WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOCอภรด ตนตราภรณพาณิชย์ แนะจับตานโยบายสหรัฐหลังทรัมป์ชนะเลือกตั้งปธน. ชี้ส่งออกไทยมีความเสี่ยงมากขึ้น

     นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า หลังจากที่ทั่วโลกต่างจับตามองผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา 2016 นั้น ซึ่งล่าสุดปรากฏผลแล้วว่า สหรัฐฯ จะมีประธานาธิบดีคนใหม่เป็นนายโดนัลด์ ทรัมป์ จากพรรครีพับลิกัน ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ขอแสดงความยินดีต่อว่าที่ประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย

     ทั้งนี้ นโยบายของนายโดนัลด์ ทรัมป์ มีแนวโน้มที่เน้นการปฏิรูปและไม่สนับสนุนการเปิดเสรีทางการค้า ซึ่งจะทำให้ทิศทางการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีความแตกต่างจากรัฐบาลชุดก่อนค่อนข้างชัดเจน โดยเน้นให้ความสำคัญกับการเพิ่มอุปสงค์ภายในประเทศ (โดยเฉพาะการส่งเสริมการลงทุน ผ่านมาตรการภาษี) เน้นนโยบายปกป้องการค้าของสหรัฐฯ มีความชัดเจนที่จะปฏิเสธ ผู้ลี้ภัยต่างชาติและแรงงานต่างชาติ และลดความสำคัญลงสำหรับประเด็นสิ่งแวดล้อม สำหรับนโยบายต่างประเทศ มีแนวโน้มที่จะทบทวนความสัมพันธ์และการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศพันธมิตรใหม่ อย่างไรก็ตาม ยังมีประเด็นความเป็นไปได้ของนโยบายเหล่านี้ว่าจะสามารถปฏิบัติได้จริงหรือไม่ ซึ่งอาจนำไปสู่ความไม่เชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจและเกิดความผันผวนในระยะสั้นได้

     ผลกระทบระยะสั้น คาดว่าจะมีผลกระทบในตลาดเงินตลาดทุนอย่างชัดเจน แต่ภาคเศรษฐกิจจริง (Real Sector) คงไม่น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยตลาดเงินตลาดทุนคงได้รับผลกระทบอย่างชัดเจน เช่นเดียวกันกับผลกระทบจากกรณี Brexit ที่ทำให้ตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกผันผวน ค่าเงินดอลลาร์ สรอ.อ่อนค่า ตลาดหุ้นตกอย่างมาก อย่างไรก็ตาม คาดว่าในช่วงที่เหลือของปี สถานการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯและเศรษฐกิจโลกโดยรวมน่าจะยังไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ดังนั้นการส่งออกของไทยในช่วงที่เหลือยังคงมีแนวโน้มขยายตัวได้ตามการคาดการณ์

     สำหรับ ในปีต่อไปนั้น ไทยคงต้องจับตาการเปลี่ยนแปลงนโยบายด้านต่างๆ ของสหรัฐฯ ที่อาจจะเริ่มส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะความเสี่ยงและไม่แน่นอนที่อาจมีขึ้นในเศรษฐกิจโลกที่อาจส่งผลด้านต่างๆ เช่น การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะมีขึ้นหรือไม่ ราคาน้ำมันจะขึ้นตามที่คาดไว้หรืออาจจะเกิดการผันผวนอย่างมาก ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะปรับดอกเบี้ยขึ้นตามที่คาดหรือไม่ ฯลฯ ซึ่งความผันผวนเหล่านี้ จะส่งผลต่อการส่งออกและการค้าระหว่างประเทศอย่างมีนัยสำคัญ โดยจะส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์มีความผันผวน และราคาสินทรัพย์ปลอดภัย เช่น ทองคำ ปรับตัวสูงขึ้น ในขณะ ที่ผลกระทบจากนโยบายลดภาษียังต้องรอความชัดเจนอีกครั้ง โดยคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯและเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวต่ำกว่าการคาดการณ์ของ IMF (ร้อยละ 2.2 และร้อยละ 3.4 ตามลำดับ) โดยภาพรวมแล้วจะทำให้การส่งออกของไทยในปี 2560 มีความเสี่ยงและท้าทายมากขึ้น เพื่อที่จะกลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 5 ปี

