WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOCอภรด ตนตราภรณพาณิชย์ MOU ภาคอุตสาหกรรมเอทานอลรับซื้อมันเส้นจากเกษตรกร รองรับผลผลิตปี 60/61

      นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รมว.พาณิชย์ กล่าวถึงมาตรการรองรับผลผลิตฤดูการผลิตปี 2560/61 ว่า ได้มีการหารือร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องมาอย่างต่อเนื่อง เกี่ยวกับข้อกำหนด กฎหรือระเบียบที่เป็นข้อจำกัดในการผลิตและจำหน่ายเอทานอล เพื่อที่จะสามารถผลักดันให้มีการใช้มันสำปะหลังในอุตสาหกรรมเอทานอลเพิ่มขึ้น โดยได้ร่วมกับสมาคมการค้าผู้ผลิตเอทานอลไทย และสมาคมเอทานอลจากมันสำปะหลัง จัดทำบันทึกความร่วมมือ (MOU) เพื่อเชื่อมโยงรับซื้อมันเส้นสะอาดจากเกษตรกรแล้ว

      นอกจากนี้ ยังได้หารือผู้ประกอบการแปรรูป เพื่อนำนวัตกรรมมาใช้ในการแปรรูปเพิ่มมูลค่าให้  มันสำปะหลัง รวมทั้งผลักดันให้มีการปลูกมันสำปะหลังอินทรีย์ ซึ่งเกษตรกรจะขายได้ในราคาสูงกว่าปกติหลายเท่า

      ส่วนกรณีกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง จ.นครราชสีมา มีหนังสือร้องเรียนนายกรัฐมนตรีเพื่อขอให้ช่วยเหลือเรื่องปัญหาราคามันสำปะหลังตกต่ำนั้น กระทรวงฯ ได้ขอความร่วมมือให้โรงแป้งและโรงงานเอทานอลรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรอย่างต่อเนื่องในราคาที่เป็นธรรม เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรที่ยังไม่ได้เก็บเกี่ยวผลผลิต

      "ขณะนี้เป็นช่วงปลายฤดูการผลิต 2559/60 ซึ่งผลผลิตส่วนใหญ่ได้ออกสู่ตลาดใกล้หมดแล้ว ยังคงเหลือตกค้างอยู่บ้าง ประกอบกับขณะนี้เป็นช่วงฤดูฝน หัวมันสดที่เก็บเกี่ยวในช่วงนี้มีเปอร์เซ็นต์เชื้อแป้งต่ำ และลานมันส่วนใหญ่ได้หยุดรับซื้อแล้ว เนื่องจากไม่สามารถตากมันเส้นได้ เลยส่งผลกระทบให้ราคาหัวมันสดมีแนวโน้มลดลง แต่กระทรวงฯ ได้แก้ปัญหา โดยขอให้โรงแป้งและโรงงานเอทานอลเข้ามาช่วยรับซื้อแล้ว" นางอภิรดี กล่าว

      รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า ที่ผ่านมากระทรวงฯ ได้มีมาตรการดูแลเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังมาโดยตลอด โดยรัฐบาลปัจจุบันมุ่งเน้นบริหารจัดการสินค้ามันสำปะหลังเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกร ผู้ประกอบการ ตลอดจนอุตสาหกรรมมันสำปะหลังโดยรวมของไทย และรักษาเสถียรภาพราคาโดยไม่มีการแทรกแซงหรือบิดเบือนกลไกตลาด อาทิ การลดต้นทุนการเพาะปลูกและเพิ่มผลผลิต การลดภาระค่าใช้จ่ายในครัวเรือนของเกษตรกร เป็นต้น ซึ่งจะสามารถช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น

      นอกจากนี้ ยังมีแนวทางการบริหารจัดการด้านการตลาดมันสำปะหลังโดยให้มีการเชื่อมโยงตลาดมันเส้นสะอาดของกลุ่มเกษตรกรวิสาหกิจชุมชน สหกรณ์การเกษตร กับโรงงานเอทานอล ผู้ค้า/ผู้ส่งออก มันสำปะหลัง สหกรณ์ผู้เลี้ยงปศุสัตว์ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มมันสำปะหลังนอกเหนือจากการจำหน่ายผลผลิตในรูปหัวมันสดเพียงอย่างเดียว รวมทั้งสร้างอำนาจต่อรองในการจำหน่ายผลผลิตและสามารถกำหนดราคาขายได้ด้วยตนเอง ส่วนการขยายตลาดแป้งมันได้มีการเชื่อมโยงโดยขยายตลาดแป้งมันสำปะหลังในอุตสาหกรรมแปรรูปขั้นสูงไปตลาดใหม่ในประเทศที่มีศักยภาพ เช่น อินเดีย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น เป็นต้น ตลอดจนจับคู่เจรจาธุรกิจ (Business Matching) กับผู้ซื้อต่างประเทศ

     ขณะเดียวกันได้กำหนดมาตรการนำเข้า-ส่งออก เพื่อเป็นเครื่องมือในการรักษาระดับราคามันสำปะหลัง โดยมาตรการนำเข้า กระทรวงฯ กำหนดให้ผู้ประกอบการสามารถนำเข้ามันสำปะหลังจากประเทศเพื่อนบ้านได้ แต่ต้องปฏิบัติตามมาตรการจัดระเบียบในการนำเข้า คือ ต้องมีหนังสือรับรองประกอบการนำเข้า (หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า/ สุขอนามัยพืช/ มาตรฐานสินค้า) และต้องนำเข้ามาทางด่านศุลกากรที่มีด่านตรวจพืชหรือที่อยู่ในเขตอำนาจของด่านตรวจพืช รวมถึงต้องรายงานการนำเข้า สำหรับมาตรการส่งออกในช่วงเดือน ม.ค.-เม.ย. ซึ่งเป็นช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดจำนวนมาก กำหนดให้ผู้ส่งออกต้องมีสต็อกในครอบครองในอัตราส่วน 1.5:1 โดยผู้ส่งออกต้องมีสต็อก 1.5 ส่วน จะสามารถส่งออกได้ 1 ส่วนเพื่อให้ผู้ส่งออกช่วยดูดซับอุปทานภายในประเทศ

               อินโฟเควสท์ 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!