- Details
- Category: พาณิชย์
- Published: Thursday, 10 November 2016 09:18
- Hits: 2576
ก.พาณิชย์ จับมือเอกชนทั่วภูมิภาคทำตลาดข้าวต่อเนื่อง ทั้งโรงสีช่วยเหลือเกษตรกร-ตลาดนัดข้าวสาร และเชื่อมโยงตลาด
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่าหลังจากที่ได้สั่งการผู้บริหารกระทรวงร่วมกับพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศลงพื้นที่ เพื่อช่วยเหลือ และทำความเข้าใจเรื่องมาตรการความช่วยเหลือของรัฐบาล ได้รับทราบว่าขณะนี้ พาณิชย์จังหวัดในหลายจังหวัดได้มีการดำเนินการโดยร่วมกับเอกชน และหน่วยงานในพื้นที่ในเรื่องต่างๆดังนี้
1.โรงสีช่วยเหลือเกษตรกร : โรงสีในจังหวัดเชียงรายและจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้ให้ความร่วมมือกระทรวงพาณิชย์ ช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในภาวะที่ราคาข้าวตกต่ำ ดังนี้
โรงสีในจังหวัดเชียงราย ให้เกษตรกรมาใช้ลานตากข้าวฟรี โดย มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในการนำข้าวเข้าโครงการจำนำยุ้งฉางกับ ธกส. ขณะนี้มีโรงสีจำนวน 3 โรงสีที่ให้ความช่วยเหลือ ดังนี้ 1. โรงสีเชียงของพืชผล อ.เชียงของ ให้ลานตาก 50 ตัน/วัน 2.โรงสีพรพจน์ฯ อ.แม่สาย ให้ 50 ตัน/วัน และ 3.โรงสีสิริอินเตอร์ฯ อ.ป่าแดด ให้ 150 ตัน/วัน ซึ่งเกษตรกรที่สนใจสามารถไปลงชื่อรับคิวได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
ผู้บริหารในเครือธนสรรไรท์และโรงสี บจ. อิสเทิร์นไรท์มิลล์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ช่วยเหลือเกษตรกร ที่ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี โดยโรงสียินดีที่จะรับซื้อข้าวจากเกษตรกรในจังหวัดในราคานำตลาด ตันละ 100-200 บาทตามคุณภาพข้าว/ความชื้นและสิ่งเจือปน โดยให้สหกรณ์การเกษตรหรือ สกต.เป็นผู้รวบรวมผลผลิตจากเกษตรกรรายย่อยโดยสหกรณ์หรือ สกต.สามารถขอรับสินเชื่อจาก ธ.ก.ส. ได้ตามโครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2559/60 ทั้งนี้สหกรณ์จะได้ค่าบริหารจัดการตันละ 150 - 200 บาท
2. จัดตลาดนัดข้าวสาร/จัดจำหน่ายข้าวช่วยเหลือเกษตรกร : พาณิชย์จังหวัดร่วมกับภาคเอกชน สนับสนุน ให้พื้นที่สำหรับจำหน่ายข้าวสารจากเกษตรกรโดยตรง เป็นการช่วยเหลือเกษตรกรให้มีการกระจายผลผลิตออกไปได้มากขึ้น ซึ่งจุดจำหน่ายข้าวดังกล่าว ได้แก่ พื้นที่ในจังหวัดนนทบุรี ศรีษะเกษ เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ นครราชสีมา ร้อยเอ็ด สุรินทร์ มหาสารคาม นครสวรรค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต โดยส่วนใหญ่เป็นข้าวหอมมะลิ ข้าวกล้อง ข้าวเจ้า และข้าวไรซ์เบอร์รี่ อาทิ
