WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ดัชนี ความเชื่อมั่นผู้บริโภคโงหัว ดีดตัวสูงสุดรอบ 15 เดือน

    แนวหน้า : ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโงหัว ดีดตัวสูงสุดรอบ 15 เดือน รับบ้านเมืองสงบมากขึ้น

    'พาณิชย์'ทำโพล ระบุดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเพิ่มสูงขึ้น แต่ประชาชนส่วนใหญ่ยังกังวลปัญหา'ของแพง'หนี้ของภาคครัวเรือนที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ด้าน 'สสว.' ระบุ หลัง คสช. บริหารประเทศ สร้างความ มั่นใจลูกค้าต่างชาติ ดันส่งออกเอสเอ็มอีครึ่งป?แรก โต 14.7%

    นางอัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า จากการสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภคทุกจังหวัดทั่วประเทศ จำนวน 3,343 ราย เกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจ รายได้และโอกาสหางานทำ ในปัจจุบันและในอีก 3 เดือนข้างหน้า พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนกรกฎาคม 2557 มีค่า 41.4 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา ซึ่งมีค่า 38.4 เป็นการปรับตัวสูงสุดในรอบ 15 เดือน และดัชนีความเชื่อมั่นฯ ที่มีต่อสถานการณ์ในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) มีค่า 45.4

   อย่างไรก็ตาม การที่ค่าดัชนีต่ำกว่าระดับ 50 สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนยังไม่มีความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจ แม้ว่าภาพรวมของสถานการณ์บ้านเมืองจะมีความสงบมากขึ้น แต่ประชาชนส่วนใหญ่ยังมีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาค่าครองชีพ การใช้จ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคในปัจจุบันปรับลดลง ประชาชนระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น ภาวะหนี้ของภาคครัวเรือนที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น รายได้ของเกษตรกรลดลงจากการที่ต้นทุนการทำนาที่สูงขึ้น แต่ขายข้าวไม่ได้ราคา อีกทั้ง ยางพารา น้ำมันปาล์ม ยังมีราคาตกต่ำ เกษตรกรได้รับความเดือดร้อนซึ่งหากเป็นไปในระยะยาวจะยิ่งทำให้ภาวะหนี้ของภาคครัวเรือนมีแนวโน้มที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่เศรษฐกิจโลกที่ยังไม่มีแนวโน้มที่แน่นอนในการฟื้นตัว ซึ่งมีผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจและภาคการส่งออกของไทย

    ความคาดหวังที่มีต่อรายได้ในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา เนื่องจากประชาชนมีความคาดหวังว่าการเข้ามาบริหารประเทศของ คสช. รวมทั้ง นโยบายต่างๆจะช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศดีขึ้น ส่วนการวางแผนซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ/รถยนต์ใน 6 เดือนข้างหน้า ปรับลงลด เนื่องจากประชาชนมีความกังวลในภาวะค่าครองชีพ ราคาสินค้าทางการเกษตร รวมทั้ง ผลไม้ตามฤดูกาลที่ออกสู่ตลาดมีปริมาณมากส่งผลให้ราคาตกต่ำ และปริมาณ      ฝนที่ตกหนักในหลายพื้นที่ทำให้พืชผลทางการเกษตรและบ้านเรือนได้รับความเสียหาย ประชาชนได้รับความเดือดร้อน

    ขณะที่มีรายงานข่าวจาก สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาด กลางและขนาดย่อม (สสว.) เป?ดเผยว่า สสว. ได้ดำเนิน การศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์เอสเอ็มอี ในช่วง 6 เดือน แรกของป? 2557 ทั้งด้านการค้าระหว่างประเทศ รวมถึง การจัดตั้งและยกเลิกกิจการของ เอสเอ็มอี พบว่า สถานการณ์โดยภาพรวมปรับตัวดีขึ้น ผลการจากการบริ หารประเทศของ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ เร่งดำเนินการสร้างความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจประเทศ ออกมาตรการกระตุ้นการค้า-การลงทุน รวมถึงการให้ ความช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ซึ่งส่งผลดีต่อระดับความเชื่อมั่นของนักลงทุนและ ประชาชน เห็นได้จากสัญญาณการปรับตัวดีขึ้นของการ บริโภคภายในประเทศ การลงทุนภาคเอกชน และการใช้ จ่ายของภาครัฐ ขณะที่เศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะกลุ่ม ประเทศคู่ค้าหลักของไทยมีการฟ?นตัว ส่งผลดีต่อการส่ง ออกสินค้าของผู้ประกอบการไทย

     ในส่วนของการค้าระหว่างประเทศของเอสเอ็มอี ในช่วง 6 เดือนแรก พบว่า มีทิศทางที่ดีขึ้นโดยการส่งออกของเอสเอ็มอีมีมูลค่ารวม 980,419.86 ล้านบาท ขยาย ตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของป?ก่อน 14.77%

