WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOCมาล โชคลำเลศก.พาณิชย์เผยขนุนสินค้ามาแรงครองใจชาวเอเชีย-ฮิสแปนิค เล็งผู้บริโภคใส่ใจในสุขภาพ-มังสวิรัติในสหรัฐ แนะทำตลาดไม้-เม็ดขนุนศักยภาพสูง

    ก.พาณิชย์เผยขนุนสินค้ามาแรงครองใจชาวเอเชีย-ฮิสแปนิค เล็งผู้บริโภคใส่ใจในสุขภาพ-มังสวิรัติในสหรัฐ แนะทำตลาดไม้-เม็ดขนุนศักยภาพสูง หลังสินค้ากลุ่มนี้ยังไม่มีคู่แข่งในตลาดสหรัฐฯ สร้างโอกาสรายได้เติบโต

   นางมาลี โชคล้ำเลิศ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์  เปิดเผยว่า สินค้าขนุนสดและผลิตภัณฑ์จากขนุนได้รับความนิยมมากขึ้นในตลาดสหรัฐฯ ในฐานะสินค้าอาหารทางเลือกแทนเนื้อสัตว์ โดยแพร่หลายทั้งในตลาดค้าปลีกที่เป็นของชาวเอเชีย ชาวฮิสแปนิค และตลาดค้าปลีกทั่วไป  เนื่องจากผู้บริโภคในสหรัฐฯ เชื่อว่า เนื้อขนุนมีแคลลอรี่ต่ำ อุดมด้วยวิตามินซี อีกทั้งเนื้อขนุนที่ทำสุกแล้วจะมีลักษณะเหมือนเนื้อหมูฉีกหรือเนื้อไก่ฉีก

      ปัจจุบันสื่อสหรัฐฯ หลายสำนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อที่เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคสินค้าอินทรีย์และมังสวิรัตได้ให้ความสนใจและนำเสนอประโยชน์ของขนุนแก่ผู้บริโภค โดยหลายสื่อเรียกขนุนว่าเป็น “New Super Fruit” พร้อมนำเสนอวิธีการปรุงอาหารจากขนุนอย่างแพร่หลาย ทั้งในรูปแบบของขนุนสด ขนุนอ่อน และเม็ดขนุน

     “สินค้ากลุ่มนี้ยังไม่มีคู่แข่งในตลาดสหรัฐฯ การสร้างโอกาสของตลาดสินค้าขนุนไทยจะเกิดขึ้นได้ โดยความร่วมมือจากร้านอาหารไทยในสหรัฐฯ และภาครัฐ ผ่านการกระตุ้นและให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการร้านอาหารไทยในการปรุงอาหารจากเนื้อขนุน รวมถึงการประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้ผู้บริโภคสหรัฐฯ หันมาเลือกซื้อสินค้าอาหารไทยที่ผลิตจากขนุนเพิ่มมากขึ้น อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศกล่าว

     ปัจจุบันมีการนำขนุนไปใช้ในการประกอบอาหารหลายประเภทในสหรัฐฯ เช่น บาร์บีคิว พิซซ่า ซุปแซนวิช แยม น้ำผลไม้ ไอศกรีม และเค้ก เป็นต้น ในขณะที่ผู้บริโภคเชื้อสายฮิสแปนิคนิยมทำเป็นทาโก้ (Taco) นาโช (Nacho) เอนชิลาดาส์ (Enchiladas)  และผู้บริโภคเชื้อสายอินเดียนิยมนำไปทำแกงขนุน

    อย่างไรก็ตาม การส่งออกขนุนสดจากไทยไปยังตลาดสหรัฐฯ อาจมีประเด็นเรื่องการรักษาความสดและคุณภาพของสินค้า อีกทั้งน้ำหนักของขนุนจะกระทบค่าใช้จ่ายในการขนส่ง ส่งผลให้มีต้นทุนสูงกว่าขนุนสดจากประเทศเม็กซิโกและประเทศในอเมริกาใต้ที่ขนส่งในระยะทางที่ใกล้กว่า ผู้ประกอบการไทยจึงควรพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากขนุนที่มีความหลากหลายเพื่อเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ เช่น เนื้อขนุนอ่อนในน้ำบรรจุกระป๋อง ของว่างที่ทำจากขนุนและเม็ดขนุน เป็นต้น

     มีรายงานว่าในระหว่างปี 2557 – 2558 ประมาณร้อยละ 25 หรือ 1 ใน 4 ของผู้บริโภคสหรัฐฯ ลดการบริโภคเนื้อสัตว์ และยอดจำหน่ายอาหารที่เป็นทางเลือกอื่นของเนื้อสัตว์มีการเติบโตจาก 69 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2554 เป็น 109 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2558 บริษัท Melissa’s Produce ผู้นำเข้าและกระจายสินค้าพืชผักสดรายใหญ่ของสหรัฐฯ ระบุว่า ขนุนได้เข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ มานานแล้ว โดยในปี 2556 บริษัทสามารถขายสินค้าขนุนได้เพียงปีละไม่กี่ลัง แต่ในปัจจุบันนี้สามารถขายสินค้าได้ถึง 1,000 ลังต่อเดือน

    สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส รายงานเพิ่มเติมว่า ปัจจัยหลักในการสนับสนุนการส่งออกผลิตภัณฑ์ขนุนของไทยมี 2 ประการ ประการแรกคือ ประเทศไทยอุดมไปด้วยวัตถุดิบและมีการผลิตสินค้าจากขนุนอยู่แล้วจึงมีความพร้อมในการเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ ประการที่สองคือ ตลาดการบริโภคผลิตภัณฑ์ขนุนของสหรัฐฯ ยังอยู่ในระยะเริ่มต้น การแข่งขันจึงยังคงอยู่ในระดับต่ำ โดยสินค้าที่ยังไม่แพร่หลายในตลาดสหรัฐฯ แต่มีศักยภาพสูงได้แก่ เม็ดขนุน ซึ่งอุดมไปด้วยโปรตีน โปตัสเซียม แคลเซียม และธาตุเหล็ก รวมถึงเนื้อขนุนตากแห้ง และไม้ขนุน

    การวิจัยในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในสหรัฐฯ ระบุว่า เฟอร์นิเจอร์จากไม้ขนุนมีความคล้ายคลึงกับไม้มะฮ๊อกกานี และมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับไม้สัก คือ เป็นไม้ที่ปลวกไม่ขึ้น และทนทานต่อเชื้อราหรือแบคทีเรีย สามารถขัดเงาได้อย่างสวยงาม จึงเป็นอีกโอกาสหนึ่งของผู้ประกอบการไทยที่จะคิดค้นประดิษฐ์เฟอร์นิเจอร์และสินค้าอื่นๆ ที่เป็นผลิตภัณฑ์ไม้โดยใช้ไม้ขนุนเป็นวัตถุดิบ

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!