จ.เพชรบูรณ์ได้จัดพื้นที่จำหน่ายข้าวสาร 'อิ่มบุญ อุ่นใจข้าวใหม่เพชรบูรณ์'จำนวน 6 จุด ระหว่างวันที่ 3-5 พย. 59 ได้แก่ 1. ห้างแม็คโคร สาขาเพชรบูรณ์ ข้าวหอมมะลิ 2. ห้างท็อปแลนด์ พลาซ่า ข้าวหอมมะลิ 3. ตลาดสดพัฒนา (โฆษิตพลาซ่า) 4. ถนนคนเดิน 5. ตลาดนัดเกษตรกร 6. หน้าพระใหญ่ สามารถช่วยเกษตรกรขายได้กว่า 200,000 บาท สามารถช่วยระบายเป็นข้าวเปลือกได้ถึง 19.185 ตัน
งาน 'ประชารัฐรักสามัคคีนนทบุรี ช่วยเหลือชาวนาไทย' ที่จัดไปแล้วเมื่อ 5-8 พฤศจิกายน 2559 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวสต์เกต จังหวัดนนทบุรี เกษตรกรขายได้กว่า 77,000 บาท
โครงการตลาดข้าวเกษตรกรเพื่อผู้บริโภค ประชารัฐศรีสะเกษส่งพลังใจให้ชาวนา ณ ลานถนน คนเดิน สถานีรถไฟศรีสะเกษ และ สถานีบริการน้ำมัน ปตท.อุทุมพรพิสัย (หน้าร้านประชารัฐ สุขใจ อุทุมพรพิสัย) โดย ข้าวสารที่นำมาจำหน่ายนี้ มี ทั้งข้าวหอมมะลิ ข้าวกล้อง ไรซ์เบอรรี่ ฯลฯ โดยจะเปิดจำหน่ายตั้งแต่เวลา 08.00 - 18.00 น. ทุกวัน
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต ให้การสนับสนุนพื้นที่สำหรับจำหน่ายข้าว สำหรับกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ยโสธร โดยจัดจำหน่ายข้าวในตลาดนัดมหาวิทยาลัย จ.-พฤ. เวลา15.00-21.30 น. โดยได้สนับสนุนที่จำหน่ายฟรีและที่พักฟรีสำหรับเกษตรกร โดยเริ่มจำหน่ายวันที่ 7 พ.ย.59 เป็นต้นไป
สำนักงานพาณิชย์จังหวัดนครสวรรค์ นครราชสีมา ร้อยเอ็ด สุรินทร์ มหาสารคาม ร่วมกับกลุ่มเกษตรกร/เกษตรกรที่ผลิตข้าวได้ตามมาตรฐาน GAP ข้าวปลอดภัย จำหน่ายข้าวสารให้ผู้บริโภคโดยตรง สถานที่ เช่น ณ บริเวณหน้าหน้าศาลากลางจังหวัด หน้าสำนักงานพาณิชย์จังหวัด สถานีบริการน้ำมัน ปตท. เปิดจำหน่ายทุกวันจันทร์-ศุกร์ ทั้งปลีกและส่ง ราคาข้าวหอมมะลิเฉลี่ย 30 บาท/กก และจะขยายจุดจำหน่ายเพิ่มขึ้นต่อไป เกษตรกรแต่ละกลุ่มสามารถขายได้ 2,000-3,000 บาท/วัน นอกจากข้าวสารขายตรงจากชาวนาแล้ว ยังมีพืชผักผลไม้พื้นบ้าน สินค้าอุปโภคบริโภคราคาถูกพิเศษจากห้างใหญ่ในจังหวัด และอาหารอร่อย ประหยัดจากร้านหนูณิชย์อีกด้วย
3. จัดหา/เชื่อมโยงตลาด/MOU : หลายภาคส่วนได้ติดต่อรับซื้อข้าวจากเกษตรกรโดยตรงตามนโยบายของรัฐ เช่น หน่วยงานทางทหาร กระทรวงแรงงาน เป็นต้น โดยมีการรับซื้อข้าวจากเกษตรกรในจังหวัดอุดรธานี สระแก้ว พะเยา แม่ฮ่องสอน และตาก รวมทั้งลงนามบันทึกข้อตกลงการซื้อขายข้าว ในจังหวัดสระแก้ว และพะเยา อาทิ
