึ้น 0.53%จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อ 9 เดือน เงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 0.59% เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ 0.56% และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 0.54% ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า 

      สำหรับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น มาจากราคาน้ำมันขายปลีกภายในประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันดิบตลาดโลกรวมตัวกันปรับลดกำลังการผลิตต่อเนื่อง ทำให้ราคาสูงขึ้น และการปรับขึ้นของราคาบุหรี่และสุรา จากการปรับโครงสร้างภาษีใหม่ รวมทั้งการสูงขึ้นของผักสด เนื่องจากฝนตกชุกน้ำท่วมขังพื้นที่เพาะปลูกบางแห่งทำให้ผักเน่าเสีย 

      ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้ปรับประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2560 ลงเหลือ 0.4-1% จากเดิมที่ 0.7-1.7% ซึ่งในครั้งนี้ได้ปรับสมมติฐานในเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยนโดยมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นมาอยู่ที่ 33.4-34.5 บาทต่อดอลลาร์ จากเดิมคาดที่ 34-36 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นผลจากการไหลข้าวของเงินทุนจากต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง การเกินดุลบัญชีเดินสะพัด เนื่องจากนักลงทุนคลายความกังวลจากสถานการณ์การเมืองในไทย ความไม่แน่นอนของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสหรัฐ ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ให้ค่ากลางค่าเงินบาทไว้ที่ 34 บาทต่อดอลลาร์ 

      ขณะที่อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี ปีนี้ ยังคงไว้ที่ 3-4% โดยให้ค่ากลางที่ 3.5% โดยมองว่า การใช้จ่ายครัวเรือนสูงขึ้นตามรายได้เกษตรกรที่ปรับตัวดีขึ้น มาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งกระทรวงพาณิชย์จะติดตามสถานการณ์ดังกล่าวด้วยว่าจะส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อในระยะต่อไปหรือไม่ ขณะที่การส่งออกที่มีการขยายตัวดีจากการฟื้นตัวของการค้าโลก 

       ขณะที่ราคาน้ำมันดิบดูไบ ยังคงมองไว้ที่ระดับเดิมที่ 45-55 ดอลลาร์ต่อบาเรล และให้ค่ากลางที่ 50 ดอลลาร์ต่อบาเรล  โดยมองว่า มีความต้องการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ การรวมตัวผู้ผลิตน้ำมันปรับลดตามกำลังการผลิตลง มีความต้องการใช้มากขึ้นในช่วงหน้าหนาวและความขัดแย้งทางการเมืองในกล่ามประเทศตะวันออกกลางและภัยธรรมชาติ อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันดิบดูไบไม่ได้ปรับเพิ่มสูงขึ้นตามที่ประมาณการไว้ก่อนหน้าเล็กน้อย 

        นางสาวพิมพ์ชนก กล่าวว่า สำหรับปัจจัยสนับสนุนต่ออัตราเงินเฟ้อในระยะต่อไป คือ อุปสงค์ครัวเรือนที่เริ่มฟื้นตัวสอดคล้องกับการผลิตและรายได้เกษตรและมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย การส่งออกที่ฟื้นตัวดี และจำนวนนักท่องเที่ยวที่ขยายตัวต่อเนื่อง การใช้จ่ายภาครัฐในปีงบประมาณ 2560 ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตาม คือ ความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าของคู่ค้าสำคัญ ส่งผลกระทบต่อการส่งออก ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น กระทบราคาน้ำมันเชื้อเพลิงขายปลีกในประเทศ และความไม่แน่นอนของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสหรัฐ และสถานการณ์ในคาบสมุทรเกาหลี

        ส่วนปัญหาระหว่างสหรัฐ และเกาหลีเหนือนั้น มองว่า ยังต้องติดตามสถานการณ์ แม้ว่าไทยจะไม่ได้ส่งออกเกาหลีเหนือมากนัก แต่ทั้งนี้จะต้องติดตามผลกระทบภาพรวม เนื่องจากขณะนี้การค้าระหว่างประเทศกำลังฟื้นตัวดี ซึ่งหากมีสถานการณ์ที่รุนแรงอาจส่งผลต่อการค้าทั่วโลกได้ โดยเฉพาะในประเทศเอเชียแปซิฟิกที่ถือว่าเป็นคู่ค้าที่สำคัญของไทย

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย                                          

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!