WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOC Somkiatพาณิชย์ เผยเงินเฟ้อทั่วไปเดือนส.ค.59 ขยายตัว 0.29% เงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 0.79% ส่วนทั้งปี คงเป้าเงินเฟ้อที่ 0-1%

   พาณิชย์ เผยเงินเฟ้อทั่วไปเดือนส.ค.59 ขยายตัว 0.29% ขณะที่เมื่อเทียบเดือนก่อนหน้าลดลง 0.04% ส่วน 8 เดือนอยู่ที่ - 0.03% ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐานเดือนส.ค.59 อยู่ที่ 0.79% จากเดือนก่อนที่0.76% ส่วน 8 เดือนอยู่ที่ 0.74%  พร้อมคงเป้าทั้งปีที่ 0-1%  มองเงินเฟ้อ Q4/59 จะขยับขึ้นเล็กน้อย รับการใช้จ่ายครัวเรือนที่สูงขึ้น

    นายสมเกียรติ ตรีรัตน์พันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในเดือนสิงหาคม 2559  (CPI)  อยู่ที่ 106.64 ขยายตัว 0.29% เมื่อเทียบกับ ส.ค.58  ขณะที่เมื่อเทียบเดือนก.ค.59  CPI ลดลง 0.04% ส่งผลให้ CPI ช่วง 8 เดือนแรกปี 59 (ม.ค.-ส.ค.) หดตัว -0.03%

    ทั้งนี้ปัจจัยสำคัญมาจากจากหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์เป็นสำคัญ ปัจจัยสำคัญมาจากผลไม้สด กับข้าวสำเร็จรูป ผัดสด เป็นต้น ขณะที่หมวดยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จากผลสะสมของปรับอัตราค่าแสตมป์ยาสูบตามมูลค่าเมื่อเดือนก.พ.ผ่านมา ส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อ 0.18% 

    โดยอัตราเงินเฟ้อยังขยายตัวต่ำ ถึงแม้ว่าราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกและราคาน้ำมันเชื้องเพลิงขายปลีกภายในประเทศเริ่มปรับสูงขึ้่น แต่ราคายังต่ำกว่าปีก่อนหน้า ดังนั้น หมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร ยังคงกดดันอัตราเงินเฟ้อ เช่นเดียวกับหมวดเคหสถาน ที่ราคาลดลงจากการปรับอัตราค่าไฟฟ้าอัตโนมัติในรอบเดือนมกราคม-เมษายน ส่งผลกระทบทางลบต่ออัตราเงินเฟ้อหมวดยานพาหนะ และ หมวดเคหสถานติดลบ 0.33% และ 0.32% ตามลำดับ 

    อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา อัตราเงินเฟ้อลดลง  โดยได้รับผลกระทบมาจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงขายปลีกในประเทศที่ปรับลดลง 2.0% ในหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อลดลง 0.11% 

   ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) เดือน ส.ค.59 อยู่ที่ 106.80 ขยายตัว 0.79% เมื่อเทียบกับ ส.ค.58 และขยายตัว 0.07% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ส่งผลให้ Core CPI ช่วง 8 เดือนแรกปี 59 ขยายตัว 0.74%

   “ด้านเงินเฟ้อทั่วไป 8 เดือน (มกราคม-สิงหาคม) อัตราเงินเฟ้อลดลง 0.03% โดยเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าและบริการในหมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร เป็นต้นนายสมเกียรติ กล่าว  

    นายสมเกียรติ กล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์ยังคงประมาณการอัตราเงินเฟ้อในปีนี้อยู่ที่ 0.0-1% โดยมีสมมติฐานอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจหรือจีดีพีที่ประมาณการเดิมที่ 2.8-3.8% โดยมีแรงขับเคลื่อนจากการใช้จ่ายและการลงทุนโครงการภาครัฐ รายได้เกษตรกรและภาคบริการเพิ่มขึ้น สนับสนุนกำลังซื้อครัวเรือน ขณะที่ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องจับตา คือ เศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวต่ำกว่าคาด ผลกระทบเพิ่มเติมจากการลงประชามติในสหราชอาณาจักร ผลกระทบภาคการท่องเที่ยวจากเหตุการณ์ระเบิดภาคใต้ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา 

   ขณะที่ราคาน้ำมันดิบดูไบ ได้ปรับเพิ่มประมาณมาอยู่ที่ 35-45 ดอลลาร์ต่อบาเรล จากเดิมที่ 30-40 ดอลลาร์ต่อบาเรล เนื่องจากอุปสงค์มีแนวโน้มสูงขึ้นในช่วงหน้าหนาว โดยเฉพาะในประเทศจีน อินเดีย และสหรัฐ อย่างไรก็ตาม อุปทานน้ำมันดิบยังคงทรงตัว ด้านอัตราแลกเปลี่ยนได้ปรับลดประมาณการมาอยู่ที่ 35-37 บาทต่อดอลลาร์ จากเดิมที่ 36-38 บาทต่อดอลลาร์เนื่องจากค่าเงินบาทเริ่มแข็งค่าขึ้น สาเหตุจากตลาดลดการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ หรือ เฟด ทำให้มีเงินทุนไหลเข้าประเทศในช่วงที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องเฝ้าติดตารมนโยบายการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟ้อในเดือนกันยายนและในเดือนธันวาคมนี้ 

     นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์มองว่า เงินเฟ้อในช่วงไตรมาส 4 ปีนี้ จะปรับสูงขึ้นเล็กน้อยจากการใช้จ่ายภาคครัวเรือนที่มีแนวโน้มใช้จ่ายสูงในช่วงเทศกาลปลายปีตามรายได้ที่สูงขึ้น

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!