WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOCมาล โชคลำเลศก.พาณิชย์ นำเอกชนชั้นแนวหน้าบุกตลาดกลุ่ม V4 เผยเกิดการจับคู่ลงทุนมูลค่ากว่าพันล้านบาท แนะผู้ประกอบการไทยเจาะธุรกิจอาหารแนว Fine Dining

       นางมาลี โชคล้ำเลิศ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เมื่อเดือนมิถุนายน 2560 ที่ผ่านมา กรมได้นำคณะภาคเอกชนชั้นนำของไทยเยือนสาธารณรัฐเช็กและสาธารณรัฐโปแลนด์ เพื่อแสวงหาโอกาสและขยายการลงทุนระหว่างกันให้มากขึ้น ตามนโยบายส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยไปลงทุนในต่างประเทศ หรือ Outward Investment ของรัฐบาล ภาคเอกชนที่ร่วมคณะต่างพึงพอใจผลสำเร็จของโครงการ เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูล/ประสบการณ์ และได้พบปะกับพันธมิตรธุรกิจที่มีศักยภาพ สามารถจับคู่การลงทุนมูลค่ารวมกว่า 1,010 ล้านบาท

        อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศกล่าวว่า เศรษฐกิจของสาธารณรัฐเช็กเติบโตอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2558 และเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ มีกำลังซื้อเพิ่มสูงขึ้นซึ่งเป็นการกระตุ้นทั้งการบริโภคภาคครัวเรือนและการลงทุนที่สำคัญ ภาคเอกชนไทยจึงให้ความสนใจเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพของเช็กได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมเชิงนวัตกรรม นาโนเทคโนโลยีในขณะที่ธุรกิจด้านสินทรัพย์ โดยเฉพาะธุรกิจโรงแรม เป็นธุรกิจที่มีโอกาสและคาดหวังผลกำไรได้

       การเยือนสาธารณรัฐเช็กครั้งนี้ได้มีการจัดกิจกรรมเจรจาการค้าเพื่อเจาะตลาดการร่วมทุนระหว่างภาคเอกชนไทยและเช็ก โดยมีหน่วยงานด้านการลงทุน องค์กรภาคอุตสาหกรรมของเช็ก หอการค้าเช็ก-ไทย และภาคเอกชนเช็กเข้าร่วมอีกกว่า 30 ราย สรุปมูลค่าการแสวงหาการลงทุนได้ถึงกว่า 997 ล้านบาท ประกอบด้วย การลงทุนด้านอุปกรณ์ไฟฟ้า อุปกรณ์การแพทย์ ยานยนต์ ยางและผลิตภัณฑ์ รวมถึงการจัดตั้งสำนักงานในสาธารณรัฐเช็ก เป็นต้น นอกจากนี้คณะได้เข้าพบและหารือเอกอัครราชทูตไทยประจำสาธารณรัฐเช็ก เยี่ยมชมสโกด้าออโต้ (Skoda Auto) และบริษัท TRCZ ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์รายใหญ่ของโลก

      ด้านการเยือนสาธารณรัฐโปแลนด์ คณะได้ร่วมเยี่ยมชมสถานประกอบการและหารือกับหน่วยงานเขตเศรษฐกิจพิเศษ (PSEZ) ทำให้ทราบถึงจุดแข็งของโปแลนด์ในเรื่องต้นทุนการผลิต ทักษะภาคแรงงาน ตลอดจนที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่อยู่ใจกลางทวีปยุโรป ซึ่งเหมาะสมต่อการเป็นฐานการผลิต รวมถึงปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้ามาลงทุน คือ การเลือกสถานที่ลงทุนที่มีความเหมาะสมกับยุโรปในราคาต้นทุนของเอเชียโดยในส่วนของการสนับสนุนการประกอบธุรกิจในเขตเศรษฐกิจพิเศษของภาครัฐโปแลนด์ เอกชนสามารถยื่นขอความช่วยเหลือจากภาครัฐได้ทั้งในรูปแบบของ Cash Support และ Tax Exemption อย่างไรก็ตาม นักลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษจำเป็นต้นได้รับใบอนุญาตก่อน

       “จากการจัดกิจกรรมพบปะเจรจาระหว่างภาคเอกชนไทยกับภาคเอกชนโปแลนด์กว่า 30 ราย ในกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล เครื่องจักรไฟฟ้า ยางและผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรมยานยนต์ และธุรกิจร้านอาหารไทย ส่งผลให้เกิดการลงทุนที่เป็นรูปธรรมรวมกว่า 13 ล้านบาท นอกจากนี้คณะยังได้รับฟังบรรยายสรุปจากหน่วยงานด้านการค้าการลงทุนของโปแลนด์ (Polish Investment and Trade Agency) และสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ ทำให้เห็นถึงศักยภาพของอุตสาหกรรมยานยนต์ในโปแลนด์และยุโรป อีกทั้งคณะได้มีการหารือถึงการลงนาม MOU ระหว่างกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศกับ Polish Investment and Trade Agency เพื่อส่งเสริมให้เกิดการค้าการลงทุนระหว่างกันให้มากขึ้น โดยฝ่ายโปแลนด์ได้เสนอให้มีการจัดตั้งสำนักงานด้านการค้าการลงทุนของโปแลนด์ในประเทศไทยภายในปี 2561 อีกด้วยอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศกล่าว

               สำหรับ ธุรกิจบริการ อาทิ ธุรกิจร้านอาหารในกลุ่มตลาดประเทศ Visegrad Four V4 (ประกอบด้วย สาธารณรัฐเช็ก สโลวัก ฮังการี และโปแลนด์) ภาคเอกชนไทยควรมุ่งเน้นกลุ่มผู้บริโภคระดับบนหรือร้านอาหารแนว Fine Dining เพื่อเป็นการสร้างความแตกต่างให้กับกลุ่มผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อสูง เนื่องจากประชากรมีรายได้ประชาชาติต่อหัวสูงถึงประมาณ 12,375 – 18,579 เหรียญสหรัฐฯ รวมทั้งมีนักท่องเที่ยวจากกลุ่มประเทศดังกล่าวเดินทางไปท่องเที่ยวใน

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!