- Details
- Category: พาณิชย์
- Published: Thursday, 07 August 2014 23:06
- Hits: 2618
ไทยรุกค้าแอฟริกาใต้ จี้นำเข้าข้าว-ยางพารา
ไทยโพสต์ : พาณิชย์ * ไทย-แอฟริกาใต้ ตั้งเป้าเพิ่มการค้าเป็น 9,500 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 60 'พาณิชย์'จี้ นำเข้าข้าว-ยาง-ชิ้นส่วนยานยนต์เพิ่ม
นางนิศา ศรีสุวรนันท์ รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยภายหลังการประ ชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (JTC) ไทย-แอฟริกาใต้ ระดับเจ้า หน้าที่อาวุโส ว่า ไทยและแอฟริ กาใต้ตั้งเป้าที่จะขยายการค้า 2 ฝ่าย ให้ได้ 9,500 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2560 และตั้งเป้าจะขยาย การลงทุนระหว่างกันให้มากขึ้น โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ของไทยประสบความสำเร็จในการจัดทำร่าง MOU ส่งเสริมการลงทุนร่วมกันกับ Trade and Investment South Africa (TIISA) และตั้งเป้าให้มีการลงนามในเดือน ต.ค.2557
ด้านการขยายการค้า ไทยเสนอให้แอฟริกาใต้นำเข้าสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมจากไทยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะข้าว ยางพารา และชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นต้น ขณะที่แอฟริกาใต้เสนอให้ไทยร่วมมือในการพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้ากลุ่มสินค้าเกษตรแปรรูป เคมีภัณฑ์ อัญมณีและเครื่องประดับ โลหะ และชิ้นส่วนยานยนต์ ควบคู่กับการจัดกิจกรรมส่งเสริมการค้าระหว่างกันอย่างต่อเนื่อง
"ทั้ง 2 ฝ่ายยังได้ตกลงที่จะเร่งรัดกระบวนการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของผลไม้สดของทั้ง 2 ประเทศ โดยเฉพาะมังคุดและลำไยของไทย และองุ่น แอปเปิลของแอฟริกาใต้ เพื่อให้สามารถนำเข้าผลไม้ได้เพิ่มมากขึ้น"นางนิศากล่าว
ทั้งนี้ ไทยเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของแอฟริกาใต้ในกลุ่มประเทศอา เซียน และแอฟริกาใต้เป็นคู่ค้าอัน ดับ 1 ของไทยในภูมิภาคแอฟริกา โดยระยะ 5 ปีที่ผ่านมา (2552-2556) การค้า 2 ฝ่ายมีมูลค่าเฉลี่ย 3,484.57 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี และไทยได้ดุลการค้ามาโดยตลอด.
พาณิชย์ ชี้ผลผลิตยางล้นฉุดราคาตกต่ำ
แนวหน้า : นางอัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ ได้กล่าวถึงสถานการณ์ราคายางพาราว่า ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2557 (ม.ค.–มิ.ย.) เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง หลังจากปรับตัวสูงสุดในช่วงต้นปี 2554 ซึ่งสะท้อนได้จากดัชนีราคาผู้ผลิตกลุ่มสินค้ายางพารา หมวดผลผลิตเกษตรกรรม ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 20.2 นอกจากนี้ สินค้ากลุ่มผลิตภัณฑ์ยางพารา (ยางแผ่นรมควัน และยางแท่ง) หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมราคาปรับลดลงเช่นกัน โดยลดลงร้อยละ 12.7
ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ราคายางพารามีแนวโน้มลดลง เนื่องจากผลผลิตยางธรรมชาติของไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และในปี 2556 มีปริมาณผลผลิตถึง 3.6 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 และปริมาณผลผลิตของไทยมีสัดส่วนสูงที่สุดในโลก
นอกจากนี้ ประเทศอื่นๆ ในอาเซียนมีสัดส่วนปริมาณผลผลิตสูงเช่นกัน ขณะที่เศรษฐกิจโลกยังฟื้นตัวช้าบางประเทศเศรษฐกิจยังคงชะลอตัวและมีความเปราะบาง นอกจากนี้ การเก็งกำไรในตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้า ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก และการขยายพื้นที่ปลูกของประเทศคู่แข่ง โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านของไทย ส่งผลต่อราคายางพาราเช่นกัน ทั้งนี้ คาดว่าราคายางพาราในตลาดโลกในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2557 ยังคงปรับตัวลดลงจากอุปทานที่เพิ่มขึ้น ขณะที่อุปสงค์มีแนวโน้มลดลง
“ภาครัฐ ภาคเอกชน และเกษตรกรจำเป็นต้องร่วมมือกัน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน อาทิ ภาครัฐควรส่งเสริมให้มีการใช้ประโยชน์ยางพาราในประเทศมากขึ้น คิดค้น พัฒนาและวิจัยเพื่อสร้างนวัตกรรมสำหรับยางพาราเพื่อเพิ่มมูลค่า โดยเฉพาะการผลิตสินค้าที่เป็นอุตสาหกรรมปลายน้ำ และเกษตรกรจะต้องปรับตัวโดยการลดต้นทุนการผลิตให้เหลือน้อยที่สุด ปลูกพืชชนิดอื่นเสริมเพื่อหารายได้เพิ่ม”