WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOCวนจฉย แจมแจงก.พาณิชย์เผย ไทย-ฝรั่งเศส กระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ร่วมมือขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย สู่ประเทศไทย 4.0 ระบุเน้นสาขานวัตกรรมและเทคโนโลยี

 ก.พาณิชย์เผย ประธานสภาองค์กรนายจ้างประเทศฝรั่งเศส (MEDEF) นำคณะนักธุรกิจชั้นนำของฝรั่งเศส เข้าพบผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ หารือถึงแนวทางการพัฒนาความร่วมมือระหว่างกัน เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยไปสู่ประเทศไทย 4.0 โดยฝรั่งเศสสนใจจะลงทุนในไทยมากขึ้น โดยเฉพาะสาขาที่เน้นนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย

  นายวินิจฉัย แจ่มแจ้ง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2559 ได้หารือกับนายฟรองซัว กอร์แบง ประธานสภาองค์กรนายจ้างประเทศฝรั่งเศส (MEDEF) และคณะนักธุรกิจชั้นนำของฝรั่งเศส เพื่อกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างสองประเทศ โดยได้หารือถึงแนวทางการพัฒนาความร่วมมือระหว่างกันเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยไปสู่ประเทศไทย 4.0 ซึ่งเน้นเศรษฐกิจด้านมูลค่า (value-based economy) 

 ทั้งนี้ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ ได้สร้างความเชื่อมั่นกับคณะนักธุรกิจ MEDEF ว่าปัจจุบันไทยได้ขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้ากับนานาประเทศ ผ่านการจัดทำความตกลง FTA โดยปัจจุบันไทยมี FTA ที่มีผลใช้บังคับแล้วจำนวน 12 ฉบับ ครอบคลุม 17 ประเทศ และเป็น AEC ในปี 2559 ซึ่งทำให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน สำหรับการเจรจาความตกลง RCEP ประกอบด้วย ประเทศสมาชิก ASEAN 10 ประเทศ จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ มีการตั้งเป้าหมายว่าจะสรุปผลการเจรจาโดยเร็วที่สุด เพื่อเชื่อมโยงห่วงโซ่คุณค่า (Global Value Chain) โดยใช้ประโยชน์จากยุทธศาสตร์ใจกลางของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของไทย ไปสู่ตลาดในภูมิภาคอาเซียนและเอเชีย นอกจากนี้ ไทยได้ดำเนินการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้เป็นสากลสอดรับกับกระบวนการการค้ายุคใหม่ อาทิ การอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจในไทย กฎหมายหลักประกันทางธุรกิจ กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา และกฎหมายการแข่งขันทางการค้า

      นายวินิจฉัย กล่าวว่า การหารือครั้งนี้ ไทยและฝรั่งเศสต่างเห็นพ้องว่า ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมาอย่างต่อเนื่องยาวนานกว่า 160 ปี ในปีที่ผ่านมา ปัจจุบันมีบริษัทฝรั่งเศสมากกว่า 350 บริษัท เข้ามาลงทุนในประเทศไทย และ MEDEF แสดงความสนใจที่จะลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น โดยเฉพาะการลงทุนในสาขาที่เน้นนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย และฝรั่งเศสมีความเชี่ยวชาญ อาทิ พลังงานทดแทน อากาศยาน สุขภาพ และดิจิตอล นอกจากนี้ ยังสนใจที่จะร่วมมือด้านการศึกษาและการพัฒนาแรงงานให้สอดรับกับนโยบายประเทศไทย 4.0

 ในปี 2558 การค้ารวม ฝรั่งเศสเป็นคู่ค้าอันดับที่ 20 ของไทย โดยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 4 ในกลุ่มประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป มูลค่าการค้ารวม 4,308.01 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 5.64 สำหรับการส่งออก ฝรั่งเศสเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 27 ของไทย และอันดับที่ 5 ในกลุ่มประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป (รองจากเนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร เยอรมนี และเบลเยียม) มูลค่าการส่งออก 1,601.76 ล้านเหรียญสหรัฐ สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เลนซ์เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เครื่องนุ่งห่ม สำหรับการนำเข้า ฝรั่งเศสเป็นแหล่งนำเข้าอันดับที่ 21 ของไทย และอันดับที่ 3 ในกลุ่มประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป มูลค่าการนำเข้า 2,706.25 ล้านเหรียญสหรัฐ สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ เครื่องบิน เครื่องร่อน อุปกรณ์การบินและส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม เคมีภัณฑ์ และสบู่

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!