WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

พาณิชย์แก้พรบ.ผูกขาดปตท.เต้น!หวั่นแข่งยาก

    ไทยโพสต์ : นนทบุรี * พาณิชย์แก้ พ.ร.บ. แข่งขันฯ'ปตท.'วิ่งโร่ขอรายละเอียด หวั่นถูกยัดอยู่ภายใต้กฎหมาย ส่งผลกระทบ ทำธุรกิจลำบาก แข่งเอกชนยาก

   รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ตัว แทน บมจ.ปตท.ได้เข้าหารือกับกรมการค้าภายใน สอบถามถึงกรณีที่จะมีการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2542 และให้รัฐวิสาหกิจที่ทำธุรกิจแข่งขันกับเอกชนต้องอยู่ภายใต้กฎหมายนี้ด้วย จากเดิมได้รับการยกเว้น ซึ่ง ปตท.ได้ขอรายละเอียดการแก้ไขกฎหมาย พร้อมทั้งชี้แจงว่า การให้ไปอยู่ภายใต้กฎหมายอาจทำให้ ปตท.ทำธุรกิจแข่งขันกับภาคเอกชนไม่ได้ เพราะการบริหารงานต้องผ่านหลายขั้นตอน อาจทำให้การ ตัดสินใจต่างๆ ล่าช้ากว่าภาคเอก ชนและกระทบต่อการประกอบธุรกิจ

   ทั้งนี้ กรมการค้าภายในได้รับทราบ และได้ชี้แจงไปว่า ขณะนี้กฎหมายฉบับแก้ไขอยู่ระหว่างการรอเสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณา หากผ่านความเห็นชอบจะมีการออกประกาศกระทรวงพาณิชย์ เพื่อกำหนดประเภทรัฐวิสาหกิจที่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายต่อไป

    อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นมี รัฐวิสาหกิจที่ทำธุรกิจแข่งขันกับเอกชน และบางบริษัทอยู่ใน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ ไทย ประมาณ 10 แห่ง เช่น บมจ.ปตท., บมจ.การบินไทย, บมจ. ท่าอากาศยานไทย, บมจ. อสมท, บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน), บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เป็นต้น

   สาเหตุที่ต้องแก้ไขให้รัฐวิสาหกิจอยู่ภายใต้กฎหมาย เนื่องจากปัจจุบัน รัฐวิสาหกิจหลายแห่งทำธุรกิจแข่งขันกับเอกชน และมีผลกำไรสูง ซึ่งบางธุรกิจ ภาคเอกชนที่เป็นคู่แข่งไม่สามารถแข่งขันได้ และล้มหายตายจากไป ส่งผลให้รัฐวิสาหกิจ นั้นๆ มีอำนาจเหนือตลาด และผูกขาดทางธุรกิจแต่เพียงผู้เดียว ดังนั้นจึงทำให้รัฐวิสาหกิจเหล่านั้นมีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม เพื่อให้คู่แข่งที่เป็นภาคเอกชนสามารถทำธุรกิจอยู่รอดได้

    นายสันติชัย สารถวัลย์แพศย์ รองอธิบดีกรมการค้าภาย ใน กล่าวว่า กรมได้รับนโยบายจาก น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ให้แก้ไข พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า ใน ประเด็นให้สำนักงานคณะกรรม การการแข่งขันทางการค้า แยกออกมาเป็นองค์กรอิสระ และอยู่ ภายใต้การกำกับดูแลของกระ ทรวงพาณิชย์ ซึ่งในต่างประเทศเป็นองค์กรอิสระหมดแล้ว เพราะทำให้การทำงานมีความคล่องตัว เป็นอิสระ ปราศจากการแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง ทั้งนี้ ศึกษากรณีของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เป็นตัวอย่าง.

