WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOC บรรจงจตต องศสงหกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ออกประกาศให้นิติบุคคลติดตั้งเครื่องรูดบัตร หวังเพิ่มความคล่องตัวในระบบศก.

     นางสาวบรรจงจิตต์ อังศุสิงห์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กล่าวว่า กรมพัฒนาธุรกิจการค้าออกประกาศ ให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี (ผู้ประกอบการ) ติดตั้งอุปกรณ์รับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Capture : EDC) หรือที่เรียกว่าเครื่องรูดบัตร ณ สถานประกอบการอย่างน้อย 1 เครื่อง เพื่ออำนวยความสะดวกในการชำระเงินแก่ผู้รับบริการ ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ  (National e-Payment) เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงิน ส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงิน บูรณาการระบบสวัสดิการสังคม รวมถึงส่งเสริมการใช้บริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ในทุกภาคส่วนทั่วประเทศ

     ทั้งนี้ ระบบ National e-Payment เป็นระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่รัฐบาลพยายามผลักดันให้ทุกภาคส่วนเปลี่ยนพฤติกรรมจากการใช้เงินสดไปสู่การใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่มีค่าธรรมเนียมต่ำ ซึ่งจะช่วยยกระดับโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินของไทยและยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน  และเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของภาคธุรกิจและประเทศ สอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของรัฐบาล โดยกระตุ้นการใช้บัตรและชำระเงินด้วยเครื่อง EDC ให้กระจายทั่วทั้งประเทศในอนาคตอันใกล้นี้

    “National e-Payment จะช่วยอำนวยความสะดวกให้การดำเนินธุรกรรมทางการเงิน และกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยจะช่วยลดต้นทุนของประเทศในการบริหารจัดการเงินสด ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันช่วยดึงเศรษฐกิจนอกระบบเข้าสู่ระบบ ซึ่งในอนาคตอันใกล้นี้ระบบการชำระเงินของไทยจะถูกพลิกโฉมให้เป็นธุรกรรมผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ มีความว่องไวมากขึ้น และเพื่อให้สอดรับกับนโยบายของรัฐบาล กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จึงออกประกาศให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่มีการรับชำระเงินจากประชาชนดำเนินการติดตั้งเครื่องรับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ อย่างน้อย 1 เครื่อง ต่อสถานประกอบการ 1 แห่ง เพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกในการชำระเงินให้กับประชาชน"นางสาวบรรจงจิตต์ กล่าว

       นางสาวบรรจงจิตต์ กล่าวว่า ปัจจุบันเครื่องรับชำระเงินมีหลากหลายรูปแบบ เช่น เครื่อง EDC เครื่องรูดบัตรมือถือ (MPOS) โดยให้พิจารณาตามความเหมาะสมของร้านค้าและพื้นที่ ซึ่งรัฐบาลมีมาตรการช่วยเหลือร้านค้าหรือธุรกิจที่ติดตั้งอุปกรณ์ให้ได้รับสิทธิประโยชน์ในการติดตั้ง โดยไม่ต้องจ่ายค่าอุปกรณ์  และค่าติดตั้ง นอกจากนี้ยังได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามที่กรมสรรพากรกำหนด

     ทั้งนี้ ผู้ประกอบการสามารถเลือกที่จะติดตั้งเครื่องจากผู้มีสิทธิ์ให้บริการวางอุปกรณ์รับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ รายหนึ่งรายใดตามที่กระทรวงการคลังได้คัดเลือกไว้ ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย กรุงศรีอยุธยา ทหารไทย ไทยพาณิชย์ ธนชาต กรุงเทพ และกสิกรไทย โดยธนาคารดังกล่าวจะเข้าไปติดต่อกับผู้ประกอบการเอง

พาณิชย์ มั่นใจมีมาตรการพร้อมรองรับนิติบุคคลส่งงบการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์

     น.ส.บรรจงจิตต์ อังศุสิงห์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กล่าวว่า นิติบุคคลที่มีรอบปีบัญชีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559 ต้องนำส่งงบการเงินให้แก่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2560 โดยต้องนำส่งงบการเงินผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing) เท่านั้น ทั้งนี้ในรอบปีบัญชี 2559 มีนิติบุคคลที่ต้องนำส่งงบการเงินรวม 591,052 ราย ซึ่ง ณ วันที่ 7 เมษายน 2560 มีนิติบุคคลได้นำส่งงบการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing) แล้วจำนวน 57,967 ราย คิดเป็นร้อยละ 9.81 และยังคงมีนิติบุคคลที่ต้องนำส่งงบการเงินอีกจำนวน 533,085 ราย

    เนื่องจากปริมาณนิติบุคคลที่ต้องนำส่งงบการเงินมีเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่มักจะทยอยนำส่งงบฯ ในช่วงเดือนพฤษภาคม โดยเฉพาะสัปดาห์สุดท้ายก่อนครบกำหนด ทำให้ช่วงดังกล่าวมีปริมาณการนำส่งงบฯ มากเป็นพิเศษ (Peak Load) ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการให้บริการฯ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ตระหนักถึงสิ่งที่เกิดขึ้นจึงกำหนดมาตรการขึ้นเพื่อรองรับปริมาณการนำส่งงบฯ ที่มีเป็นจำนวนมาก ดังนี้

    1.ระหว่างวันที่ 7 เมษายน - วันที่ 30 มิถุนายน 2560 นี้ กรมฯ จะขยายเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและระบบเซิร์ฟเวอร์ทำให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเพื่อรองรับปริมาณการนำส่งงบการเงินได้เป็นจำนวนมากๆ

