WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOCอภรด ตนตราภรณพาณิชย์ มั่นใจไทยยังครองส่วนแบ่งการตลาดข้าวหอมมะลิอันดับ 1 ในตลาดฮ่องกง

    นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รมว.พาณิชย์ คาดว่าทั้งปีไทยจะสามารถครองแชมป์ส่วนแบ่งการตลาดข้าวในฮ่องกงได้เป็นอันดับ 1 อย่างแน่นอน โดยจะมีปริมาณนำเข้า 195,000 ตันเพิ่มขึ้น 8% จากปี 58 ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ หลังจากในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ ฮ่องกงนำเข้าข้าวจากไทยแล้วปริมาณ 146,197 ตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีปริมาณ 140,886 ตัน หรือเพิ่มขึ้น 3.77% โดยไทยสามารถครองส่วนแบ่งตลาดข้าวเป็นอันดับ 1 ในฮ่องกงคิดเป็นสัดส่วนเกือบ 60% ของการนำเข้าทั้งหมด ซึ่งถือเป็นสัญญาณเชิงบวกที่แสดงให้เห็นว่า ฮ่องกงมีความเชื่อมั่นในข้าวไทยเหนือคู่แข่งและให้การสนับสนุนนำเข้าข้าวไทยอย่างต่อเนื่อง

     อีกทั้ง จากการร่วมหารือกับคณะผู้นำเข้าข้าวรายสำคัญฮ่องกงกว่า 30 ราย ซึ่งมีสัดส่วนการนำเข้ารวมกันมากกว่า 80% ในงานโครงการจับคู่เจรจาธุรกิจ (Business Matching) สินค้าข้าวหอมมะลิไทย ผลิตภัณฑ์ข้าว และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เมื่อวันที่ 13-16 พ.ย. ที่ผ่านมา ได้หารือร่วมกันในประเด็นสำคัญเกี่ยวกับสถานการณ์การค้าข้าวไทย-ฮ่องกง และมาตรฐานข้าวฉบับใหม่ของไทยที่จะช่วยอำนวยความสะดวกทางการค้าและส่งเสริมการส่งออกให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้ากับประเทศคู่แข่งและสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคทุกกลุ่ม

     "ได้ขอฮ่องกงสนับสนุนนำเข้าข้าวหอมมะลิไทยเพิ่มมากขึ้นโดยในปีการผลิต 2559/2560 ไทยมีปริมาณน้ำฝนมากทำให้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้นเพียงพอต่อการส่งออกตามคำสั่งซื้อตลาดต่างประเทศประกอบกับราคาข้าวหอมมะลิไทยอยู่ในระดับที่สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นได้ ที่สำคัญข้าวไทยมีคุณภาพดีเป็นที่ยอมรับผู้นำเข้าข้าวฮ่องกงมากกว่าข้าวของคู่แข่ง ซึ่งปัจจุบันตลาดฮ่องกงมีแนวโน้มการบริโภคข้าวของคนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจคุณภาพมากขึ้น จึงขอให้ฮ่องกงนำเข้าข้าวไทยชนิดอื่น ๆ เพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ข้าวสังข์หยด และข้าวกล้อง เป็นต้น เพื่อรองรับตลาดกลุ่มดังกล่าว" นางอภิรดี กล่าว

       นอกจากนี้ คณะผู้นำเข้าข้าวฮ่องกงเดินทางมาครั้งนี้มีโอกาสเข้ารับฟังกระบวนการตรวจสอบรับรองคุณภาพมาตรฐานข้าวหอมมะลิไทยและกระบวนการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการคัดข้าวในเบื้องต้นของกรมการค้าต่างประเทศ และเยี่ยมศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน โดยผู้นำเข้าฮ่องกงได้ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ทำให้ได้รับความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง และเชื่อมั่นในการผลิต คุณภาพและมาตรฐานข้าวหอมมะลิไทยเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งได้เข้าเยี่ยมชมกระบวนการผลิตสินค้าที่ใช้นวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ข้าว ณ บริษัท โรงเส้นหมี่ชอเฮง จำกัด และบริษัท นำเชา (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งถือเป็นโอกาสอันดีในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ผู้นำเข้าข้าวฮ่องกงได้รับทราบว่า วันนี้...ข้าวไทยได้ผสาน  เข้ากับนวัตกรรมขั้นสูงและงานวิจัยพัฒนาต่างๆ จนนำมาซึ่งผลิตภัณฑ์ต่างๆ เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับข้าวไทย และยังช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคทั่วโลกที่มีความหลากหลาย

