WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOCชตมา บณยประภศร copyชงตั้งสถาบันการพาณิชย์ข้าว

       บ้านเมือง : น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์จะเสนอให้คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน พิจารณาอนุมัติการจัดตั้งสถาบันการพาณิชย์ข้าว เพื่อทำหน้าที่วิจัยและพัฒนาข้าวไทยไปสู่การเป็นซูเปอร์ ฟู้ดส์ โดยจะของบประมาณในการจัดตั้งประมาณ 600 ล้านบาท เพื่อขับเคลื่อนสถาบัน และหากได้รับการอนุมัติก็จะดำเนินการจัดตั้งให้แล้วเสร็จภายใน 5-6 เดือน

      ทั้งนี้ แนวทางในการจัดตั้งสถาบันจะหารือกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.) เพื่อมาช่วยคิดว่าจะจัดตั้งในรูปแบบใด เพราะจะให้บริหารแบบราชการคงไม่ได้ เพราะสถาบันนี้ ต้องใช้คนเก่ง คนมีความสามารถ และต้องมีค่าตอบแทนที่สูงพอที่จะดึงคนเหล่านี้เข้ามาทำงาน ให้เข้ามาทำการวิจัยพัฒนาข้าวไปสู่การเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของโลก

     "ถ้า นบข.เอาด้วย สถาบันนี้เกิดแน่ เพราะจริงๆ ต้องเกิดมาตั้งแต่ปีก่อน แต่ที่ผ่านมา ไปทำเรื่องระบายข้าว ทำเรื่องการวางระบบการบริหารจัดการข้าวครบวงจร ซึ่งตอนนี้ก็มีความชัดเจนหมดแล้ว จึงต้องเริ่มมาวางอนาคตให้กับข้าวไทย เพราะข้าวเป็นสินค้าที่องค์ในหลวงและองค์ราชินีทรงให้ความสำคัญ และทรงย้ำเสมอว่าข้าวคือชีวิต และพื้นที่เกษตรของไทยกว่า 60% ก็คือข้าว ซึ่งแสดงว่าข้าวเป็นสินค้าสำคัญ จึงต้องมีสถาบันที่เข้ามาทำ เข้ามาพัฒนาต่อให้ข้าวเป็นซูเปอร์ ฟู้ดส์ให้ได้" น.ส.ชุติมา กล่าว

    น.ส.ชุติมา กล่าวอีกว่า การวิจัยพัฒนาข้าวไปสู่การเป็นซูเปอร์ ฟู้สด์ สามารถทำได้หลายอย่าง ทั้งการนำข้าวไปผลิตเป็นอาหารสำหรับเด็ก อาหารสำหรับคนชรา อาหารสำหรับคนวัยหนุ่มสาว อาหารลดความอ้วน ลดเบาหวาน การนำไปทำเครื่องสำอาง ทำน้ำมันจากข้าว ซึ่งดีกว่าน้ำมันมะกอก แต่การนำข้าวไปพัฒนาเป็นสินค้าเหล่านี้ จะต้องมีการวิจัยและพัฒนา เพราะเป็นการลงทุนและใช้เงินสูง ซึ่งหากสถาบันทำสำเร็จออกมาแล้ว ก็สามารถส่งต่อไปให้ผู้ประกอบการนำไปต่อ ยอดผลิตเป็นสินค้าออกสู่ตลาดเชิงพาณิชย์ได้

     นอกจากนี้ ยังมีส่วนช่วยยกระดับรายได้ให้กับเกษตรกร เพราะในการนำข้าวมาผลิตเป็นซูเปอร์ ฟู้ดส์ การเพาะปลูกข้าวจะต้องมีมาตรฐาน เป็นสินค้าอินทรีย์ และต้องผ่านมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) เพื่อให้ได้ข้าวที่มีคุณภาพมาป้อนการผลิต ซึ่งหากเกษตรกรทำได้ตามนี้ ก็จะทำให้ขายข้าวได้ในราคาที่สูงขึ้น

    อย่างไรก็ตาม ในการจัดตั้งสถาบันคาดว่าจะก่อให้เกิดรายได้จากการนำข้าวไปผลิตเป็นสินค้าต่างๆ และมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 10,000 ล้านบาท ทำให้รัฐเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ได้ 700 ล้านบาท จากเดิมที่ไม่สามารถเก็บ VAT จากสินค้าข้าวได้ แต่หากมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น ก็จะเก็บ VAT ได้มากขึ้น

รัฐเตรียมประกาศโซนนิ่งปลูกข้าวปี 59/60 ในสัปดาห์หน้า คาดเหลือพื้นที่ 55.8 ล้านไร่

