WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOCวนจฉย แจมแจงก.พาณิชย์ เผยรัฐมนตรี RCEP เร่งสรุปผลการเจรจาประเด็นการเปิดตลาดการค้า-บริการ และการลงทุน

   ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ ร่วมประชุมรัฐมนตรีความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค สมัยพิเศษ ครั้งที่ 2 (2nd Intersessional Regional Comprehensive Economic Partnership (RCEP) Ministerial Meeting) เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2559 ณ เมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ เร่งหาข้อสรุปประเด็นการเปิดตลาดการค้าสินค้า การค้าบริการ และการลงทุน ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่จะขับเคลื่อน RCEP ให้คืบหน้าและสามารถสรุปผลได้โดยเร็ว ตามที่ผู้นำได้ประกาศเจตนารมณ์ไว้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อไทยและอาเซียนโดยรวม

    นายวินิจฉัย แจ่มแจ้ง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ หัวหน้าผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรี RCEP สมัยพิเศษ ครั้งที่ 2 เปิดเผยว่า รัฐมนตรีของทั้ง 16 ประเทศ ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการเร่งสรุปผลการเจรจาโดยเร็วที่สุด เนื่องจากเล็งเห็นถึงความสำคัญและศักยภาพของภูมิภาค RCEP โดยที่ประชุมได้รับทราบรายงานความคืบหน้าการเจรจาของคณะกรรมการเจรจาการค้าความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ (RCEP-TNC) ซึ่งมีการเจรจามาแล้ว 15 ครั้ง ครั้งล่าสุดมีการประชุมระหว่างวันที่ 1621 ตุลาคม ที่ผ่านมา ณ เมืองเทียนจิน สาธารณรัฐประชาชนจีน มีความคืบหน้าสำคัญโดยสามารถตกลงข้อบทความร่วมมือทางเศรษฐกิจเป็นข้อบทแรก ซึ่งถือเป็นการส่งสัญญาณที่ดีต่อการเจรจา

     โดยการประชุมครั้งนี้ เน้นการหารือเรื่องระดับการเปิดตลาดการค้าสินค้า การเปิดเสรีการค้าบริการและการลงทุน หลายประเทศได้เสนอท่าทียืดหยุ่นและพร้อมจะเปิดเสรีสินค้าในระดับสูงขึ้น โดยเฉพาะประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ เช่น จีน และอินเดีย ได้ระบุเป้าหมายการเปิดเสรีสินค้าที่ชัดเจน รวมถึงระยะเวลาการลด/เลิกภาษี ซึ่งสมาชิกอื่นๆจะต้องนำกลับไปพิจารณา นอกจากนี้ ที่ประชุมได้ให้แนวทางการกำหนดวิธีการและกรอบการให้ความยืดหยุ่นหรือแต้มต่อในการลดภาษีสำหรับสินค้าอ่อนไหวของสมาชิก ซึ่งคณะเจรจาระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสจะนำไปหารือกันต่อไป

   สำหรับการค้าบริการเริ่มมีสัญญาณที่ดีมากขึ้น โดยที่ประชุมได้ตกลงให้เริ่มเจรจาเรื่องการเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดาหลังจากที่ใช้เวลาในการผลักดันกันมานาน ในขณะที่สมาชิกทุกประเทศเห็นพ้องถึงความสำคัญของการลงทุนและผลักดันให้กฎเกณฑ์ที่สร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน โดยให้คำนึงความอ่อนไหวของแต่ละประเทศด้วย ที่ประชุมยังรับทราบว่าสมาชิกได้เริ่มมีการหารือในเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ และการกำหนดวินัยเพิ่มเติมสำหรับรัฐวิสาหกิจด้วย

     ทั้งนี้ รัฐมนตรีได้มอบหมายให้คณะกรรมการเจรจาการค้าเร่งเจรจา RCEP ให้มีความคืบหน้าอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะในการเจรจา RCEP-TNC ครั้งที่ 16 ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 610 ธันวาคม 2559 ณ ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าอาจสามารถตกลงข้อบทเพิ่มเติม เช่น นโยบายการเเข่งขัน และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นต้น โดยการเพิ่มเรื่องต่างๆเข้าไปใน RCEP จะส่งผลให้ RCEP มีความสมบูรณ์ไม่ต่างไปจาก TPP 

      นายวินิจฉัย กล่าวเพิ่มเติมว่า ในฐานะที่ไทยเป็นประเทศที่พึ่งพาการส่งออกค่อนข้างสูง และกำลังเผชิญกับภาวะที่เศรษฐกิจโลกมีการชะลอตัว การเจรจา RCEP จะเป็นการสร้างพันธมิตรทางการค้าขนาดใหญ่ระหว่างอาเซียน 10 ประเทศกับคู่เจรจา 6 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลี และนิวซีแลนด์ ที่มีประชากรรวมกันมากกว่า 3.5 พันล้านคน ประเทศสมาชิกมี GDP รวมกันกว่า 23 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นกว่าร้อยละ 29 ของ GDP โลก ประกอบไปด้วยประเทศสมาชิกที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ติดอันดับ 1 ใน 3 ถึง 2 ประเทศ ได้แก่ จีน และญี่ปุ่น รวมถึงประเทศสมาชิกที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับ 1 และอันดับ 2 เช่น จีน และอินเดีย ซึ่งนับเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ละแนวโน้มการเติบโตที่ดีสำหรับผู้ประกอบการไทย

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!