รมว.พาณิชย์ แนะผู้ส่งออกไทยมุ่งเจาะตลาดข้าวหอมมะลิในมณฑลเสฉวนหลังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

    นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า สถานการณ์ตลาดข้าวไทยในจีน โดยเฉพาะการบริโภคข้าวไทยของชาวเสฉวน นิยมบริโภคข้าวไทยมากขึ้นและมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวหอมมะลิไทย อีกทั้งปัจจุบัน ผู้นำเข้าข้าวในมณฑลเสฉวนยังมีจำนวนน้อยมาก ทำให้การแข่งขันในตลาดยังไม่รุนแรงเช่น ตลาดทางจีนตอนใต้และจีนตะวันออก จึงนับเป็นโอกาสที่ดีต่อนักลงทุนและผู้ส่งออกไทยที่ต้องการเข้ามาเจาะ ตลาดข้าวในมณฑลเสฉวน

     สำหรับ การนำเข้าข้าวไทยของจีน พบว่า ระหว่าง ปี 52-54 จีนมีการนำเข้าข้าวไทยมากเป็นอันดับหนึ่ง มาโดยตลอด จนกระทั่งปี 55 จีนนำเข้าข้าวไทยลดลง ตามลำดับจนไทยตกอยู่ในลำดับที่สามต่อจากเวียดนาม และปากีสถาน ในปี 59 ระหว่างเดือนมกราคม-มิถุนายน การนำเข้าข้าวไทยของจีนอยู่ในทิศทางที่ดีขึ้น โดยจีนได้นำเข้าข้าวจากไทยจำนวน 529,500 ตัน ขยายตัวเพิ่มขึ้น 52.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นสัดส่วน 26.6% ของปริมาณการนำเข้าข้าวทั้งหมดของจีน ซึ่งมากเป็นอันดับที่ 2 รองจากเวียดนามที่ได้ส่งออกข้าวมาจีนถึง 855,900 ตัน คิดเป็นสัดส่วน 42.9% ของปริมาณการนำเข้าข้าวทั้งหมดของจีน โดยสาเหตุหลักที่จีนนำเข้าข้าวจากเวียดนามมากกว่าข้าวไทย เนื่องจากปัญหาราคาข้าวไทยสูงกว่าเวียดนาม

    อย่างไรก็ตาม ในภาพรวมชาวจีนยังเห็นว่าข้าวไทยเป็นข้าวที่มีคุณภาพสูง ทำให้เป็นที่นิยมของผู้ที่มีรายได้ปานกลาง-สูง และผู้ที่นิยมของดีมีคุณภาพ การบริโภคข้าวไทยของชาวเสฉวน ชาวเสฉวนนิยมบริโภคข้าวไทยมากขึ้นและมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวหอมมะลิไทย

      อีกทั้ง ขณะนี้กรมส่งเสริมการค้าต่างประเทศได้ออกมาตรฐานข้าวหอมมะลิ เพื่อให้เกิดความชัดเจนและสร้างความเข้าใจให้ผู้นำเข้าและผู้บริโภคต่างประเทศ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ (1.) ข้าวหอมมะลิไทย (THAI HOM MALI RICE) กำหนดให้มีข้าวหอมมะลิไทยไม่น้อยกว่า 92% (2.) ข้าวหอมไทย (THAI JASMINE RICE หรือTHAI FRAGRANT RICE หรือ THAI AROMATIC RICE) มีข้าวหอมไทยไม่น้อยกว่า 80% มีอมิโลสไม่เกิน 20% (3.) ข้าวหอมที่มีเงื่อนไขแตกต่างจากมาตรฐานที่กำหนดไว้ข้างต้น

