- Details
- Category: พาณิชย์
- Published: Sunday, 13 November 2016 14:51
- Hits: 18138
รมว.พาณิชย์ เผย 9 เดือนไทยส่งออกข้าวหอมมะลิเพิ่มขึ้น 20% ยังครองส่วนแบ่งการตลาดในหลายปท.
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รมว.พาณิชย์ กล่าวสถานการณ์ส่งออกข้าวหอมมะลิไทยว่า ไทยส่งออกข้าวหอมมะลิไทยเฉลี่ยปีละ 1.4 ล้านตัน โดยช่วง 9 เดือนแรกของปี 2559 (ม.ค.-ก.ย.) ไทยส่งออกข้าวหอมมะลิไทยปริมาณ 1.68 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2558 ที่มีปริมาณส่งออก 1.40 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้น 20% ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง จีน สิงคโปร์ และแคนาดา
โดยไทยยังสามารถครองส่วนแบ่งตลาดข้าวเป็นอันดับหนึ่งในหลายประเทศ เช่น ฮ่องกงนำเข้าข้าวไทย ในปี 2559 (ม.ค.-ก.ย.) ปริมาณ 1.5 แสนตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาที่มีปริมาณ 1.41 แสนตัน หรือเพิ่มขึ้น 3.77% และมีสัดส่วนการตลาดเป็นอันดับหนึ่งที่ 59% ของปริมาณนำเข้าทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีตลาดสหรัฐฯ และสิงคโปร์ ที่ข้าวไทยสามารถครองส่วนแบ่งตลาดอันดับหนึ่งที่ 60% และ 38% ตามลำดับ
รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า ในปี 2559 กรมการค้าต่างประเทศได้ดำเนินการปรับปรุงมาตรฐานข้าวไทยใหม่ให้เหมาะสม ชัดเจน สอดคล้องกับผู้บริโภคในต่างประเทศ โดยแยกเป็นมาตรฐานข้าวหอมมะลิไทย และข้าวหอมทั่วไป ซึ่งประกอบด้วย ข้าวหอมจังหวัด และข้าวหอมปทุม และได้เร่งจัดกิจกรรมขยายตลาดส่งออกข้าวหอมมะลิไทยในตลาดสำคัญอย่างต่อเนื่องพร้อมๆ ไปกับการสร้างองค์ความรู้ให้เกษตรกร เพื่อปลูกข้าวคุณภาพดี และขยายช่องทางการตลาดผ่านช่องทางปกติ และ online การจัดคณะเดินทางเยือนฮ่องกงและสิงคโปร์เพื่อเจรจาขยายตลาดและกระชับความสัมพันธ์ทางการค้า และเชิญผู้นำเข้าข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าว และมันสำปะหลัง สำคัญจากทั่วโลกเข้าร่วมงานจับคู่เจรจาธุรกิจการค้า (Business Matching) ในระหว่างวันที่ 13-16 พฤศจิกายน 2559 ซึ่งคาดว่าจะมีการทำสัญญาซื้อขายมูลค่ารวมกว่า 60,000 ล้านบาท รวมทั้ง และในปี 2560 มีกำหนดเข้าร่วมงานแสดงสินค้าสำคัญ เพื่อส่งเสริมประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทย เช่น งาน Food Fiesta ฮ่องกง งาน Biofach เยอรมนี งาน Gulfood ดูไบ งาน Foodex ญี่ปุ่น งาน Summer Fancy Food งาน Natural Products Expo ที่สหรัฐฯ และงาน China-ASEAN Expo จีน รวมทั้งการจัดงานระดับนานาชาติในประเทศไทย เช่น งาน THAIFEX World of Food งาน Biofach ASEAN/Organic and Natural Expo เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมกระตุ้นการบริโภคข้าวหอมมะลิไทยร่วมกับร้านอาหาร/ซุปเปอร์มาร์เก็ต/ภัตตาคาร/โรงแรมในตลาดต่างประเทศ อย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี
ทั้งนี้ จากสถานการณ์ผลผลิตธัญพืชหลากหลายชนิดของโลกรวมทั้งข้าวมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นส่งผลให้ราคาลดลงประกอบกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่ซบเซาและ ขาดกำลังซื้อ เนื่องจากสภาพคล่องทางการเงิน แต่ถือเป็นโอกาสดีทางการตลาดของข้าวหอมมะลิไทยจะสามารถแข่งขันกับข้าวหอมจากประเทศคู่แข่งสำคัญ เช่น เวียดนามและกัมพูชาได้เพิ่มมากขึ้น และมั่นใจว่าข้าวหอมมะลิไทยยังคงเป็นต้องการของตลาดต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยข้าวหอมมะลิไทยมีคุณภาพและเอกลักษณ์ที่โดดเด่นเหนือคู่แข่ง และจะยังคงสามารถส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับหนึ่งในต่างประเทศได้ต่อไป
รมว.พาณิชย์ ยังชี้แจงกรณีมีข่าวไทยสูญเสียตลาดข้าวในออสเตรเลียว่า ไม่เป็นความจริง ขาดข้อมูลที่ถูกต้องทำให้เกิดความเข้าใจผิด ซึ่งตามข้อเท็จจริงนั้นออสเตรเลียผลิตข้าวได้ประมาณ 900,000 ตันต่อปี แบ่งเป็น การผลิตเพื่อส่งออก 85% และจำหน่ายในประเทศ 15% ซึ่งไม่เพียงพอต่อการบริโภคในประเทศ ต้องพึ่งพาการนำเข้า โดยออสเตรเลียนำเข้าข้าวจากไทยเป็นอันดับหนึ่งถึง 47% ของการนำเข้าข้าวทั้งหมด ในช่วง 9 เดือนแรก (ม.ค.-ก.ย.) ของปี 2559 ออสเตรเลียนำเข้าข้าวจากไทยปริมาณ 54,437 ตัน เพิ่มขึ้น 2.08% ขณะที่นำเข้าข้าวจากเวียดนามเป็นอันดับสองในปริมาณ 6,868 ตันหรือคิดเป็น 5.9%
สำหรับ ข้าวไทยส่วนใหญ่วางจำหน่ายในซุปเปอร์มาร์เก็ตของออสเตรเลียในรูปแบบของ Home Brand หรือ แบรนด์ของห้างเอง เช่น แบรนด์ของห้าง Coles แบรนด์ Select ของห้าง Woolworths แบรนด์ Black & Gold ของห้าง IGA และแบรนด์ Sunrice อย่างไรก็ตามห้าง Coles ซุปเปอร์มาร์เก็ตในบางสาขาได้วางจำหน่ายข้าวไทยแบรนด์หงษ์ทองขนาด 1 กิโลกรัมด้วย
ในส่วนของเอเชียนซุปเปอร์มาร์เก็ตทุกแห่งได้วางจำหน่ายข้าวไทยภายใต้แบรนด์ไทย เช่น ตราสิงโต ตราฉัตร ตราหงษ์ทอง เป็นต้น โดยชาวเอเชียในออสเตรเลียรู้จักข้าวไทยเป็นอย่างดี โดยเฉพาะชาวเวียดนามซึ่งนิยมบริโภคข้าวหอมมะลิไทยมาก นอกจากนี้ ยังมีสินค้าไทยรายการอื่นๆ ที่วางจำหน่ายในห้าง Coles และ Woolworths ได้แก่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เส้นก๋วยเตี๋ยว น้ำพริกแกงตราแม่ศรี น้ำจิ้มไก่แม่พลอย น้ำปลาตราปลาหมึก ข้าวโพดหวาน กะทิกระป๋อง น้ำมะพร้าว แป้งมัน แป้งข้าวเจ้า ฯลฯ
ปัจจุบันร้านอาหารไทยในออสเตรเลียมีมากกว่า 2,000 ร้าน และเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้บริโภคออสเตรเลียเป็นอันดับที่สาม รองจากร้านอาหารอิตาเลียนและร้านอาหารจีน
