WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Gวบลยลกษณ รวมรกษ ก.พาณิชย์ ให้ความมั่นใจเรื่องการลักลอบนำเข้าข้าวจากประเทศเพื่อนบ้าน หลังมีกฎหมายคุ้มกัน 4 ฉบับ

     นางสาววิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ให้ความมั่นใจในการควบคุมการลักลอบนำเข้าข้าวซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลักลอบนำเข้าข้าวเปลือกตามตะเข็บชายแดน ซึ่งส่งผลกระทบและสร้างความเสียหายต่อเกษตรกรชาวไทย โดยเฉพาะ อย่างยิ่งการนำเข้าข้าวเปลือกซึ่งอาจมีโรคพืชติดมา ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อการทำนาของชาวไทยอย่างมาก   

ปัจจุบัน มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าวอยู่ 4 ฉบับคือ

      1. ประกาศ สกกร. (ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ) ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2559 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการขออนุญาต การอนุญาตแบบหนังสืออนุญาต และวิธีการขนย้ายข้าวเปลือก ข้าวสาร ลงวันที่ 26 มกราคม 2559 (ควบคุมรถ)

     2. ระเบียบกระทรวงพาณิชย์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออกหนังสือรับรองแสดงการได้รับสิทธิชำระภาษีในโควตาตามพันธกรณีตามความตกลงการเกษตรภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) สำหรับสินค้าข้าว ปี 2559 พ.ศ.2558 (ใช้ขออนุญาตในการนำเข้าข้าว ทั้งนี้ผู้ที่ลักลอบการนำเข้าจะเป็นผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายนี้)

   3. การควบคุมตรวจสอบเรื่องการควบคุมโรค ตามพระราชบัญญัติกักพืช ของกรมวิชาการเกษตร

    4. การนำเข้าสินค้าตามกฎหมายศุลกากร

ทั้งนี้ ที่ เกี่ยวข้องกับกระทรวงพาณิชย์ มี 2ฉบับ คือ ข้อ 1 และข้อ 2

    เนื่องจากข้าวเป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาตนำเข้ากับกรมการค้าต่างประเทศ ตามระเบียบกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งจะมีการกำหนดโควตาให้กับผู้ประกอบการทุกปี โดยผู้ที่ได้รับโควตาจะเสียภาษีนำเข้าในอัตราที่ต่ำกว่ามาก เมื่อเทียบกับผู้ที่นำเข้านอกโควตา (ภาษีในโควตาร้อยละ 30 นอกโควตาร้อยละ 52)  ทั้งนี้ การขอโควตา จะเป็นไปตามที่ประกาศกำหนด คือ ผู้นำเข้าต้องเป็นนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการค้าข้าวและได้รับใบอนุญาตประกอบการค้าข้าวจากกรรมการค้าภายใน เว้นแต่เป็นการนำเข้าที่ไม่เกิน 50 ตัน ไม่ต้องแสดงหลักฐานใบอนุญาตประกอบการค้าข้าว  การยื่นคำร้องขอให้ออกหนังสือรับรองตามที่กรมการค้าต่างประเทศกำหนด ผู้นำเข้าต้องแสดงใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า และต้องมีใบรับรองตรวจโรคพืชที่ออกโดยกรมวิชาการเกษตร  การนำเข้าผ่านด่านชายแดนจะนำเข้าได้เฉพาะจุดผ่านแดนถาวรเท่านั้น หน่วยงานที่กำกับดูแลคือ กรมศุลกากร

             การขนย้ายออกนอกพื้นที่จำนวนเกินกว่า 10 ตันจะต้องปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (สกกร.) คือต้องมีเอกสารกำกับสินค้าถูกต้องเพื่อใช้ประกอบการขนย้าย  การตรวจสอบการขนย้าย จะเป็นอำนาจของฝ่ายความมั่นคงในการกำกับดูแล เช่นการตั้งด่านตรวจ

          การลักลอบนำเข้าข้าวนั้น เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ตามกฎหมายศุลกากร  มาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469  ให้ปรับสี่เท่าของราคาของรวมค่าอากร หรือจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือทั้งปรับทั้งจำ

เงื่อนไขในการขนย้าย

   1) เมื่อได้รับอนุญาตการขนย้ายแล้วต้องดำเนินการขนย้ายข้าวเปลือก หรือข้าวสารให้ตรงตามชนิด คุณภาพ ปริมาณระยะเวลา สถานที่ และใช้ยานพาหนะที่มีหมายเลขทะเบียนตามที่ระบุไว้ในหนังสืออนุญาตขนย้าย

   2) การขนย้ายทุกครั้งต้องมีหนังสืออนุญาตการขนย้าย กำกับติดไปกับยานพาหนะที่ขนย้ายด้วยทุกครั้ง

   3) ห้ามทำการแก้ไขตัวอักษร ตัวเลข หรือเครื่องหมายใดๆ ในหนังสืออนุญาตทั้งสิ้น

   4) เมื่อได้ขนย้ายถึงปลายทางแล้ว ให้ผู้ขับขี่ หรือผู้ควบคุมยานพาหนะ ส่งมอบต้นฉบับหนังสืออนุญาตฉบับสีขาว ให้ผู้รับข้าวเปลือก หรือข้าวสาร ตามที่ระบุไว้ในหนังสืออนุญาตการขนย้ายเพื่อสลักหลังรับข้าวเปลือก หรือข้าวสาร และให้ผู้ขออนุญาตขนย้ายข้าวเปลือก หรือข้าวสาร มีหน้าที่ดำเนินการ เพื่อให้มีการนำส่งต้นฉบับหนังสืออนุญาตฉบับสีขาวที่มีลายมือชื่อผู้รับสินค้าสลักหลังในหนังสืออนุญาตขนย้ายดังกล่าวส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานพาณิชย์จังหวัดหรือสำนักงานคณะกรรมการกลางว่า ด้วยราคาสินค้าและบริการ ซึ่งเป็นสถานที่ปลายทาง ภายใน 7 วัน นับตั้งแต่เวลาที่ได้ขนย้ายถึงปลายทางแล้ว

   5) กรณีฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท ทั้งจำทั้งปรับ

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!