     ผลกระทบระยะยาว ด้านนโยบายการค้าระหว่างประเทศ นายโดนัลด์ ทรัมป์ มีแนวโน้มคัดค้าน TPP อย่างชัดเจน แต่คาดว่าจะมีการเจรจาการค้าฉบับใหม่ที่มีลักษณะปกป้องผลประโยชน์พลเรือนอเมริกันมากขึ้น ซึ่งอาจนำมาสู่การขยายแนวความคิดด้านชาตินิยมและไม่ให้ความสำคัญกับการค้าเสรีไปสู่ประเทศต่างๆ ซึ่งจะเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการขยายตัวปริมาณการค้าโลก ซึ่งในประเด็นนี้ไทยก็พร้อมจะพิจารณาสานความสัมพันธ์ทางการค้าผ่านเวทีอื่นๆ เพื่อเป็นทางเลือก

     ด้านนโยบายการคลัง ความไม่สอดคล้องกันระหว่างการลดภาษีภายในประเทศเพื่อกระตุ้นการลงทุน ผนวกกับแนวโน้มการกีดกันการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ เมื่อรวมกับผลกระทบจากต้นทุนทางการเงิน และหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้น อาจนำไปสู่ความยุ่งยากในการดำเนินนโยบายด้านเศรษฐกิจ  ซึ่งในระยะยาว อาจส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ อย่างมีนัยสำคัญได้ นอกจากนั้น นโยบายปรับลดภาษีนิติบุคคล เพื่อส่งเสริมการลงทุนและการจ้างงานในประเทศ ในขณะที่มีการปกป้องการค้าจากประเทศอื่นๆ เพิ่มขึ้น น่าจะทำให้การลงทุนของสหรัฐฯ ในต่างประเทศยังอยู่ในระดับปกติ (เพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดไว้) โดยเฉพาะประเทศ/กลุ่มคู่ค้าที่มีศักยภาพสูง  ส่วนเศรษฐกิจโลก ความผันผวนและนโยบายกีดกัน อาจทำให้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวช้ากว่าคาดการณ์เดิม ราคาสินค้าโภคภัณฑ์และอัตราแลกเปลี่ยนมีความผันผวน และจะมีความซับซ้อนจากการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ที่นายทรัมป์อาจจะประกาศต่อไป

    รมว.พาณิชย์ กล่าวถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการส่งออกไทยว่า การส่งออกจะมีความเสี่ยงมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันสหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ของไทย (ถ้าไม่นับอาเซียน 10 ประเทศรวมกัน) โดยในปี 2558 ไทยมีมูลค่าส่งออกไปสหรัฐฯ  24,055 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 11.2 ของมูลค่าการส่งออกของไทยทั้งหมด โดยมีสินค้าสำคัญ อาทิ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์และส่วนประกอบ และเครื่องนุ่มห่ม รวมทั้งอาหารทะเลและผลไม้กระป๋องแปรรูป ซึ่งสินค้าเหล่านี้มีสัดส่วนรวมกันถึงร้อยละ 51.4 ของการส่งออกไทยไปสหรัฐฯทั้งหมด  ดังนั้นหากสหรัฐฯ มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการค้าในทิศทางที่มีการกีดกันมากขึ้น ประกอบกับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจของสหรัฐฯที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการค้าโลกโดยรวม จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการส่งออกของไทยทั้งทางตรงและทางอ้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

