WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOCอภรด ตนตราภรณ copy copyก.พาณิชย์เชื่อสินค้าไทยยังไปได้สวยในตลาดสหรัฐฯ ระบุรถยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ อาหารแปรรูปและสินค้าอุปโภคไทยมีแนวโน้มได้ประโยชน์จากนโยบายทรัมป์

      นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เปิดเผยว่า จากการที่ตนได้มอบหมาย ให้นายประโยชน์ เพ็ญสุต อัครราชทูต (ฝ่ายการพาณิชย์) ประจำสำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ (สพต.) ณ กรุงวอชิงตัน ติดตามและวิเคราะห์เกี่ยวกับแนวโน้มการดำเนินนโยบายการค้าของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดี คนที่ 45 ของสหรัฐฯ มาเป็นระยะนั้น ล่าสุดทราบว่ามีความเป็นไปได้สูงที่นายทรัมป์จะนำมาตรการทางการค้าฝ่ายเดียว (Unilateral Trade Measures) ที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน ภายใต้กฎหมายการค้าของสหรัฐฯ มาใช้ในระดับที่เข้มงวดยิ่งขึ้น เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศ และลดปัญหาการขาดดุลการค้าของสหรัฐฯ

    โดยมีมาตรการที่สำคัญ อาทิ มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti Dumpling Duty : AD) มาตรการตอบโต้การอุดหนุน (Countervailing Duty : CVD) มาตรการตอบโต้การหลีกเลี่ยงอากรการทุ่มตลาด (Anti-Circumvention) และมาตรการปกป้อง (Safeguard) เป็นต้น สำหรับประเทศเป้าหมายและกลุ่มสินค้าที่มีความเสี่ยง นั้น พบว่า การดำเนินนโยบายการค้าในเชิงปกป้องของนายทรัมป์ ส่วนหนึ่งมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายเพื่อลดปัญหาการขาดดุลการค้าของสหรัฐฯ ซึ่งมีประเทศที่เป็นเป้าหมายหลัก ได้แก่ จีน กลุ่มประเทศ NAFTA (เม็กซิโกและแคนาดา) และญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจีน ซึ่งการนำเข้าสินค้าจากจีนคิดเป็นร้อยละ 21 ของการนำเข้าทั้งหมดของสหรัฐฯ และสหรัฐฯ ขาดดุลการค้ากับจีนสูงถึง 367.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2558

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สพต. ณ กรุงวอชิงตัน ได้มีการประเมินผลกระทบต่อการส่งออกของไทย ในส่วนของสินค้าส่งออกที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) และสินค้าอาหารแปรรูปและสินค้าอุปโภค ซึ่งเป็นสินค้าหลักที่ไทยส่งออกไปขายยังสหรัฐฯ ว่า ในส่วนของสินค้าส่งออกที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งเป็นสินค้าที่เชื่อมโยงอยู่กับการลงทุน ทั้งที่เป็นการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) และที่เป็นการรับจ้างผลิต (OEM) ซึ่งหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักของไทยในกลุ่มนี้ ได้แก่ รถยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ นั้น คาดว่าไทยน่าจะได้รับประโยชน์ในการส่งออกมายังสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น เนื่องจากสหรัฐฯ พึ่งพาการนำเข้าสินค้ารถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ในสัดส่วนที่สูงกว่าการส่งออกสินค้าดังกล่าว สำหรับในส่วนของสินค้าอาหารแปรรูปและสินค้าอุปโภค เช่น อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ผลไม้กระป๋องและแปรรูป กุ้งแช่เย็นแช่แข็ง ผลิตภัณฑ์ยาง อัญมณีและเครื่องประดับ และเครื่องนุ่งห่ม นั้น คาดว่าจะมีการส่งออกไปสหรัฐฯ ได้เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากสินค้าต่างๆ เหล่านี้ เป็นสินค้าสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้บริโภคที่มีรายได้ปานกลาง ซึ่งสอดรับกับนโยบายของนายทรัมป์ที่จะผลักดันให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยายตัวในอัตราร้อยละ 4 และเพิ่มการจ้างงานอีกจำนวน 25 ล้านคน โดยเฉพาะในเขตนอกเมืองเพื่อยกระดับรายได้และสถานะทางเศรษฐกิจของชนชั้นกลางของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

  อนึ่ง มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ในปี 2559 อยู่ที่ 1,286,173.75 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 0.22 แยกเป็นการส่งออก 858,223.73 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 5.78 และการนำเข้า 427,950.02 ล้านบาท  ลดลงร้อยละ 9.34 โดยไทยเป็นฝ่ายเกินดุลการค้า 430,273.71 ล้านบาท

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!