จังหวัดอุดรธานี สำนักงานพาณิชย์จังหวัดได้ประสานมณฑลทหารบกที่ 24 อุดรธานี ชื้อข้าวสารหอมมะลิจากเกษตรกรโดยตรง ในเบื้องต้น จำนวน 2 ตัน และ กรมทหารราบที่ 13 ค่ายประจักษ์ศิลปาคม ชื้อข้าวเปลือกหอมมะลิจากเกษตรกร ในเบื้องต้น จำนวน 7 ตัน (ความชื้นไม่เกิน 18% ราคาตันละ 10,500 บาท) รวมทั้งยังประสานหน่วยงานอื่นเช่น สถานการศึกษา ส่วนราชการ โรงแรม ให้ช่วยรับชื้อข้าวจากกลุ่มเกษตรกรโดยตรง รวมทั้งขอความร่วมมือห้างสรรพสินค้าในการให้เกษตรกรมาวางจำหน่ายได้โดยตรง
มีการลงนามบันทึกข้อตกลงการซื้อขายข้าวเปลือกแบบประชารัฐโดยผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว ร่วมกับ หน่วยงานราชการ/องค์กรภาประชาชน(สหกรณ์)/ภาคธุรกิจ (โรงสี) โดยสหกรณ์การเกษตรเมืองสระแก้วรับซื้อจากชาวนาแล้วแปรรูปเป็นข้าวสาร จำหน่ายตามนโยบายของรัฐบาล เบื้องต้น หน่วยทหารมีคำสั่งซื้อ - ข้าวสาร 3,000 กก.ต่อเดือน- ข้าวเปลือก 6,000 กก.ต่อเดือน และจะมีคำสั่งซื้อเพิ่มอีกอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งจะขยายผลไปยังหน่วยงานอื่น เช่น เรือนจำ โรงพยาบาลต่อไป และในระหว่างลงนามบันทึกข้อตกลง มีเกษตรกรนำข้าวเปลือกเจ้ามาจำหน่าย 1 คันรถหกล้อความชื้นประมาณ 30% ราคาตันละ 6,000 บาท เป็นข้าวที่เริ่มเก็บเกี่ยวเขตอำเภอเมืองสระแก้ว
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน สั่งซื้อข้าวหอมมะลิอินทรีย์ จากกลุ่มเกษตรกรบ้านดอกบัว หมู่ 4 ต.บ้านตุ่น อ.เมือง จ.พะเยา เพื่อช่วยเหลือชาวนาโดยตรง เป็นครั้งที่ 3 รวมยอดสั่งซื้อ 3 ครั้ง ปริมาณ 5,500 ถุงๆ ละ 1 กก.ราคาถุงละ 55 บาท รวมมูลค่า 302,500 บาท
ทหารจากหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 17 จังหวัดแม่ฮ่องสอน นำโดย พ.อ.พิพัฒน์ ศรีทองพิมพ์ รอง ผบ. ได้เดินทางไปซื้อข้าวเปลือกเจ้า กข.21 จากเกษตรกร บ้านทุ่งมะส้านตำบลห้วยผา อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน ประมาณ 1 ตันข้าวเปลือก เพื่อไปสีเป็นข้าวสาร เลี้ยงกำลังพล ตามแนวทางส่งเสริมการบริโภคข้าวโดยตรง/ซื้อจากเกษตรกร เป็นข้าวเปลือกเจ้าเก่า/แห้ง พันธ์ กข.21ฤดูกาลปี 58/59 ความชื้นที่วัดได้ ณ ยุ้งฉาง 15.6 ตันละ 12,000 บาท
จังหวัดตาก โดย มณฑลทหารบกที่ 310 รับซื้อข้าวจากชาวนาเพื่อนำไปเลี้ยงกำลังพล ปริมาณการรับซื้อต่อเดือน จำนวน 8,000 กิโลกรัม ราคารับซื้ออยู่ที่กิโลกรัมละ 22 บาท ทั้งนี้ จะหมุนเวียนเข้าไปรับซื้อข้าวสารจากกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดตาก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่านอกเหนือจากมาตรการของรัฐ จะเห็นว่าภาคเอกชนในจังหวัดต่างๆ ต่างก็ยินดีที่จะเข้ามาช่วยเกษตรกรในการขายข้าว ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี และกระทรวงพาณิชย์จะเดินหน้าขยายความร่วมมือนี้ต่อไปอีก