     แต่ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยในขณะนี้ค่อนข้างมีพื้นฐานที่แข็งแกร่ง จึงมั่นใจว่าผลกระทบต่อเราจะไม่รุนแรงมากนัก แต่อยากให้ผู้ประกอบการโดยเฉพาะรายเล็กเตรียมปรับตัวเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงและความผันผวนที่อาจเกิดขึ้นไว้ โดยเฉพาะที่เกิดจากอัตราแลกเปลี่ยน

    ในด้านการเจรจาการค้ากับประเทศอื่นๆ อาจจะมีโอกาสที่จะปรับตัวดีขึ้น เพื่อชดเชยการค้าที่ลดลงกับสหรัฐฯ ในขณะที่การลงทุนโดยตรงจากสหรัฐฯ ในไทย ในระยะนี้อาจไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงมากนัก เนื่องจากไทยเป็นศูนย์กลางของอาเซียนและมีศักยภาพในการขยายตัวในเกณฑ์ดี ซึ่งกระทรวงพาณิชย์จะติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิดเป็นระยะๆอย่างต่อเนื่อง

     "กระทรวงพาณิชย์ก็ขอยินดีกับว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนใหม่ ภายใต้นโยบายใหม่ๆ ซึ่งไม่ว่าใครจะได้รับการคัดเลือกจากประชาชนให้เข้ามาเป็นผู้นำสหรัฐฯ รัฐบาลไทยก็ยินดีและพร้อมจะทำงานด้วยทุกคน เพื่อประโยชน์ของประชาชนของทั้งสองประเทศ" รมว.พาณิชย์ ระบุ

    อินโฟเควสท์

ก.พาณิชย์ หวั่น"โดนัลด์ ทรัมป์"ชนะเลือกตั้งปธน.สหรัฐฯ 2016 กระทบภาคส่งออกไทย หลังสหรัฐฯเป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ของไทย

     นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ให้สัมภาษณ์ว่า หลังจากที่ทั่วโลกต่างจับตามองผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา 2016 ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร วันนี้ก็ปรากฏออกมาแล้วว่า สหรัฐฯ จะมีประธานาธิบดีคนใหม่เป็นนายโดนัลด์ ทรัมป์ จากพรรครีพับลิกัน ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ขอแสดงความยินดีต่อว่าที่ประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย

     นางอภิรดีฯ ได้กล่าวต่อไปว่า นโยบายของนายโดนัลด์ ทรัมป์ มีแนวโน้มที่เน้นการปฏิรูปและไม่สนับสนุนการเปิดเสรีทางการค้า ซึ่งจะทำให้ทิศทางการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีความแตกต่างจากรัฐบาลชุดก่อนค่อนข้างชัดเจน โดยเน้นให้ความสำคัญกับการเพิ่มอุปสงค์ภายในประเทศ (โดยเฉพาะการส่งเสริมการลงทุน ผ่านมาตรการภาษี) เน้นนโยบายปกป้องการค้าของสหรัฐฯ มีความชัดเจนที่จะปฏิเสธ ผู้ลี้ภัยต่างชาติและแรงงานต่างชาติ และลดความสำคัญลงสำหรับประเด็นสิ่งแวดล้อม สำหรับนโยบายต่างประเทศ มีแนวโน้มที่จะทบทวนความสัมพันธ์และการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศพันธมิตรใหม่ อย่างไรก็ตาม ยังมีประเด็นความเป็นไปได้ของนโยบายเหล่านี้ว่าจะสามารถปฏิบัติได้จริงหรือไม่ ซึ่งอาจนำไปสู่ความ ไม่เชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจและเกิดความผันผวนในระยะสั้นได้

