WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOCพมพชนก วอนขอพรพาณิชย์ เผยเงินเฟ้อทั่วไป ส.ค.60 อยู่ที่ 0.32% แย้มเล็งทบทวนตัวเลขปี 60 ช่วงต.ค.นี้ จากกรอบเดิม 0.7-1.7%

        พาณิชย์เผยเงินเฟ้อทั่วไป ส.ค.60 อยู่ที่ 0.32% ส่วน 8 เดือนอยู่ที่ 0.56% ด้านเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 0.46%  แปดเดือนอยู่ที่ 0.54% ขณะที่เงินเฟ้อทั้งปี ยังคงเป้าในกรอบ 0.7-1.7% แย้มจะทบทวนตัวเลขทั้งปีอีกครั้งช่วงต.ค.นี้ ฟาก GDP ยังคงเป้าไว้ที่ 3-4% ชี้นโยบายการค้าตปท. - น้ำมันเริ่มขยับขึ้น และเงินบาทแข็งค่ากระทบการส่งออกไทย   

นางสาวพิมพ์ชนก วอนขอพร รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้ารักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาอยู่ที่ 100.64 ปรับตัวสูงขึ้น 0.32% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น 0.11% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ขณะที่เงินเฟ้อทั่วไป 8 เดือนแรกก (มกราคม-สิงหาคม) อยู่ที่ 0.56%  

   ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI)เดือนสิงหาคมอยู่ที่ 100.89 หรืออยู่ที่ 0.46% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้น 0.05% ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน 8 เดือนอยู่ที่ 0.54% 

    ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ ยังคงประมาณการเงินเฟ้อทั่วไปปี 2560 อยู่ที่ 0.7-1.7% แต่จะทบทวนประมาณการเงินเฟ้ออีกครั้งในเดือนตุลาคม 2560  อย่างไรก็ตาม ในเดือนสิงหาคมยังประเมินอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี ไว้ที่ 3-4% เท่าเดิม  ขณะที่น้ำมันดิบดูไบ อยู่ที่ 45-55 ดอลลาร์ต่อบาเรล และ อัตราแลกเปลี่ยนที่ระดับ 34-36 บาทต่อดอลลาร์ 

     อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยสนับสนุนต่ออัตราเงินเฟ้อที่สำคัญ เช่น อุปสงค์ภาคครัวเรือนเริ่มฟื้นตัวสอดคล้องกับการผลิตและรายได้เกษตรกร ประกอบกับภาระหนี้ครัวเรือนที่มีแนวโน้มลดลง รายได้จากการส่งออกปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเจนทั้งด้านปริมาณและราคา มาตรการสนับสนุนจากภาครัฐในเรื่องกำลังซื้อสำหรับครัวเรือนรายได้น้อย และการลดหย่อนเงินได้บุคคลธรรมดาในปี 2560 

      ขณะที่ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องจับตา เช่น ความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าของคู่ค้าสำคัญ ที่จะส่งผลกระทบต่อการส่งออก ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น กระทบราคาน้ำมันเชื้อเพลิงขายปลีกในประเทศ ความผันผวนของค่าเงินบาทส่งผลกระทบต่อความสามารถทางการแข่งขันของภาคการส่งออก และต้นทุนการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบ

 สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!