    อินโฟเควสท์

นบข.ไฟเขียวโครงการสินเชื่อชะลอขายข้าวเหนียวตันละ 13,000 บ. ชงครม.สัปดาห์หน้า

     นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รมว.พาณิชย์ ระบุว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) เตรียมเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในสัปดาห์หน้าในโครงการสินเชื่อเพื่อชะลอการขายข้าวนาปี ปีการผลิต 59/60 ในกรณีของข้าวเหนียว โดย เกษตรกรจะได้รับเงินทั้งหมด 13,000 บาท แบ่งเป็น วงเงินสินเชื่อ 9,500 บาทต่อตัน ค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว 2,000 บาทต่อตัน และค่าเก็บรักษาข้าวเหนียวในยุ้งฉาง 1,500 บาทต่อตัน แต่หากเกษตรไม่ต้องการเก็บรักษาข้าวเหนียวในยุ้งฉางจะได้รับเงิน 11,500 บาท โดยกำหนดรายละไม่เกิน 15 ไร่ โดยราคาตลาดขณะนี้อยู่ที่ 10,500-10,600 บาทต่อตัน

    สำหรับ ข้าวเหนียวจะเริ่มเก็บเกี่ยวได้ในเดือนธันวาคมนี้ และหลักเกณฑ์ความช่วยเหลือเป็นกรอบเดียวกันกับการช่วยเหลือเกษตรกรที่ปลูกข้าวเปลือก ทำให้เกษตรคนใดที่ปลูกข้าวทั้งสองชนิดและเข้าร่วมโครงการในส่วนของข้าวหอมมะลิไปแล้ว จะไม่ได้รับค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว 2,000 บาทต่อตัน

     นอกจากนี้ ที่ประชุมฯยังมีมติขยายระยะเวลาโครงการสินเชื่อเพื่อชะลอการขายข้าวนาปี ปีการผลิต 59/60 สำหรับเกษตรภาคใต้ จากเดิมสิ้นสุดโครงการในเดือนกุมภาพันธ์เป็นเดือนกรกฏาคม ส่วนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางยังเป็นไปตามกำหนดเดิม

     ด้านพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงมติ นบข.ที่เห็นชอบการช่วยเหลือเกษตรกรที่ปลูกข้าวเหนียว โดยมาตรการชะลอการขายการขายโดยเก็บไว้ในยุ้งฉาง โดยกำหนดราคาช่วยเหลือให้เท่ากับการช่วยเหลือเกษตรกรที่ปลูกข้าวหอมมะลิ

     "ก่อนหน้านี้ถือเป็นการดูดซับข้าวจากตลาดโดยที่รัฐบาลไม่ต้องรับภาระในการเก็บรักษาข้าว ซึ่งไม่เหมือนกับการรับจำนำข้าวที่รัฐบาลต้องรับจำนำทุกเมล็ดไม่ให้เป็นภาระและเมื่อถึงเวลาก็สามารถนำข้าวที่เข้าโครงการออกมาจำหน่ายโดยไม่กระทบต่อตลาดข้าว...หวังว่าต่อจากนี้ราคาข้าวจะไม่ตกลงไปมากกว่านี้ ซึ่งการดูแลราคาข้าวและผลผลิตทางการเกษตรอื่นๆจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย"

     นายกรัฐมนตรี กล่าวต่อว่า ในส่วนของเกษตรกรจะต้องปรับตัว โดยใช้ความรู้และเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนช่วยทั้งการผลิตและการ จัดจำหน่าย ซึ่งขณะนี้รัฐบาลได้ดำเนินการให้ข้อมูล e-Government และส่งเสริมการขายแบบ e-Commerce เพื่อให้เกษตรก้าวสู่การเป็นสมาร์ทฟาร์เมอร์ (Smart-farmer) และถือเป็นการรองรับการเชื่อมโยงเครือข่ายทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่

    ด้านน.ส.วิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กรมการค้าต่างประเทศประเมินว่า การส่งออกข้าวในปีนี้จะเป็นตามเป้าที่วางไว้ที่ปริมาณ 9.5 ล้านตันข้าวสาร ซึ่งในขณะนี้สามารถส่งออกข้าวได้แล้ว 8.7 ล้านตันข้าวสาร นอกจากนี้ ทางประเทศฟิลิปปินส์ จะมีเปิดประมูลข้าวรอบใหม่ในช่วงปลายปีนี้ในปริมาณ 2 แสนตัน ซึ่งไทยก็พร้อมเข้าร่วมการประมูลในครั้งนี้ในรูปแบบภาคเอกชนเข้าร่วมประมูล