ในประเด็นการใช้สารเคมีนั้น ออสเตรเลียเองมีมาตรฐานการนำเข้าสินค้าอาหารที่เข้มงวดมาก ดังนั้น สินค้าอาหารไทยทุกชนิดที่เข้ามาจำหน่ายในออสเตรเลียได้ต้องผ่านเกณฑ์การตรวจสอบปริมาณสารเคมีและปลอดจากโรคพืชและสัตว์ตามมาตรฐานของ Biosecurity Australia
"กระทรวงฯ มีการกำกับดูแลการดำเนินงานของสำนักงานการค้าในต่างประเทศ มีการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมสินค้าไทยในต่างประเทศอย่างเป็นรูปธรรม มีตัวชี้วัดที่ชัดเจน และจะเดินหน้าขยายตลาดข้าวไทยในต่างประเทศต่อไป" นางอภิรดี กล่าว
อินโฟเควสท์
ฟุ้งหอมมะลิไทยรั้งที่ 1 ส่งออก
ไทยโพสต์ : นนทบุรี * พาณิชย์ย้ำ ข้าวหอมมะลิไทยยังครองส่วนแบ่งตลาดอันดับ 1 ทั้งในฮ่องกง สหรัฐ สิงคโปร์ เดินหน้าจัดกิจกรรมประ ชาสัมพันธ์ร่วมกับโรงแรม ร้านอาหาร ภัตตาคารในต่างประเทศ สร้างการรับรู้อย่างต่อเนื่อง
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยถึงสถานการณ์ส่งออกข้าวหอมมะลิไทย ว่า ในปีนี้ข้าวหอมมะลิไทยยังครองส่วนแบ่งตลาดอันดับ 1 ใน หลายประเทศ ทั้งฮ่องกง สหรัฐ สิงคโปร์ โดยในฮ่องกงช่วง เดือน ม.ค.-ก.ย.59 นำเข้าข้าวหอมมะลิไทย 150,000 ตัน เพิ่มขึ้น 3.77% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีปริมาณ 141,000 ตัน ซึ่งข้าวหอมมะลิไทยมีสัดส่วนการตลาดเป็นอันดับ 1 อยู่ที่ 59% ของปริมาณนำเข้าทั้งหมดของฮ่องกง ส่วนสหรัฐ ข้าวหอมมะลิไทยมีส่วนแบ่งตลาด 60% ของการนำเข้าข้าวรวมของสหรัฐ และสิงคโปร์ มีส่วนแบ่งตลาดที่ 38%
"แต่ละปีไทยส่งออกข้าวหอมมะลิไทยเฉลี่ยปีละ 1.4 ล้านตัน ส่วนช่วง 9 เดือนของปีนี้ ส่งออกได้แล้ว 1.68 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 20% จากช่วงเดียวกันของปี 2558 ที่ส่งออกได้ 1.40 ล้านตัน โดยตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐ ฮ่องกง จีน สิงคโปร์ และแคนาดา" นางอภิรดีกล่าว
ขณะเดียวกัน กรมการค้าต่างประเทศได้กำหนดมาตรฐานข้าวหอมมะลิใหม่ เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละตลาดให้มากขึ้น ประกอบกับราคาข้าวหอมมะลิไทยสามารถแข่งขันกับประเทศคู่แข่งได้ และกระทรวงพาณิชย์ได้จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ข้าวหอมมะลิไทยในต่างประ เทศร่วมกับร้านอาหาร ซูเปอร์มาร์เก็ต ภัตตาคาร โรงแรมในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างการรับรู้ และความเชื่อมั่นในข้าวหอมมะลิไทย
รวมถึงเข้าร่วมงานแสดงสินค้าอาหารสำคัญๆ เพื่อส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทย เช่น งาน Food Fiesta ที่ฮ่องกง, งาน Biofach ที่เยอรมนี, งาน Gulfood ที่ดูไบ, งาน Foodex ที่ญี่ปุ่น, งาน Summer Fancy Food และงาน Natural Products Expo ที่สหรัฐ และงาน China-ASEAN Expo ที่จีน อีกทั้งยังจัดงานระดับนานา ชาติในไทย เช่น งาน THAI FEX World of Food เป็นต้น จึงน่าจะทำให้ไทยส่งออกข้าวหอมมะลิไทยได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง.