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย
พาณิชย์ จับมือกับโรงสี-ภาครัฐ-เอกชนในพื้นที่ช่วยเหลือชาวนาขายข้าว-ทำตลาดอย่างต่อเนื่อง
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า หลังจากที่ได้สั่งการผู้บริหารกระทรวงร่วมกับพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศลงพื้นที่ เพื่อช่วยเหลือและทำความเข้าใจเรื่องมาตรการความช่วยเหลือของรัฐบาล ได้รับทราบว่าขณะนี้พาณิชย์จังหวัดในหลายจังหวัดได้มีการดำเนินการโดยร่วมกับเอกชน และหน่วยงานในพื้นที่ในเรื่องต่างๆ ดังนี้
1.โรงสีช่วยเหลือเกษตรกร : โรงสีในจังหวัดเชียงรายและจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้ให้ความร่วมมือกระทรวงพาณิชย์ ช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในภาวะที่ราคาข้าวตกต่ำ ดังนี้
- โรงสีในจังหวัดเชียงราย ให้เกษตรกรมาใช้ลานตากข้าวฟรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในการนำข้าวเข้าโครงการจำนำยุ้งฉางกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ขณะนี้มีโรงสีจำนวน 3 โรง ที่ให้ความช่วยเหลือ ดังนี้ 1.โรงสีเชียงของพืชผล อ.เชียงของ ให้ลานตาก 50 ตัน/วัน 2.โรงสีพรพจน์ฯ อ.แม่สาย ให้ 50 ตัน/วัน และ 3.โรงสีสิริอินเตอร์ฯ อ.ป่าแดด ให้ 150 ตัน/วัน ซึ่งเกษตรกรที่สนใจสามารถไปลงชื่อรับคิวได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
- ผู้บริหารในเครือธนสรรไรท์และโรงสี บจ. อิสเทิร์นไรท์มิลล์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ช่วยเหลือเกษตรกรที่ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี โดยโรงสียินดีที่จะรับซื้อข้าวจากเกษตรกรในจังหวัดในราคานำตลาด ตันละ 100-200 บาทตามคุณภาพข้าว/ความชื้นและสิ่งเจือปน โดยให้สหกรณ์การเกษตรหรือ สกต.เป็นผู้รวบรวมผลผลิตจากเกษตรกรรายย่อยโดยสหกรณ์หรือ สกต.สามารถขอรับสินเชื่อจาก ธ.ก.ส. ได้ตามโครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2559/60 ทั้งนี้สหกรณ์จะได้ค่าบริหารจัดการตันละ 150 - 200 บาท
2. จัดตลาดนัดข้าวสาร/จัดจำหน่ายข้าวช่วยเหลือเกษตรกร : พาณิชย์จังหวัดร่วมกับภาคเอกชน สนับสนุนให้พื้นที่สำหรับจำหน่ายข้าวสารจากเกษตรกรโดยตรง เป็นการช่วยเหลือเกษตรกรให้มีการกระจายผลผลิตออกไปได้มากขึ้น ซึ่งจุดจำหน่ายข้าวดังกล่าว ได้แก่ พื้นที่ในจังหวัดนนทบุรี ศรีษะเกษ เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ นครราชสีมา ร้อยเอ็ด สุรินทร์ มหาสารคาม นครสวรรค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต โดยส่วนใหญ่เป็นข้าวหอมมะลิ ข้าวกล้อง ข้าวเจ้า และข้าวไรซ์เบอร์รี่ อาทิ
