WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOCบณยฤทธ กลยาณมตร 4d524พาณิชย์ หวั่น สหรัฐฯ ถอนตัวออกจากความตกลงปารีส ทำราคาสินค้าจากสหรัฐฯ ถูกเก็บภาษีสิ่งแวดล้อมเพิ่ม

        กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ จับตาสหรัฐฯ ถอนตัวออกจากความตกลงปารีส (Paris Agreement) หวังลดต้นทุนเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันด้านราคา ชี้อาจกระทบ สินค้าและบริการด้านสิ่งแวดล้อมในสหรัฐฯ และอาจกระทบให้สินค้าจากสหรัฐฯ จะถูกเก็บภาษีสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติม จากประเทศผู้นำเข้าที่ให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 

   นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่าตามที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ประกาศว่าสหรัฐฯ จะถอนตัวจากความตกลงปารีส (Paris Agreement) ซึ่งเป็นความตกลงที่มีวัตถุประสงค์เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อลดโลกร้อน และมีสมาชิก 195 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทยนั้น จะทำให้สหรัฐฯ ไม่ต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเคยสัญญาไว้ตั้งแต่สมัยประธานาธิบดีบารัก โอบามา ที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 26-28 จากระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี 2548 (2005) ให้ได้ภายในปี 2568 (2025) และไม่ต้องให้เงินสนับสนุนในกองทุน Green Climate Fund เพื่อเป็นเงินสำหรับให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนาในการจัดทำโครงการด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อลดโลกร้อนอีกต่อไป โดยที่ผ่านมา สหรัฐฯ ได้สัญญาว่าจะให้เงินสนับสนุนเข้ากองทุนดังกล่าวเป็นจำนวนมากที่สุดถึง 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และในสมัยของประธานาธิบดีบารัก โอบามา ได้มีการจ่ายเงินเข้าสู่กองทุนแล้ว 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

  อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้แสดงความเห็นเพิ่มเติมในส่วนของผลกระทบในเชิงการค้าว่าจากการถอนตัวของสหรัฐฯ จากความตกลงดังกล่าว จึงมีความเป็นไปได้ที่รัฐบาลและภาคส่วนต่างๆ ของสหรัฐฯ อาจลดความสำคัญต่อการดำเนินการด้านการป้องกันและแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมลง เนื่องจากสหรัฐฯ ไม่มีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตามภายใต้ความตกลงปารีสแล้ว และอาจส่งผลให้ธุรกิจที่เกี่ยวกับสินค้าและบริการด้านสิ่งแวดล้อมภายในสหรัฐฯ ได้รับผลกระทบเนื่องจากความต้องการที่ลดลง และก็เป็นไปได้ว่าสหรัฐฯ อาจจะนำเข้าสินค้าและบริการด้านสิ่งแวดล้อมจากต่างประเทศลดลงด้วย

  แม้ว่า การที่สหรัฐฯ ไม่ต้องให้ความสำคัญกับเรื่องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จะทำให้สหรัฐฯ สามารถลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจได้ในระยะสั้น เนื่องจากไม่ต้องมีการลงทุนเพื่อปรับกระบวนการผลิตเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งจะส่งผลในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของสินค้าที่ส่งออกจากสหรัฐฯ แต่ในระยะยาวจะมีผลต่อความพยายามเพื่อการลดการปล่อยก๊าซ เรือนกระจกและลดโลกร้อนโดยเฉพาะสหรัฐฯเป็นประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ขณะเดียวกันสินค้าและบริการของสหรัฐฯที่ส่งออกก็น่าจะได้รับผลกระทบเนื่องจากผู้บริโภคในประเทศที่ให้ความสำคัญกับการรักษาสิ่งแวดล้อมอาจต่อต้านสินค้าของสหรัฐฯ และมีความเป็นไปได้ที่สินค้าเหล่านั้นจะถูกเก็บภาษีสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติม จากประเทศผู้นำเข้าที่ให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยมีรายงานว่าสาธารณรัฐประชาชนจีนและสหภาพยุโรป จะมีแถลงการณ์ร่วมยืนยันว่าจะยังเดินหน้าตามข้อผูกพันภายใต้ความตกลงปารีสในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อไป

  ทั้งนี้ คาดว่ากระบวนการในการถอนตัวจากการเป็นภาคีความตกลงปารีสจะใช้ระยะเวลาประมาณ 4 ปี ก่อนที่การถอนตัวจากความตกลงปารีสจะเสร็จสิ้นอย่างเป็นทางการ โดยการถอนตัวของสหรัฐฯ คาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2563 (2020) ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ โดยกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ จะติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดต่อไป

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!