    ผลกระทบระยะสั้น คาดว่าจะมีผลกระทบในตลาดเงินตลาดทุนอย่างชัดเจน แต่ภาคเศรษฐกิจจริง (Real Sector) คงไม่น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ โดย ตลาดเงินตลาดทุนคงได้รับผลกระทบอย่างชัดเจน เช่นเดียวกันกับผลกระทบจากกรณี Brexit ที่ทำให้ตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกผันผวน ค่าเงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่า ตลาดหุ้นตกอย่างมาก อย่างไรก็ตาม คาดว่าในช่วงที่เหลือของปี สถานการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯและเศรษฐกิจโลกโดยรวมน่าจะยังไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ดังนั้นการส่งออกของไทยในช่วง ที่เหลือยังคงมีแนวโน้มขยายตัวได้ตามการคาดการณ์ 

     สำหรับ ในปีต่อไปนั้น ไทยคงต้องจับตาการเปลี่ยนแปลงนโยบายด้านต่างๆ ของสหรัฐฯ ที่อาจจะเริ่มส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะความเสี่ยงและไม่แน่นอนที่อาจมีขึ้น ในเศรษฐกิจโลก ที่อาจส่งผลด้านต่างๆ เช่น การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะมีขึ้นหรือไม่ ราคาน้ำมันจะขึ้นตามที่คาดไว้หรืออาจจะเกิดการผันผวนอย่างมาก ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะปรับดอกเบี้ยขึ้นตามที่คาดหรือไม่ ฯลฯ ซึ่งความผันผวนเหล่านี้ จะส่งผลต่อการส่งออกและการค้าระหว่างประเทศอย่างมีนัยสำคัญ โดยจะส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์มีความผันผวน และราคาสินทรัพย์ปลอดภัย เช่น ทองคำ ปรับตัวสูงขึ้น ในขณะ ที่ผลกระทบจากนโยบายลดภาษียังต้องรอความชัดเจนอีกครั้ง โดยคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯและเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวต่ำกว่าการคาดการณ์ของ IMF (ร้อยละ 2.2 และร้อยละ 3.4 ตามลำดับ) โดยภาพรวมแล้วจะทำให้การส่งออกของไทยในปี 2560 มีความเสี่ยงและท้าทายมากขึ้น เพื่อที่จะกลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 5 ปี

     ผลกระทบระยะยาว ด้านนโยบายการค้าระหว่างประเทศ นายโดนัลด์ ทรัมป์ มีแนวโน้มคัดค้าน TPP อย่างชัดเจน แต่คาดว่าจะมีการเจรจาการค้าฉบับใหม่ที่มีลักษณะปกป้องผลประโยชน์พลเรือนอเมริกันมากขึ้น ซึ่งอาจนำมาสู่การขยายแนวความคิดด้านชาตินิยมและไม่ให้ความสำคัญกับการค้าเสรีไปสู่ประเทศต่างๆ ซึ่งจะเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการขยายตัวปริมาณการค้าโลก ซึ่งในประเด็นนี้ไทยก็พร้อมจะพิจารณาสานความสัมพันธ์ทางการค้าผ่านเวทีอื่นๆเพื่อเป็นทางเลือก

    ด้านนโยบายการคลัง ความไม่สอดคล้องกันระหว่างการลดภาษีภายในประเทศเพื่อกระตุ้นการลงทุน ผนวกกับแนวโน้มการกีดกันการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ เมื่อรวมกับผลกระทบจากต้นทุนทางการเงิน และหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้น อาจนำไปสู่ความยุ่งยากในการดำเนินนโยบายด้านเศรษฐกิจ ซึ่งในระยะยาว อาจส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ อย่างมีนัยสำคัญได้ นอกจากนั้น นโยบายปรับลดภาษีนิติบุคคล เพื่อส่งเสริมการลงทุนและการจ้างงานในประเทศ ในขณะที่มีการปกป้องการค้าจากประเทศอื่นๆ เพิ่มขึ้น น่าจะทำให้การลงทุนของสหรัฐฯ ในต่างประเทศยังอยู่ในระดับปกติ (เพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดไว้) โดยเฉพาะประเทศ/กลุ่มคู่ค้าที่มีศักยภาพสูง  ส่วนเศรษฐกิจโลก ความผันผวนและนโยบายกีดกัน อาจทำให้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวช้ากว่าคาดการณ์เดิม ราคาสินค้าโภคภัณฑ์และอัตราแลกเปลี่ยนมีความผันผวน และจะมีความซับซ้อนจากการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ที่นายทรัมป์อาจจะประกาศต่อไป