ปตท.วิ่งวุ่นแก้กฎหมายแข่งขัน

    บ้านเมือง : แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ตัวแทนบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้เข้าพบหารือกับกรมการค้าภายใน เพื่อสอบถามถึงกรณีที่จะมีการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2542 และให้รัฐวิสาหกิจที่ทำธุรกิจแข่งขันกับเอกชนต้องอยู่ภายในกฎหมายด้วย จากเดิมได้รับการยกเว้น ซึ่งทาง ปตท. ได้ขอรายละเอียดการแก้ไขกฎหมาย พร้อมทั้งชี้แจงว่าการให้ไปอยู่ภายใต้กฎหมายอาจทำให้ ปตท. ทำธุรกิจแข่งขันกับภาคเอกชนไม่ได้ เพราะการบริหารงานต้องผ่านหลายขั้นตอน อาจทำให้การตัดสินใจต่างๆ ล่าช้ากว่าภาคเอกชนและกระทบต่อการประกอบธุรกิจ

    กรมการค้าภายในได้รับทราบ และได้ชี้แจงไปว่า ขณะนี้กฎหมายฉบับแก้ไขอยู่ระหว่างการรอเสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณา และหากให้ความเห็นชอบแล้ว ก็จะมีการออกประกาศกระทรวงพาณิชย์ เพื่อกำหนดประเภทรัฐวิสาหกิจที่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายต่อไป

   ในเบื้องต้นมีรัฐวิสาหกิจที่ทำธุรกิจแข่งขันกับเอกชน และบางบริษัทอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประมาณ 10 แห่ง เช่น ปตท., บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน), บริษัท การท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน), บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน), บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน), บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เป็นต้น สาเหตุที่ต้องแก้ไขให้รัฐวิสาหกิจอยู่ภายใต้กฎหมาย เนื่องจากในปัจจุบันรัฐวิสาหกิจหลายแห่งทำธุรกิจแข่งขันกับเอกชน และมีผลกำไรสูง ซึ่งในบางธุรกิจภาคเอกชนที่เป็นคู่แข่งไม่สามารถแข่งขันได้ และล้มหายตายจากไป ส่งผลให้รัฐวิสาหกิจนั้นๆ มีอำนาจเหนือตลาดและผูกขาดทางธุรกิจแต่เพียงผู้เดียว ดังนั้นจึงทำให้รัฐวิสาหกิจเหล่านั้นมีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม เพื่อให้คู่แข่งที่เป็นภาคเอกชนสามารถทำธุรกิจอยู่รอดได้

    นายสันติชัย สารถวัลย์แพศย์ รองอธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า กรมฯ ได้รับนโยบายจาก น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ให้แก้ไข พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2542 ในประเด็นให้สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า แยกออกมาเป็นองค์กรอิสระ และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งในต่างประเทศเป็นองค์กรอิสระหมดแล้ว เพราะทำให้การทำงานมีความคล่องตัว เป็นอิสระ ปราศจากการแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง ทั้งนี้ การปรับให้สำนักงานส่งเสริมการแข่งขันทางการค้า ของกรมฯ ไปเป็นองค์กรอิสระ จะทำในลักษณะเหมือนการแยกกรมการประกันภัยออกไปเป็นสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) โดยเปิดโอกาสให้ข้าราชการตัดสินใจเองว่าจะทำงานที่กรมฯ ต่อไป

ปตท. ยืนยันคืนท่อส่งก๊าซเรียบร้อยแล้ว เตรียมแยกธุรกิจท่อส่งก๊าซเป็นบริษัทตามนโยบายภาครัฐ

   นายประเสริฐ สลิลอำไพ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สื่อสารองค์กรและกิจการเพื่อสังคม บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ตามที่มีความเข้าใจผิดว่า ปตท. ดำเนินการส่งคืนทรัพย์สินท่อส่งก๊าซธรรมชาติให้แก่กระทรวงการคลังตามคำสั่งศาลปกครองยังไม่ครบถ้วน และระบุว่าเป็นธุรกิจที่ถูกผูกขาดโดย ปตท. นั้น ปตท. ใคร่ขอเรียนชี้แจงข้อเท็จจริง ดังนี้