    2.หากรอบระยะเวลาการนำส่งงบการเงินในสิ้นปีบัญชีตรงกับวันหยุดราชการ ให้สามารถนำส่งงบการเงินผ่านระบบ DBD e-Filing ในวันทำการถัดไปได้โดยไม่เสียค่าปรับ 3) หากนิติบุคคลมีความจำเป็นอนุโลมให้นำส่งงบการเงินในรูปแบบกระดาษได้ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด แต่ต้องนำส่งงบการเงินผ่านระบบ e-Filing ด้วยภายใน 30 วัน โดยจะยังถือว่าเป็นการปฏิบัติตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด

    "จากมาตรการที่ได้กำหนดมาดังกล่าวข้างต้นจะสามารถสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ประกอบการในการนำส่งงบฯ ผ่านระบบ e-Filing ได้ว่าระบบจะมีเสถียรภาพรองรับการนำส่งงบการเงินในช่วง Peak Load และไม่ล่มกลางคันระหว่างการจัดส่งงบฯ แน่นอน รวมทั้ง เป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการ โดยสามารถนำส่งงบฯ ผ่านระบบ e-Filing ได้ตลอด 24 ชั่วโมง" น.ส.บรรจงจิตต์ กล่าว

     นอกจากนี้ กรมฯ ได้ตั้งทีมเฉพาะกิจขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ไม่สามารถนำส่งงบการเงินทาง e-Filing โดยได้เปิดศูนย์ปฏิบัติการ e-Filing บริเวณชั้น 10 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อช่วยเหลือและสอนวิธีนำส่งงบการเงินทาง e-Filing ทุกขั้นตอน จนกระทั่งสามารถนำส่งงบฯ ได้อย่างสมบูรณ์ ทั้งนี้ผู้ประกอบการที่ยังไม่มีโปรแกรมสำหรับใช้กรอกข้อมูลในระบบ e-Filing สามารถนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาติดตั้งโปรแกรมฯ ดังกล่าวได้ที่ ส่วนบริการข้อมูลธุรกิจ ชั้น 3 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สนามบินน้ำ จ.นนทบุรี ได้ทุกวันในเวลาทำการ

     อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กล่าวว่า ขอเชิญชวนนิติบุคคลให้นำส่งงบการเงินฯ ผ่านระบบ e-Filing แต่เนิ่นๆ โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่คาดว่าจะมีนิติบุคคลนำส่งงบฯ จำนวนไม่มาก ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการสามารถนำส่งงบฯ ได้โดยง่าย สะดวก รวดเร็ว และที่สำคัญที่สุด คือ จะรู้สึกสบายใจที่ได้นำส่งงบการเงินฯ ตามที่กฎหมายกำหนดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

     โดยในรอบปีบัญชี 2558 มีนิติบุคคลนำส่งงบการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing) จำนวน 368,382 ราย คิดเป็นรายละ 64.82 ของนิติบุคคลที่ต้องนำส่งงบการเงินฯ และคาดว่า รอบปีบัญชี 2559 จะมีนิติบุคคลนำส่งงบการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing) จำนวนไม่น้อยกว่า 450,000 ราย

         อินโฟเควสท์

 พาณิชย์ ตั้งเป้าพัฒนาโชห่วยปีนี้ 5,000 ร้าน

      ไทยโพสต์ : พาณิชย์ * น.ส.บรรจงจิตต์ อังศุสิงห์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กรมได้จัดทำโครง การค้าส่ง-ค้าปลีกไทยสู่ชุมชนปี 2560 โดยจะเดินหน้าพัฒนาร้านค้าส่ง-ค้าปลีกต้นแบบ ซึ่งปัจจุบันได้พัฒนาไปแล้ว 114 ร้าน ใน 65 จังหวัด จะขยายเพิ่มอีก 35 ร้าน และครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัดให้ได้ภายในปีนี้ เพื่อให้มีสาขาของร้านค้าส่ง-ค้าปลีกทั่วประเทศที่จะเข้ามาดูแลร้านค้าปลีกรายย่อย (โชห่วย) ในเครือข่าย และช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับร้านค้าปลีกรายย่อยที่จะมาช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจท้องถิ่น

     ปัจจุบันกรมได้พัฒนาให้มีร้านค้าปลีกรายย่อยในเครือข่ายแล้ว 20,081 ราย และได้ตั้งเป้าในปีนี้ที่จะพัฒนาเพิ่มอีก 5,454 ราย โดยจะให้ร้านค้าส่ง-ค้าปลีกต้นแบบจำนวน 60 ราย เป็นพี่เลี้ยงเข้าไปช่วยพัฒนาปรับภาพลักษณ์ให้แก่ร้านค้าปลีกรายย่อย ซึ่งจะเน้นการพัฒนาใน 3 ด้าน คือ การบริหารจัดการร้านค้า การจัดเรียงสินค้า และการปรับภาพลักษณ์ร้านค้า เพื่อให้ร้านค้าปลีกรายย่อยมีการพัฒนาและแข่งขันกับร้านค้าปลีกสมัยใหม่

    ทั้งนี้ จากการสำรวจ มีร้านค้าปลีกรายย่อย หรือร้านโชห่วยในระบบอีกไม่ต่ำกว่า 4 แสนราย ซึ่งกรมได้ตั้งเป้าที่จะเข้าไปพัฒนาร้านโชห่วยเหล่านี้ให้ดีขึ้น เพราะร้านเหล่านี้ใกล้ชิดชาวบ้าน และสามารถนำมาใช้เป็นแขนขาของกระทรวงพาณิชย์ในการกระจายสินค้าในโครงการธงฟ้าประชารัฐ หรือ ช่วยขายสินค้าเกษตรและสินค้า ชุมชนได้.

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!