     นางอภิรดีฯ ยังได้กล่าวเพิ่มเติมถึง ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการส่งออกไทย ว่าการส่งออกจะมีความเสี่ยงมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันสหรัฐฯเป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ของไทย (ถ้าไม่นับอาเซียน 10 ประเทศรวมกัน) โดยในปี 2558 ไทยมีมูลค่าส่งออกไปสหรัฐฯ  24,055 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 11.2 ของมูลค่าการส่งออกของไทยทั้งหมด โดยมีสินค้าสำคัญ อาทิ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์และส่วนประกอบ และเครื่องนุ่มห่ม รวมทั้งอาหารทะเลและผลไม้กระป๋องแปรรูป ซึ่งสินค้าเหล่านี้มีสัดส่วนรวมกันถึงร้อยละ 51.4 ของการส่งออกไทยไปสหรัฐฯทั้งหมด ดังนั้น หากสหรัฐฯ มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการค้าในทิศทางที่มีการกีดกันมากขึ้น ประกอบกับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจของสหรัฐฯที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการค้าโลกโดยรวม จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการส่งออกของไทยทั้งทางตรงและทางอ้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

    แต่ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยในขณะนี้ค่อนข้างมีพื้นฐานที่แข็งแกร่ง จึงมั่นใจว่า ผลกระทบต่อเราจะไม่รุนแรงมากนัก แต่อยากให้ผู้ประกอบการโดยเฉพาะรายเล็กเตรียมปรับตัวเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงและความผันผวนที่อาจเกิดขึ้นไว้ โดยเฉพาะที่เกิดจากอัตราแลกเปลี่ยน

    ในด้านการเจรจาการค้ากับประเทศอื่นๆ อาจจะมีโอกาสที่จะปรับตัวดีขึ้น เพื่อชดเชยการค้าที่ลดลงกับสหรัฐฯ ในขณะที่การลงทุนโดยตรงจากสหรัฐฯ ในไทย ในระยะนี้อาจไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงมากนัก เนื่องจากไทยเป็นศูนย์กลางของอาเซียนและมีศักยภาพในการขยายตัวในเกณฑ์ดี ซึ่งกระทรวงพาณิชย์จะติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิดเป็นระยะๆอย่างต่อเนื่อง

   ท้ายสุด กระทรวงพาณิชย์ก็ขอยินดีกับว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนใหม่ ภายใต้นโยบายใหม่ๆ ซึ่งไม่ว่าใครจะได้รับการคัดเลือกจากประชาชนให้เข้ามาเป็นผู้นำสหรัฐฯ รัฐบาลไทยก็ยินดีและพร้อมจะทำงานด้วยทุกคน เพื่อประโยชน์ของประชาชนของทั้งสองประเทศ

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

TISCO มอง `ทรัมป์`คว้าชัยเลือกตั้งสหรัฐฯ กดดันตลาดหุ้นกลุ่มปท.เกิดใหม่ `ทอง-เยน-บอนด์` ได้แรงหนุนจากฟันด์โฟลว์

  TISCO เตือนนักลงทุน หลัง ทรัมป์ คว้าชัยเลือกตั้งสหรัฐฯ กดดันตลาดหุ้นกลุ่มตลาดเกิดใหม่ แต่ตลาดหุ้นสหรัฐฯ จะ Outperform ส่วน ทอง-เยน-บอนด์ จะได้รับแรงหนุนทุนไหลเข้าสินทรัพย์ปลอดภัย แต่อาจเกิดขึ้นในระยะสั้นๆ แนะจับตาการดำเนินนโยบายของทรัมป์ในระยะยาว