    ในประเด็นการคืนทรัพย์สินตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุดเมื่อปี 2550 นั้น ปตท. ขอยืนยันว่าภายหลัง จากแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนแล้ว ปตท. ได้ดำเนินการแบ่งแยกและส่งมอบทรัพย์สินต่างๆ ให้แก่กระทรวงการคลัง ตามคำสั่งศาลปกครองครบถ้วนแล้วตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคม 2551  ซึ่งศาลปกครองสูงสุดได้บันทึกในคำร้องสรุปว่า ปตท.ดำเนินการโอนทรัพย์สินทั้งหมดตามคำพิพากษาเรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ศาลปกครองสูงสุดยังมีคำสั่งยืนยันอีกครั้งเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2552  จึงยืนยันได้ชัดเจนว่า ปตท. ได้ดำเนินการเรื่องดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว 

     นอกจากนั้น ในปี 2555 ได้มีกลุ่มบุคคลยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครองกลางว่า ปตท. ยังแบ่งแยกทรัพย์สินให้แก่กระทรวงการคลังไม่ครบถ้วน  แต่ศาลปกครองกลางไม่รับคำฟ้องดังกล่าว โดยให้ความเห็นว่าศาลปกครองสูงสุดได้เคยมีคำพิพากษาถือเป็นการสิ้นสุดแล้ว นอกจากนี้ ตามที่กล่าวอ้างว่า สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้ระบุไว้ในรายงานการตรวจสอบการแบ่งแยกทรัพย์สินฯ ว่า ปตท. ยังแบ่งแยกทรัพย์สินให้แก่กระทรวงการคลังไม่ครบถ้วน แต่ข้อเท็จจริง คือ รายงานของ สตง. ได้ระบุไว้ด้วยว่า การแบ่งแยกทรัพย์สินจะครบถ้วนตามคำพิพากษาหรือไม่ ขึ้นอยู่กับคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุด ซึ่งปรากฏว่า ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งแล้วว่า ปตท. ได้ดำเนินการแบ่งแยกทรัพย์สินเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

   สำหรับ ประเด็น ปตท. ผูกขาดระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาตินั้น ใคร่ขอชี้แจงว่า ธุรกิจท่อส่งก๊าซธรรมชาติ เป็นธุรกิจเสรีภายใต้ พรบ. การประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ.2550  โดยผู้ที่ต้องการประกอบกิจการขนส่งก๊าซฯ สามารถยื่นขอใบอนุญาตจากคณะกรรมการกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้โดยตรง  ซึ่งปัจจุบัน มีผู้รับใบอนุญาตนอกเหนือจาก ปตท. เช่น กลุ่มบริษัท Gulf  กลุ่มบริษัทอมตะ เป็นต้น แต่เนื่องจากธุรกิจท่อส่งก๊าซฯ ต้องใช้เงินลงทุนสูง มีขั้นตอนกระบวนการมากมาย และต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะมีรายได้จากการประกอบกิจการ จึงทำให้ในปัจจุบัน มีผู้สนใจเข้ามาประกอบกิจการในธุรกิจท่อส่งก๊าซฯน้อยราย

   “ปตท. ในฐานะหนึ่งในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ยินดีและพร้อมที่จะปฏิบัติตามนโยบายและหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่ภาครัฐกำหนด รวมถึงนโยบายเรื่องการเปิดใช้หรือเชื่อมต่อระบบส่งก๊าซธรรมชาติให้แก่บุคคลที่ 3 (TPA Regime) ของ กกพ. ดังนั้น ปตท. จึงได้เริ่มดำเนินการปรับโครงสร้างองค์กร ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2557 เป็นต้นมา เพื่อเตรียมการแยกสินทรัพย์และระบบบัญชีของระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติออกมาให้ชัดเจนซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2558 และเตรียมการแยกกิจการท่อส่งก๊าซธรรมชาติรองรับการจัดตั้งเป็นบริษัทท่อส่งก๊าซฯ ในอนาคต”นายประเสริฐ กล่าวเสริมในตอนท้าย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!