              อินโฟเควสท์

คลอด'มาตรฐานหอมมะลิ'มีผล 20 ธ.ค.นี้

    ไทยโพสต์ : นนทบุรี * พาณิชย์คาด มาตร ฐานข้าวหอมมะลิฉบับใหม่ มีผลบังคับใช้ 20 ธ.ค.นี้ แบ่งเป็น 3 เกรด ตีตลาดได้ทุกระดับ มั่นใจช่วยให้ข้าวหอมมะลิไทยแข่งขันได้ดีขึ้น

    นางดวงพร รอดพยาธิ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมได้จัดทำมาตร ฐานสินค้าข้าวฉบับใหม่เสร็จแล้ว โดยได้ปรับปรุงมาตร ฐานเพื่อให้สอดคล้องกับสถาน การณ์การค้าข้าวของโลกในปัจจุบัน และเพื่อช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ส่งออกของไทยที่จะต้องแข่งขันกับการส่งออกข้าวของประเทศคู่แข่ง รวมทั้งตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่หลากหลายขึ้น หลังจากที่มาตรฐานเดิมได้บังคับใช้มาตั้งแต่ปี 2540 โดยคาดว่ามาตรฐานใหม่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 20 ธ.ค.2559 นี้

   สำหรับ มาตรฐานข้าวฉบับใหม่ ได้จัดลำดับข้าวออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มตลาดระดับบน คือ กลุ่มผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อสูง ต้องการบริโภค ข้าวที่มีคุณภาพ ได้มีการปรับ ปรุงมาตรฐานข้าวหอมมะลิไทย เพื่อให้เกิดเอกลักษณ์ในความเป็นข้าวหอมชั้นเลิศของไทย โดยกำหนดให้มีข้าวหอมมะลิไทยสัดส่วนไม่น้อยกว่า 92% และใช้ชื่อภาษาไทยว่า "ข้าวหอมมะลิไทย" ใช้ ชื่อภาษาอังกฤษว่า "THAI HOM MALI RICE"

    กลุ่มตลาดระดับกลาง คือ กลุ่มผู้บริโภคที่ต้องการข้าวเกรดรองจากข้าวหอมมะลิไทย ซึ่งมีราคาต่ำกว่าข้าว หอมมะลิไทย โดยได้กำหนดมาตรฐานสินค้าข้าวหอมไทยฉบับใหม่ เพื่อเป็น Fighting Brand ในการแข่งขันทาง การค้ากับประเทศคู่แข่ง เช่น เวียดนาม กัมพูชา และเป็น การส่งเสริมการวิจัยข้าวหอมพันธุ์ใหม่ๆ ของกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ ให้สามารถส่งออกได้มาตรฐานสินค้าข้าวหอมไทยนี้

     โดยจะมีข้าวหอมไทยไม่น้อยกว่าสัดส่วน 80% มีอมิโลสไม่เกิน 20% ใช้ชื่อภาษาไทยว่า 'ข้าวหอมไทย' และใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า THAI JASMINE RICE หรือ THAI FRAGRANT RICE หรือ THAI AROMATIC RICE

    ส่วนกลุ่มตลาดระดับล่าง เป็นการเปิดช่องทางการส่งออกข้าว กรณีที่ผู้ซื้อต่างประ เทศต้องการบริโภคข้าวหอมที่มีเงื่อนไขแตกต่างจากมาตร ฐานที่กำหนดไว้ข้างต้นดังกล่าว ซึ่งผู้ซื้อสามารถซื้อข้าวหอมผสมในรูปของข้าวตามตัวอย่างภายใต้มาตรฐานสินค้าข้าวที่ได้ปรับปรุงใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับสถาน การณ์การค้า การผลิต และการส่งออกข้าวในปัจจุบันได้

     นางดวงพร กล่าวว่า แนวโน้มการขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) ในช่วงไตรมาสสุดท้ายปีนี้ กรมกำลังติดตามการนำเข้าข้าวของฟิลิปปินส์ ที่คาดว่าจะมีการเปิดประมูลนำเข้าข้าวในช่วงปลายปีอีกประมาณ 3-5 แสนตัน โดยเชื่อว่าขณะนี้ราคาข้าวไทยปรับตัวลงมา และคาดว่าจะ ถึงระดับต่ำสุดแล้ว จะสามารถ ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางด้านราคาให้กับไทยได้

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!