     นายคมศร ประกอบผล หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ทิสโก้ (TISCO)กล่าวว่า ชัยชนะของนายโดนัล ทรัมป์ ผู้สมัครพรรครีพับลิกัน น่าจะกดดันราคาสินทรัพย์เสี่ยง โดยเฉพาะตลาดหุ้นในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ ซึ่งจะถูกกระทบจากนโยบายกีดกันทางการค้า เช่น การตั้งกำแพงภาษีนำเข้าสินค้าโดยเฉพาะจากจีน และเสนอให้ทบทวนข้อตกลงทางการค้า ทั้ง NAFTA (North American Free Trade Agreement) และWTO (World Trade Organization) ใหม่อีกครั้ง นโยบายดังกล่าวนับเป็นความเสี่ยงที่สำคัญต่อเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่การค้าโลกอยู่ในภาวะซบเซา

    ด้าน ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ น่าจะอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับค่าเงินเยน และยูโร แต่จะแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินบาทและเงินสกุลอื่นๆ ในตลาดเกิดใหม่ ส่วนทองคำ ค่าเงินเยน และพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ น่าจะได้รับผลบวกจากกระแสเงินทุนที่ไหลเข้าสินทรัพย์ปลอดภัย

     ราคาน้ำมันน่าจะได้รับผลบวกจากท่าทีที่แข็งกร้าวขึ้นของสหรัฐฯ ต่อกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง โดยนายทรัมป์อาจพิจารณายกเลิกข้อตกลงนิวเคลียร์กับอิหร่าน ซึ่งจะส่งผลให้อิหร่านต้องลดการส่งออกน้ำมันลงและทำให้อุปทานน้ำมันในตลาดโลกกลับมาตึงตัวขึ้น ส่วนราคาถ่านหินจะได้รับผลบวกจากนโยบายสนับสนุนการใช้ถ่านหิน ซึ่งในทางกลับกันจะส่งผลลบต่อราคาก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นสินค้าทดแทน

    เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในภาพรวมอาจได้ผลบวกจากมาตรการกระตุ้นทางการคลัง เช่น การลดภาษี ซึ่งนายทรัมป์เสนอให้ลดอัตราภาษีรายได้บุคคลธรรมดาขั้นสูงสุดลงเป็น 25% จาก 39.6% และลดภาษีนิติบุคคลลงเป็น15% จาก 35% ซึ่งนโยบายดังกล่าวน่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ในระยะสั้น แต่ในระยะยาวการลดภาษีลงต่ำเกินไปก็อาจเป็นการเพิ่มหนี้ภาครัฐ และเป็นความเสี่ยงต่อฐานะการคลัง ซึ่งอาจทำให้ต้นทุนการกู้ยืมของรัฐบาลสหรัฐฯ เพิ่มสูงขึ้นในอนาคต

     ตลาดหุ้นสหรัฐฯ น่าจะ Outperform ตลาดหุ้นอื่นๆ เนื่องจากค่าเงินดอลลาร์ที่กลับมาอ่อนค่า ประกอบกับนโยบายลดภาษีจะช่วยสนับสนุนกำไรของบริษัทจดทะเบียน ในขณะที่ตลาด Emerging Market จะถูกกดันจากความเสี่ยงต่อการค้าโลกจากนโยบายของนายทรัมป์ และปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ในช่วงที่เหลือของปี เช่น การทำประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญของอิตาลี ในวันที 4 ธ.ค. และการประชุม Fed ในวันที่ 14 ธ.ค. ซึ่งเราคาดว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ย 25bps

   อย่างไรก็ดี การเคลื่อนไหวของตลาดดังกล่าวอาจเป็นแค่เพียงระยะสั้น แต่ในระยะยาวเรายังต้องจับตามองว่านโยบายต่างๆ ที่นายทรัมป์ เสนอไว้ในช่วงหาเสียงจะสามารถนำไปปฎิบัติจริงได้มากน้อยเพียงใด

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!