                น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า การจัดทำแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจรในการผลิตปี 59/60 ที่จะเริ่มเพาะปลูกได้ราวเดือนพ.ค.นี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะประกาศพื้นที่ส่งเสริมการเพาะปลูกข้าวประมาณสัปดาห์หน้า เพื่อให้เกษตรกรได้รับรู้ว่ามีพื้นที่ใดบ้างที่อยู่ในเขตส่งเสริม ซึ่งน่าจะมีพื้นที่ในเขตส่งเสริมทั่วประเทศราว 55.8 ล้านไร่ จากปีก่อน ที่มีพื้นที่ปลูกข้าวนาปีทั้งหมด 61.74 ล้านไร่ ส่วนพื้นที่ที่ไม่อนุญาตให้เพาะปลูกข้าว กระทรวงเกษตรฯ จะส่งเสริมให้ปลูกพืชชนิดอื่นทดแทน และกระทรวงพาณิชย์จะฝึกอาชีพ และหาอาชีพเสริม เพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้น

       สำหรับ การกำหนดพื้นที่ให้เพาะปลูกข้าวดังกล่าว เพื่อให้เหมาะสมกับทรัพยากรน้ำ สภาพพื้นที่ และปริมาณความต้องการของตลาด โดยในปี 59/60 กำหนดให้เพาะปลูกข้าวนาปีได้ไม่เกิน 27 ล้านตันข้าวเปลือกเท่านั้น จากที่ผ่านมา มีผลผลิตมากกว่า 30 ล้านตันข้าวเปลือก

      "การกำหนดพื้นที่เพาะปลูกข้าว กระทรวงเกษตรฯ ได้นำเทคโนโลยีของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA มาใช้ และได้จัดทำแผนที่เกษตรเพื่อบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-Map) ซึ่งจะทำให้ดูได้ว่าพื้นที่ไหนเหมาะสมปลูกข้าว พื้นที่ไหนไม่เหมาะ เพื่อให้การเพาะปลูกมีประสิทธิภาพมากขึ้น" น.ส.ชุติมา กล่าว

     นอกจากนี้ ในการกำกับดูแลการเพาะปลูกข้าวนั้นได้กำหนดให้มีผู้ประสานงานดูแล โดยมีผู้ตรวจราชการจากกระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรฯ และกระทรวงพาณิชย์ รวม 28 คนเป็นหัวหน้าคณะ เพื่อแบ่งแยกกันดูแลทั้งประเทศ ตั้งแต่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ โดยจะดูแลตั้งแต่การเพาะปลูก ไปจนถึงการเก็บเกี่ยว และหากพบจุดใด มีปัญหา จะได้สามารถแก้ปัญหาได้ทันท่วงที

    ส่วนกรณีที่กระทรวงเกษตรฯจะส่งเสริมให้เกษตรรวมพื้นที่ทำนาเป็นแปลงใหญ่ เพื่อลดต้นทุนการผลิต ล่าสุดได้เพิ่มสิ่งจูงใจให้เกษตรกรรวมตัวกันเป็นกลุ่มและทำนาแปลงใหญ่แล้ว โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จะปล่อยกู้ให้กลุ่มละ 5 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยต่ำ เพื่อนำเงินไปใช้หมุนเวียนในการเพาะปลูก ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ได้ประสานกับโรงสี เพื่อให้เข้ามารับซื้อผลผลิตข้าวเปลือกแล้ว โดยขณะนี้มีโรงสีแจ้งความประสงค์แล้วกว่า 300 ราย

          อินโฟเควสท์

ชง 3 แผนโละข้าว 11 ล้านตันพาณิชย์ขอ 600 ล.ผุดสถาบันวิจัย

    ไทยโพสต์ : นนทบุรี * พาณิชย์ชง นบข. 25 เม.ย.นี้ เคาะ 3 แผนระบายข้าวในสต็อก 11.6 ล้านตัน "ชุติมา" เดินหน้าโละข้าวเสีย 2.4 ล้านตันให้หมดภายในปีนี้ พร้อมของบ 600 ล้านบาท จัดตั้ง'สถาบันการพาณิชย์ข้าว' ลุยวิจัยพัฒนาสู่ "ซูเปอร์ ฟู้ดส์" คาดสร้างมูลค่าได้หมื่นล้านบาทต่อปี

     น.ส.ชุติมา บุณยประ ภัศร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เตรียมเสนอแผนระบายข้าวสต็อกรัฐบาลเกรด ซีที่ปนกับข้าวเกรดพี, เอ และ บี จำนวน 11.6 ล้านตัน ต่อที่ประชุมคณะกรรมการนโย บายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ซึ่งมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ในวันที่ 25 เม.ย. นี้

    เบื้องต้น กำหนดการระบายไว้ 3 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบที่ 1 มีข้าวเกรดซีที่ปะปนกับข้าวเกรดพี, เอ และบี ซึ่งปะปนในแต่ละคลังไม่เกิน 20% ปริมาณ 7.5 ล้านตัน โดยจะเปิดประมูลเป็นการทั่วไปแบบยกคลัง เพื่อให้การระบายข้าวทำได้รวดเร็ว