พาณิชย์หวังจับคู่ขายข้าว-มันฯ 6.3 หมื่นล.
ไทยโพสต์ : นนทบุรี * พาณิชย์จัดแมตชิ่งซื้อขายข้าวและมันสำปะหลัง เพื่อระบายผลผลิตออกสู่ตลาด เชิญผู้นำเข้า 300 รายจาก 41 ประเทศเจรจาตรงกับผู้ผลิตไทย คาดยอดซื้อขายไม่ต่ำกว่า 6.3 หมื่นล้านบาท
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า กระ ทรวงพาณิชย์ได้เตรียมจัดกิจ กรรมเจรจาจับคู่ธุรกิจ (บิสสิเนส แมตชิ่ง) โดยเชิญผู้ซื้อผู้นำเข้าจากต่างประเทศประมาณ 300 ราย จาก 41 ประเทศ เดินทางเข้ามาเจรจาซื้อขายข้าวและมันสำปะหลังจากผู้ประกอบการของไทยประมาณ 100 ราย ระหว่างวันที่ 13-16 พ.ย.2559
โดยการจัดกิจกรรมครั้งนี้จะเป็นการช่วยเพิ่มช่องทางการตลาดในการระบายผลผลิตข้าว ทั้งข้าวสาร ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากข้าว มันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังที่กำลังออกสู่ตลาด ซึ่งจะช่วยผลักดันให้ราคาในประเทศปรับตัวสูงขึ้นได้
นางมาลี โชคล้ำเลิศ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า ในการจัดบิสสิเนส แมตชิ่งครั้งนี้ จะเกิดการสั่งซื้อใหม่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยเบื้องต้นคาดว่าจะมีการตกลงซื้อขายข้าวและผลิตภัณฑ์จากข้าว มันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ทั้งการซื้อขายทันทีและต่อเนื่อง รวมมูลค่าไม่ต่ำกว่า 6.3 หมื่นล้านบาท แยกเป็นการซื้อขายข้าว 2.8 หมื่นล้านบาท และมันสำปะหลัง 3.5 หมื่นล้านบาท
โดยการซื้อขายที่ได้มีการเจรจากันได้แล้ว เช่น การลงนามในสัญญาการซื้อขายข้าวหอมมะลิจำนวน 10,000 ตัน ระหว่างบริษัท CEC International Holding Limited เจ้าของซูเปอร์ มาเก็ต 759 Store มีสาขาในฮ่องกงมากกว่า 250 แห่ง กับบริษัท สยาม ไดมอน เอ็กซ์ปอร์ต ไรซ์ จำกัด
นอกจากนี้ ยังจะมีการลงนามสั่งซื้อข้าว GABA Rice จำนวน 100 ตัน ระหว่างบริษัท Kui Fat Yuen Limited ผู้นำเข้าข้าวหอมมะลิรายสำคัญของฮ่องกง กับบริษัท Bangsue Chia Meng Rice จำกัด เพื่อขยายตลาดลูกค้ารักสุขภาพ, การลงนามซื้อข้าวไรซ์เบอร์รี่และเส้นก๋วยเตี๋ยว รวม 600 ตัน ระหว่างบริษัท Dah Chong Hong Limited (DCH) ผู้นำเข้าข้าวหอมมะลิและข้าวเหนียวรายใหญ่อันดับ 2 ของฮ่องกง กับบริษัท Riceland Foods จำกัด เป็นต้น