WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOC Somkeatพาณิชย์ เผยคนไทยกว่า 50% เคยซื้อสินค้าออนไลน์ พบสินค้าที่ซื้อ เสื้อผ้า รองเท้า มากสุด - จี้ภาครัฐควรมีบทลงโทษผู้ขายที่ทำผิดกฎหมาย

    นายสมเกียรติ ตรีรัตน์พันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า จากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ ในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม โดยสอบถามประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 4,653 ตัวอย่าง พบว่า คนไทย 56.87% เคยซื้อสินค้าออนไลน์ โดยสินค้าที่นิยมซื้อมากที่สุด คือ เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย และรองเท้า และไม่เคยซื้อสินค้าออนไลน์ 43.13% ซึ่งสาเหตุที่ไม่ซื้อสินค้าออนไลน์ เพราะกลัวถูกผู้ขายสินค้าหลอกลวง รองลงมาคือประชาชนในต่างจังหวัดใช้อินเตอร์เน็ตไม่เป็น  

   อย่างไรก็ตาม ประชาชนในภาพรวมทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด ให้เหตุผลสำคัญที่สุดสำหรับการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ คือ ซื้อง่าย สะดวก และสามารถซื้อได้ตลอด 24 ชั่วโมง รองลงมาคือ มีบริการส่งสินค้าถึงที่ สินค้ามีความทันสมัยและมีสินค้าให้เลือกหลากหลาย โดยประชาชนส่วนใหญ่ซื้อสินค้าออนไลน์เฉลี่ย 1-2 ครั้งต่อเดือน มีค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าต่อครั้ง 501-1,000 บาท และนิยมซื้อสินค้าออนไลน์จากแหล่งภายในประเทศ มากกว่าแหล่งจากต่างประเทศ และมีพฤติกรรมการชำระเงินสำหรับการซื้อสินค้าออนไลน์ ผ่านทางการโอนเงินเข้าบัญชีผู้ขายมากที่สุด 

   ทั้งนี้ จากการสำรวจยังพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่มากกว่า 60% ไม่เคยประสบปัญหาในการซื้อสินค้าออนไลน์ อย่างไรก็ตามยังพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีความถี่ในการซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้น มักจะพบปัญหาจากการซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้นตามไปด้วย โดยปัญหาที่ประชาชนส่วนใหญ่พบเจอในการซื้อสินค้าออนไลน์ คือ คุณภาพ ลักษณะสินค้าไม่ตรงกับที่คาดหวังไว้ รองลงมา คือ ปัญหาเรื่องได้รับสินค้าช้ากว่าที่กำหนดไว้ และปัญหาเรื่องสินค้าเสียหาย เป็นต้น 

   นอกจากนี้ ประชาชนส่วนใหญ่ 53.35% ทราบว่าแหล่งซื้อสินค้าออนไลน์ได้จดทะเบียนพาณิชย์กับกระทรวงพาณิชย์ ในขณะที่ประชาชนในต่างจังหวัด สัดส่วนถึง 68.05% ไม่ทราบว่าแหล่งที่ซื้อสินค้าออนไลน์ได้จดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์หรือไม่ อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่มีความเชื่อมั่นในแหล่งซื้อสินค้าออนไลน์ที่จดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์มากกว่าแหล่งที่ไม่ได้จดทะเบียน 

    นายสมเกียรติ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการรับรู้ของประชาชนเกี่ยวกับกฎหมายที่กำหนดให้ผู้ประกอบการธุรกิจออนไลน์ต้องจดทะเบียนพาณิชย์กับกระทรวงพาณิชย์นั้น ประชาชนในกรุงเทพฯ 51.68% ทราบว่ากฎหมายระบุว่าให้ผู้ค้าออนไลน์ทุกคนต้องจดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ ในขณะที่ประชาชนในต่างจังหวัด 59.85% ไม่ทราบ 

    อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด เห็นว่า ภาครัฐควรมีบทลงโทษที่เหมาะสมกับผู้ขายสินค้าออนไลน์ที่ทำผิดกฎหมาย รองลงมา เห็นว่า ภาครัฐควรแจ้งข้อมูลแหล่งขายสินค้าออนไลน์ที่มีปัญหา และยังไม่ได้รับการแก้ไขให้ผู้บริโภครับทราบอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งควรเพิ่มช่องทางการแจ้งข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการค้าสินค้าออนไลน์ที่สะดวกสำหรับผู้บริโภค

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!