WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

INDUSสนธรตน สนธจรวงศสกัดบริษัทสีเทาหลอกลวง 13หน่วยงานรัฐผนึกกำลัง เปิดรับจดตั้งธุรกิจทางเน็ต

     ไทยโพสต์ : นนทบุรี * พาณิชย์ถกร่วม 13 หน่วยงาน เชื่อมโยงข้อมูล ป้องกันบริษัทสีเทาสวมรอยเข้ามาหลอกลวงประชาชน หากรายใดถูกร้องเรียน ต้องรีบแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทันที เพื่อสกัดก่อนขยายวง พร้อมเปิดบริการจดทะเบียนนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ คาดผู้ใช้บริการไม่ต่ำกว่าปีละ 30,000-36,000 ราย

      นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมพัฒนา ธุรกิจการค้า ได้หารือกับ 12 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนด มาตรการ แนวทาง และวิธีป้อง กันผู้ประกอบธุรกิจประเภทต่างๆ สวมรอยบริษัทที่จดทะเบียนนิติบุคคล ทำการหลอกลวงประชาชน โดยจะร่วมกันจัดทำมาตรการเฝ้าระวัง และจับตาธุรกิจที่มีความเสี่ยงในการหลอกลวง ประชาชน เพื่อเตือนภัยให้ประ ชาชนได้ระมัดระวัง

      สำหรับ 12 หน่วยงาน เช่น สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ สำนักงานคณะกรรม การคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนัก งานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์ การมหาชน) กรมการปกครอง กรมสอบสวนคดีพิเศษ กรมบังคับ คดี กรมการท่องเที่ยว และกรมที่ดิน เป็นต้น

      รายงานข่าวแจ้งว่า ในการหารือร่วมระหว่าง 13 หน่วย งาน ได้มีการเสนอให้มีการเชื่อม โยงข้อมูลระหว่างกันให้มากขึ้น โดยเฉพาะหน่วยงานที่กำกับดูแลการประกอบธุรกิจเฉพาะอย่าง เช่น ธุรกิจขายตรง และท่องเที่ยว โดยต่อไป หากมีปัญหาเรื่องการร้องเรียนจากประชาชนว่าบริษัทใด ทำธุรกิจไม่โปร่งใส สคบ. หรือกรมการท่องเที่ยว ที่เป็นหน่วยงานกำกับดูแล และได้รับเรื่องร้องเรียนเข้ามา ก็ต้องรีบแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทันที เพื่อให้รับทราบ และติดตามการประกอบธุรกิจ เพื่อป้องกันผล กระทบที่อาจจะขยายวงกว้าง

      นอกจากนี้ ในส่วนของตำรวจ หากมีการรับแจ้งความร้องทุกข์เกี่ยวกับกรณีฉ้อโกง หรือหลอกลวงประชาชน ก็ให้แจ้งประสานข้อมูลไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการตรวจสอบในทันที

      นายสนธิรัตน์กล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 18 เม.ย.2560 เป็น ต้นไป กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้เปิดให้บริการจดทะเบียนนิติ บุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e- Registration อย่างเป็นทางการ โดยผู้ประกอบการสามารถจด ทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วน บริษัทผ่านทางระบบอินเทอร์ เน็ตได้แล้วอย่างครบวงจร ตั้ง แต่เริ่มต้นประกอบธุรกิจจนถึงเลิกกิจการ เป็นการพลิกโฉมการให้บริการจดทะเบียนนิติ บุคคลแบบเดิมๆ มาเป็นการให้บริการผ่านระบบอินเทอร์เน็ต

      ทั้งนี้ ถือเป็นการอำนวยความสะดวกในการเริ่มต้นธุรกิจ ทำให้ได้รับความสะดวก รวดเร็ว ประหยัดทั้งเวลาและค่า ใช้จ่าย อีกทั้งผู้ใช้บริการสามารถ เข้าถึงบริการได้ทุกที่ ทุกเวลา ตามความต้องการ

      นายสนธิรัตน์กล่าวว่า หลังจากเปิดตัวระบบ e-Registra tion คาดว่าจะมีผู้ประกอบการเข้ามาใช้บริการจดทะเบียนนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ ประมาณ 2,500-3,000 รายต่อเดือน หรือประมาณ 30,000-36,000 รายต่อปี ส่วนผู้ที่ยังไม่ มีความพร้อมในการจดทะเบียนนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ ยังคงสามารถเดินทางมาจดทะเบียนได้ที่ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และสำนักงานพาณิชย์จังหวัดทุกจังหวัดได้เหมือน เดิม.

พาณิชย์จับมือ 12 หน่วยงานเชื่อมโยงข้อมูล ปิดช่องธุรกิจหลอกลวงผู้บริโภค

      นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้หารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดมาตรการ แนวทาง และวิธีป้องกันผู้ประกอบธุรกิจประเภทต่างๆ สวมรอยบริษัทที่จดทะเบียนนิติบุคคลมาหลอกลวงประชาชน โดยจะร่วมกันจัดทำมาตรการเฝ้าระวัง และจับตาธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูงที่จะหลอกลวงประชาชน เพื่อป้องกันและเตือนภัยให้ประชาชนระมัดระวังตัว

      โดยการทำงานหลังจากนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกันเพิ่มมากขึ้น เพราะกรมพัฒนาธุรกิจการค้ามีหน้าที่รับจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทใหม่ แต่ธุรกิจบางประเภทต้องขออนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและต้องได้รับอนุญาตก่อน จึงจะมาแจ้งจดวัตถุประสงค์ในการทำธุรกิจกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ เช่น ธุรกิจขายตรง ต้องขออนุญาตจาก สคบ. และธุรกิจท่องเที่ยว ต้องขออนุญาตจากกรมการท่องเที่ยว เป็นต้น

      "พวกมิจฉาชีพที่ตั้งใจหลอกลวงประชาชนจะจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า แล้วนำบริษัทไปหลอกลวงประชาชน เช่น ทำธุรกิจขายตรง หรือท่องเที่ยว โดยที่ยังไม่ได้ขออนุญาตจาก สคบ. หรือกรมการท่องเที่ยวก่อน ซึ่งประชาชนไม่ได้ตรวจสอบก็จะไม่รู้ว่าบริษัทนั้นๆ ยังไม่ได้รับอนุญาต แต่ต่อไป หน่วยงานเหล่านี้จะเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกัน ทำให้ทุกหน่วยงานรู้ข้อมูลของบริษัทมากขึ้น หรืออย่างกรณีการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุลบ่อยๆ กรมก็สามารถตรวจสอบกับกรมการปกครองได้ทันที" รมช.พาณิชย์ กล่าว

     สำหรับ 12 หน่วยงานที่หารือร่วมกันในวันนี้ ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.), สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.), สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.), สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน), กรมการปกครอง, กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ), กรมบังคับคดี, กรมการท่องเที่ยว และกรมที่ดิน เป็นต้น

    รมช.พาณิชย์ ได้ฝากเตือนประชาชนว่าหากต้องการใช้บริการของบริษัทท่องเที่ยว หรือต้องการซื้อสินค้า หรือร่วมทำธุรกิจขายตรงกับบริษัทขายตรง ต้องตรวจสอบกับกรมการท่องเที่ยว หรือ สคบ.ก่อนว่าได้รับอนุญาตการประกอบธุรกิจแล้วหรือไม่ หากยังไม่ได้รับการอนุญาต ขอให้เลิกทำธุรกิจหรือเลิกซื้อสินค้าและบริการทันที เพราะอาจเป็นมิจฉาชีพที่ตั้งใจจะหลอกลวงประชาชน

    อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!