WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOCพมพชนก วอนขอพรก.พาณิชย์เผยเงินเฟ้อทั่วไป พ.ย.59 อยู่ที่ 0.60% เฟ้อพื้นฐานที่ 0.72% คงกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อปีนี้ที่ 0-1%

   กระทรวงพาณิชย์ เผยเงินเฟ้อทั่วไป พ.ย.59 เพิ่มขึ้น มาอยู่ที่ 0.60% ส่งผล 11 เดือนเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 0.10% ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐาน พ.ย.59 เพิ่มขึ้นอยุ่ที่ 0.72% และ 11 เดือนที่ 0.74% พร้อมคงกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อปีนี้ที่ 0-1% ส่วนปีหน้าคาดอยู่ที่ 1.5-2 ประเมินการขึ้นค่าแรงขึ้นต่ำ ทำให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น 0.2-0.35%

   นางสาวพิมพ์ชนก วอนขอพร รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเดือนพ.ย. 59 อยู่ที่ 106.79  ลดลง 0.06% จากเดือนต.ค. อยู่ที่ 106.85 มาจากหมวดพาหนะ ขนส่งและการสื่อสาร ลดลง 0.23% หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ราคาลดลง 0.04% หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล ลดลง 0.02% ขณะที่หมวดเครื่องนุ่งห่ม และรองเท้า ราคาปรับสูงขึ้น 0.01% และหมวดเคหะสถานสูงขึ้น 0.04%

     ขณะที่เมื่อเทียบจากปีก่อนหน้า เพิ่มขึ้น 0.60% เนื่องจากได้รับผลกระทบหลักจากหมวดยาสูบและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลช์ สูงขึ้น 12.94% หมวดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์สูงขึ้น 1.49% หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล สูงขึ้น 0.58% หมวดการบันเทิง สูงขึ้น 0.49% หมวดพาหนะขนส่งและการสื่อสาร สูงขึ้น 0.46% หมวดเครื่องนุ่งห่ม และรองเท้า สูงขึ้น 0.19% ขณะที่ราคาสินค้าและบริการในหมวดเคหะสถานลดลง 1.16%

    ทั้งนี้ ส่งผลให้เงินเฟ้อทั่วไป  11 เดือนสูงขึ้น 0.10% โดยได้รับอิทธิพลมาจากการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าและบริการ ในหมวดยาสูบและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้น 11.96% หมวดอาหาร และเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้น 1.63% หมวดบันเทิง การอ่าน การศึกษาและศาสนา สูงขึ้น 0.82% หมวดการตรวจรักษาและบริการ ส่วนบุคคล สูงขึ้น 0.82% หมวดเครื่องนุ่งและรองเท้า สูงขึ้่น 0.42%

    ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน เดือนพ.ย. อยู่ที่ 106.89 เพิ่มขึ้น จากเดือนก่อนหน้า ที่ 0.03% แต่ถ้าหากเทียบจากปีก่อนหน้า เพิ่มขึ้น 0.72% ส่งผลให้ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน 11 เดือน อยู่ที่ 0.74%

    "ปีนี้เรายังกรอบเงินเฟ้อไว้ที่ 0-1% แต่จากการที่เงินเฟ้อในเดือนพ.ย. ที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น 0.6% นั้น เพิ่มขึ้นสูงสุดรอบ 23 เดือน โดยเหตุผลจากช่วงปลายปีราคาน้ำมันได้ปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เงินเฟ้อช่วงเดือนพ.ย. และธ.ค. ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า"

    สำหรับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปีหน้า คาดขยายตัวที่ 1.5-2% ต่อปี โดยสมมติฐานการขยายตัวเศรษฐกิจประเทศไทย จะขยายตัวที่ 3-3.5% ถือว่าขยายตัวต่อเนื่องจากปีนี้ โดยการขยายตัวทางเศรษฐกิจมีปัจจัยสนับสนุนเช่น การใช้จ่ายครัวเรือน การผลิตและรายได้เกษตรกรที่ปรับตัวดีขึ้น การใช้จ่ายและการลงทุนโครงการภาครัฐ การขนส่งสินค้าและบริการสูงขึ้น ซึ่งมีทิศทางเป็นบวกที่จะสนับสนุนการเติบโตเศรษฐกิจในภาพรวม

    กระทรวงพาณิชย์ ยังประเมินราคาน้ำมันดิบดูไบปี 60 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากปีนี้ โดยคาดว่าความต้องการน้ำมันทั่วโลกจะสูงขึ้นประมาณ 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวันตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้อุปสงค์และอุปทานในตลาดน้ำมันโลก มีความสมดุลมากขึ้น จากการควบคุมกำลังการผลิตของกลุ่มโอเปคทำให้ความผันผวนของราคาลดลง ทำให้คาดการณ์ว่าราคาน้ำมันดิบดูไบจะอยู่ในช่วง 45-55 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนอัตราแลกเปลี่ยนปี 60 คาดการณ์จะอยู่ในกรอบ 35.50-37.50 บาทต่อดอลลาร์ ถือว่ายังมีแนวโน้มอ่อนค่าจากแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ และการดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายในประเทศ

    ส่วนกรณีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจะมีผลต่อเงินเฟ้อในปีหน้าเพิ่มสูงขึ้น 0.2-0.35% โดยค่าแรงจะมีการปรับขึ้นเฉลี่ย 3-10% ซึ่งแต่ละจังหวัดก็จะมีการปรับไม่เท่ากัน เป็นประเด็นและปัจจัยสำคัญที่กระทรวงพาณิชย์ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด"

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!