จ.เพชรบูรณ์ได้จัดพื้นที่จำหน่ายข้าวสาร “อิ่มบุญ อุ่นใจข้าวใหม่เพชรบูรณ์" จำนวน 6 จุด ระหว่างวันที่ 3-5 พย. 59 ได้แก่
1.ห้างแม็คโคร สาขาเพชรบูรณ์ ข้าวหอมมะลิ 2.ห้างท็อปแลนด์ พลาซ่า ข้าวหอมมะลิ 3. ตลาดสดพัฒนา (โฆษิตพลาซ่า) 4. ถนนคนเดิน 5. ตลาดนัดเกษตรกร 6. หน้าพระใหญ่ สามารถช่วยเกษตรกรขายได้กว่า 200,000 บาท สามารถช่วยระบายเป็นข้าวเปลือกได้ถึง 19.185 ตัน
งาน 'ประชารัฐรักสามัคคีนนทบุรี ช่วยเหลือชาวนาไทย'ที่จัดไปแล้วเมื่อ 5-8 พฤศจิกายน 2559 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวสต์เกต จังหวัดนนทบุรี เกษตรกรขายได้กว่า 77,000 บาท
โครงการตลาดข้าวเกษตรกรเพื่อผู้บริโภค ประชารัฐศรีสะเกษส่งพลังใจให้ชาวนา ณ ลานถนน คนเดิน สถานีรถไฟศรีสะเกษ และสถานีบริการน้ำมัน ปตท.อุทุมพรพิสัย (หน้าร้านประชารัฐ สุขใจ อุทุมพรพิสัย) โดยข้าวสารที่นำมาจำหน่ายนี้ มีทั้งข้าวหอมมะลิ ข้าวกล้อง ไรซ์เบอรรี่ฯลฯ โดยจะเปิดจำหน่ายตั้งแต่เวลา 08.00 - 18.00 น. ทุกวัน
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต ให้การสนับสนุนพื้นที่สำหรับจำหน่ายข้าว สำหรับกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ยโสธร โดยจัดจำหน่ายข้าวในตลาดนัดมหาวิทยาลัย จ.-พฤ. เวลา15.00-21.30 น. โดยได้สนับสนุนที่จำหน่ายฟรีและที่พักฟรีสำหรับเกษตรกร โดยเริ่มจำหน่ายวันที่ 7 พ.ย.59 เป็นต้นไป
สำนักงานพาณิชย์จังหวัดนครสวรรค์ นครราชสีมา ร้อยเอ็ด สุรินทร์ มหาสารคาม ร่วมกับกลุ่มเกษตรกร/เกษตรกรที่ผลิตข้าวได้ตามมาตรฐาน GAP ข้าวปลอดภัย จำหน่ายข้าวสารให้ผู้บริโภคโดยตรง สถานที่ เช่น ณ บริเวณหน้าหน้าศาลากลางจังหวัด หน้าสำนักงานพาณิชย์จังหวัด สถานีบริการน้ำมัน ปตท. เปิดจำหน่ายทุกวันจันทร์ - ศุกร์ ทั้งปลีกและส่ง ราคาข้าวหอมมะลิเฉลี่ย 30 บาท/กก. และจะขยายจุดจำหน่ายเพิ่มขึ้นต่อไป เกษตรกรแต่ละกลุ่มสามารถขายได้ 2,000-3,000 บาท/วัน นอกจากข้าวสารขายตรงจากชาวนาแล้ว ยังมีพืชผักผลไม้พื้นบ้าน สินค้าอุปโภคบริโภคราคาถูกพิเศษจากห้างใหญ่ในจังหวัด และอาหารอร่อย ประหยัดจากร้านหนูณิชย์อีกด้วย
3. จัดหา/เชื่อมโยงตลาด/MOU : หลายภาคส่วนได้ติดต่อรับซื้อข้าวจากเกษตรกรโดยตรงตามนโยบายของรัฐ เช่น หน่วยงานทางทหาร กระทรวงแรงงาน เป็นต้น โดยมีการรับซื้อข้าวจากเกษตรกรในจังหวัดอุดรธานี สระแก้ว พะเยา แม่ฮ่องสอน และตาก รวมทั้งลงนามบันทึกข้อตกลงการซื้อขายข้าว ในจังหวัดสระแก้ว และพะเยา อาทิ