    พร้อมคาดว่ามาตรการเร่งรัดการใช้จ่ายภายใต้ แผนการลงทุนของภาครัฐ และเร่งรัดกระบวนการเบิกจ่า ยงบประมาณป? 2557 รวมถึงเตรียความพร้อมในใช้งบ ประมาณประจำป? 2558 จะเป?นป?จจัยสำคัญต่อการกระตุ้ นอุปสงค์ภายในประเทศให้ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะ ส่งผลดีต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศในช่วง ครึ่งหลังของป? 2557 ให้มีทิศทางการขยายตัวที่ดียิ่งขึ้น

เชื่อมั่นคสช.ดัชนีสูงสุด15เดือน แต่คนห่วงของแพง-หนี้เพิ่ม 'แบงก์ชาติ'จ่อปรับจีดีพีขึ้น

    ไทยโพสต์ * พาณิชย์เผยดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภค ก.ค.ดีดสูงสุดรอบ 15 เดือน แต่คนยังน่าห่วงค่าครองชีพแพง หนี้ครัวเรือนเพิ่ม สินค้าเกษตรตกต่ำ แต่คาดแนวโน้มดีขึ้นต่อเนื่อง หลังคนเชื่อมั่น คสช. ด้าน ธปท.จ่อปรับจีดีพีปี 57 ใหม่ รับข่าวดีภาครัฐอัดฉีดเงินลงทุนเข้าระบบกว่า 1 แสนล้านบาท

    นางอัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนย.) กระ ทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ก.ค.2557 ที่สำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง 3,343 ราย ทุกจังหวัดทั่วประเทศ เท่ากับ 41.4 ปรับตัวดีขึ้นจากเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา ที่เท่ากับ 38.4 เป็นการปรับตัวดีขึ้นสูงสุดในรอบ 15 เดือน และดัชนีความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์ในอนาคต เท่ากับ 45.4 เพิ่มขึ้นจาก 43.7 เดือนก่อน

    อย่างไรก็ตาม แม้ว่าดัชนีความเชื่อมั่นจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อ เนื่อง แต่ยังต่ำกว่าค่าปกติที่ระดับ 50 สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนยังมีความไม่เชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจ ทั้งที่ภาพรวมของสถาน การณ์บ้านเมืองมีความสงบมากขึ้น แต่ประชาชนส่วนใหญ่ยังมี ความกังวลเกี่ยวกับปัญหาค่าครองชีพ ระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น ภาวะหนี้ภาคครัวเรือนมีแนวโน้มสูงขึ้น รายได้ของเกษตรกรลดลง โดยต้นทุนการทำนาสูงขึ้น และยางพารา ปาล์มน้ำมัน มีราคาตกต่ำ รวมถึงผลไม้ตามฤดูกาล

    "หากราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ เป็นไปในระยะยาว จะยิ่งทำให้ภาวะหนี้ภาคครัวเรือนมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่อง และยิ่งเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่มีแนวโน้มการฟื้นตัวที่แน่นอน ยิ่งมีผลกระ ทบต่อภาวะเศรษฐกิจและภาคการส่งออกของไทยได้" นางอัมพวัน กล่าว

    สำหรับ ความคาดหวังที่มีต่อรายได้ในอนาคต 3 เดือนข้างหน้า ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับ เดือนที่ผ่านมา เนื่องจากประชา ชนมีความคาดหวังการเข้ามาบริ หารประเทศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) รวมทั้งนโย บายต่างๆ ที่ออกมามีส่วนช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจของประเทศดีขึ้น

    นายจิรเทพ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา โฆษกธนาคารแห่งประ เทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในเดือน ก.ย. จะมีการทบทวนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยรวมสมมติฐานการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระยะเร่งด่วนปี 2557-2558 กว่า 1 แสนล้านบาท ที่ผ่านการเห็นชอบจาก คสช.เข้าไปด้วย ซึ่งการลงทุนภาครัฐจะเป็นกลไกหลักในช่วงที่การบริโภคภาคเอกชนยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่

   อย่างไรก็ตาม จากการติด ตามข้อมูลของ ธปท. พบว่า การลงทุนยังคงมีสัดส่วนประมาณ 22% ของจีดีพี แบ่งเป็นการลงทุนโดยภาคเอกชน 17% และภาครัฐเพียง 5% ซึ่งหากต้องการให้เศรษฐกิจไทยเติบโตได้โดยเฉลี่ย 4.5-5% ต่อปี จำเป็นต้องมีการเพิ่มเม็ดเงินลงทุนเป็นสัดส่วน 25-27% ของจีดีพี

   ส่วนสถานการณ์อัตราแลกเปลี่ยนของไทยช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีทิศทางแข็งค่าเล็กน้อย มาจาก 3 ปัจจัยหลัก คือ 1.ติด วันหยุดราชการหลายวัน เมื่อเปิดทำการทำให้ตลาดเริ่มมีการปรับตัว 2.ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง กว่าที่คาด และ 3.การลงทุนโดยตรง (FDI) มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น สะท้อนจาก ความเชื่อมั่นนักลงทุนที่อยู่ในระดับดี ส่วนทิศทางเงินทุนไหลออกในภูมิ ภาค ยังไม่พบว่ามีปัญหาแต่อย่างใด เนื่องจากพื้นฐานเศรษฐกิจเอเชีย รวมถึงไทยยังคงมีเสถียรภาพ.

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!