จังหวัดอุดรธานี สำนักงานพาณิชย์จังหวัดได้ประสานมณฑลทหารบกที่ 24 อุดรธานี ชื้อข้าวสารหอมมะลิจากเกษตรกรโดยตรง ในเบื้องต้น จำนวน 2 ตัน และ กรมทหารราบที่ 13 ค่ายประจักษ์ศิลปาคม ซื้อข้าวเปลือกหอมมะลิจากเกษตรกร ในเบื้องต้น จำนวน 7 ตัน (ความชื้นไม่เกิน 18% ราคาตันละ 10,500 บาท) รวมทั้งยังประสานหน่วยงานอื่นเช่น สถานการศึกษา ส่วนราชการ โรงแรม ให้ช่วยรับชื้อข้าวจากกลุ่มเกษตรกรโดยตรง รวมทั้งขอความร่วมมือห้างสรรพสินค้าในการให้เกษตรกรมาวางจำหน่ายได้โดยตรง
มีการลงนามบันทึกข้อตกลงการซื้อขายข้าวเปลือกแบบประชารัฐโดยผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว ร่วมกับหน่วยงานราชการ/องค์กรภาประชาชน(สหกรณ์)/ภาคธุรกิจ (โรงสี) โดยสหกรณ์การเกษตรเมืองสระแก้วรับซื้อจากชาวนาแล้วแปรรูปเป็นข้าวสาร จำหน่ายตามนโยบายของรัฐบาล เบื้องต้น หน่วยทหารมีคำสั่งซื้อ - ข้าวสาร 3,000 กก.ต่อเดือน - ข้าวเปลือก 6,000 กก.ต่อเดือน และจะมีคำสั่งซื้อเพิ่มอีกอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งจะขยายผลไปยังหน่วยงานอื่น เช่น เรือนจำ โรงพยาบาลต่อไป และในระหว่างลงนามบันทึกข้อตกลง มีเกษตรกรนำข้าวเปลือกเจ้ามาจำหน่าย 1 คันรถหกล้อความชื้นประมาณ 30% ราคาตันละ 6,000 บาท เป็นข้าวที่เริ่มเก็บเกี่ยวเขตอำเภอเมืองสระแก้ว
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน สั่งซื้อข้าวหอมมะลิอินทรีย์ จากกลุ่มเกษตรกรบ้านดอกบัว หมู่ 4 ต.บ้านตุ่น อ.เมือง จ.พะเยา เพื่อช่วยเหลือชาวนาโดยตรง เป็นครั้งที่ 3 รวมยอดสั่งซื้อ 3 ครั้ง ปริมาณ 5,500 ถุงๆ ละ 1 กก.ราคาถุงละ 55 บาท รวมมูลค่า 302,500 บาท
ทหารจากหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 17 จังหวัดแม่ฮ่องสอน นำโดย พ.อ.พิพัฒน์ ศรีทองพิมพ์ รอง ผบ.ได้เดินทางไปซื้อข้าวเปลือกเจ้า กข.21 จากเกษตรกร บ้านทุ่งมะส้านตำบลห้วยผา อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประมาณ 1 ตันข้าวเปลือก เพื่อไปสีเป็นข้าวสารเลี้ยงกำลังพล ตามแนวทางส่งเสริมการบริโภคข้าวโดยตรง/ซื้อจากเกษตรกร เป็นข้าวเปลือกเจ้าเก่า/แห้ง พันธ์ กข.21ฤดูกาลปี 58/59 ความชื้นที่วัดได้ ณ ยุ้งฉาง 15.6 ตันละ 12,000 บาท
จังหวัดตาก โดย มณฑลทหารบกที่ 310 รับซื้อข้าวจากชาวนาเพื่อนำไปเลี้ยงกำลังพล ปริมาณการรับซื้อต่อเดือน จำนวน 8,000 กิโลกรัม ราคารับซื้ออยู่ที่กิโลกรัมละ 22 บาท ทั้งนี้ จะหมุนเวียนเข้าไปรับซื้อข้าวสารจากกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดตาก
รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า นอกเหนือจากมาตรการของรัฐ จะเห็นว่าภาคเอกชนในจังหวัดต่างๆ ต่างก็ยินดีที่จะเข้ามาช่วยเกษตรกรในการขายข้าว ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี และกระทรวงพาณิชย์จะเดินหน้าขยายความร่วมมือนี้ต่อไปอีก
กฟผ.ร่วมช่วยเหลือชาวนา รณรงค์ให้ พนง.ซื้อข้าว-จัดหาเครื่องสีข้าวให้บริการ
นายกรศิษฏ์ ภัคโชตานนท์ ผู้ว่าการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)เปิดเผยว่า กฟผ.ดำเนินโครงการเพื่อช่วยเหลือชาวนาที่กำลังประสบปัญหาราคาข้าวเปลือกตกต่ำอยู่ในขณะนี้ แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะแรก กฟผ. จะจัดทำโครงการ ‘คน กฟผ. ซื้อข้าว 9 กิโล ช่วยชาวนาไทย ถวายเป็นพระราชกุศล’โดยรณรงค์ให้พนักงานกฟผ. ร่วมซื้อข้าวจากชาวนาคนละ 9 กิโลกรัม กำหนดเปิดให้สั่งจองข้าว ตั้งแต่วันที่ 9-21 พ.ย.59
ทั้งนี้ กฟผ. จะดำเนินการสั่งซื้อข้าวจากแหล่งต่าง ๆ อาทิ เครือข่ายเกษตรกรชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง กฟผ. บริเวณรอบพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า เครือข่ายชาวนา สมาคมชาวนาไทย รวมถึงประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ เช่น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรร์การเกษตร (ธกส.) หรือ เกษตรจังหวัด โดยตั้งเป้าหมายในการซื้อข้าวจากชาวนาไม่น้อยกว่า 29,999 กิโลกรัม
สำหรับ การดำเนินงานในระยะต่อไป กฟผ. จะจัดหาเครื่องสีข้าวเพื่อนำมาบริการให้แก่ชาวนาในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า รวมทั้งจะร่วมมือกับวิทยาลัยเทคนิคของจังหวัดต่าง ๆ พัฒนาเครื่องสีข้าวชุมชนให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิต
และในระยาว กฟผ. จะจัดทำโครงการ ‘ข้าวชาวนา เบอร์ 5’ โดยจะส่งเสริมให้ชาวนาผลิตข้าวตามมาตรฐานฉลากประหยัดไฟฟ้า เบอร์ 5 รวมถึงการบรรจุหีบห่อที่ได้มาตรฐานและให้การสนับสนุนช่องทางจัดจำหน่าย โดยเกษตรกรสามารถนำไปวางจำหน่ายได้ที่ร้านค้าภายในหน่วยงานของ กฟผ. ตลอดจนรณรงค์ให้คนไทยหันมาบริโภคข้าวกล้อง ซึ่งจะดีต่อสุขภาพ และยังช่วยลดการใช้พลังงาน
“การดำเนินงานของ กฟผ. นอกจากเป็นการช่วยเหลือชาวนาในภาวะที่ราคาข้าวตกต่ำแล้ว ยังเป็นการสนองพระราชดำริเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงห่วงใยและมีพระราชประสงค์ให้ชาวนาไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดี และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน"ผู้ว่าการ กฟผ. กล่าว
อินโฟเควสท์