    รูปแบบที่ 2 มีข้าวเกรดซีปะปนกับข้าวเกรดพี, เอ และบี มากกว่า 20% ขึ้นไป ปริมาณ 1.3 ล้านตัน โดยจะเปิดประมูลเป็นการทั่วไป แต่จะมีตรวจข้าวเกรดซีที่ระบายออกไป โดยมอบหมายให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) มีการเข้าไป      รูปแบบที่ 3 คือ มีข้าวเกรดซี หรือข้าวผิดมาตรฐาน ข้าวผิดชนิด ข้าวเสีย อยู่เกือบ ทั้งคลัง ปริมาณ 2.4 ล้านตัน ซึ่งมีข้าวพี, เอ และบี ปะปนอยู่เพียงเพียงเล็กน้อย จะมีการระบายข้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับคนและสัตว์ และจะมีการตรวจสอบเข้มงวดมากที่สุดทั้งการระบาย การขนย้าย ซึ่งจะมีการตรวจสอบอย่างใกล้ชิด โดยข้าวกลุ่มนี้ตั้งเป้าระบายข้าวให้หมดภายในปี 2559

     น.ส.ชุติมากล่าวอีกว่า จะเสนอ นบข.พิจารณาอนุมัติการจัดตั้งสถาบันการพาณิชย์ข้าว เพื่อทำหน้าที่วิจัยและพัฒนาข้าวไทยไปสู่การเป็นซูเปอร์ ฟู้ดส์ โดยจะของบประมาณในการจัดตั้งประมาณ 600 ล้านบาท เพื่อขับเคลื่อนสถาบัน และหากได้รับการอนุมัติ จะดำเนินการจัดตั้งให้แล้วเสร็จภายใน 5-6 เดือน

     "ถ้า นบข. เอาด้วย สถา บันนี้เกิดแน่ เพราะจริงๆ ต้องเกิดมาตั้งแต่ปีก่อน แต่ที่ผ่านมา ไปทำเรื่องระบายข้าว ทำเรื่องการวางระบบการบริหารจัดการข้าวครบวงจร ซึ่งตอนนี้มีความชัดเจนหมดแล้ว จึงต้องเริ่มมา วางอนาคตให้กับข้าวไทย" น.ส. ชุติมากล่าว

     อย่างไรก็ตาม ในการจัดตั้งสถาบัน คาดว่าจะก่อให้เกิดรายได้จากการนำข้าวไปผลิตเป็นสินค้าต่างๆ และมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 10,000 ล้านบาท ทำให้รัฐเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ได้ 700 ล้านบาท จากเดิมที่ไม่สามารถเก็บ VAT จากสินค้าข้าวได้ แต่หากมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น จะเก็บ VAT ได้มากขึ้น.

พาณิชย์ เตรียมชง 3 แนวทางให้ นบข.อนุมัติแผนระบายข้าวแบบคละเกรด 25 เม.ย.

     น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เตรียมเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ในวันที่ 25 เม.ย.นี้ พิจารณาแผนการระบายข้าวสารรัฐบาลเกรดซี (ข้าวเสื่อมคุณภาพ ข้าวผิดมาตรฐาน) ที่ปะปนอยู่ในคลังเดียวกับข้าวเกรดพี เอ และบี (ข้าวผ่านมาตรฐาน) จำนวน 11.6 ล้านตัน

      โดยข้าวเกรดซีที่ผสมกับเกรดพี เอ และบี มีการปะปนกันตั้งแต่ 1-50% เบื้องต้นกำหนดการระบายไว้ 3 รูปแบบ คือ รูปแบบที่ 1 มีข้าวเกรดซีที่ปะปนกับข้าวเกรดพี เอ และบี ในแต่ละคลังไม่เกิน 20% ปริมาณ 7.5 ล้านตัน เช่น ข้าว 1 คลัง มี 10 กอง จะมีข้าวเกรดซีอยู่ 2 กอง โดยจะเปิดประมูลเป็นการทั่วไปแบบยกคลัง เพื่อให้การระบายข้าวทำได้รวดเร็ว หากมีการแยกข้าวเกรดซีออกมา จะทำให้รัฐบาลมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น

      รูปแบบที่ 2 มีข้าวเกรดซีปะปนกับข้าวเกรดพี เอ และบี มากกว่า 20% ขึ้นไปรวม 1.3 ล้านตัน ซึ่งจะเปิดประมูลเป็นการทั่วไป โดยนำไปผลิตได้ทั้งอาหารคน สัตว์ และเข้าสู่อุตสาหกรรม แต่จะตรวจสอบ และควบคุมการขนย้ายข้าวเกรดซีตั้งแต่โกดังจนถึงโรงงานผู้ซื้อเข้มงวด โดยมอบหมายให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ดำเนินการ

     รูปแบบที่ 3 มีข้าวเกรดซีอยู่เกือบทั้งคลัง และมีข้าวเกรดพี เอ และบี ปะปนเล็กน้อยเท่านั้น ปริมาณ 2.4 ล้านตัน ซึ่งจะระบายสู่อุตสาหกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับคนและสัตว์ โดยข้าวกลุ่มนี้ ตั้งเป้าระบายให้หมดทั้ง 2.4 ล้านตันภายในปี 59

      ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า สำหรับการประมูลข้าวครั้งต่อไปจะเป็นเมื่อใด ข้าวชนิดใด และปริมาณเท่าไรนั้น อยู่ระหว่างการศึกษารายละเอียด แต่จะรีบนำข้าวเสีย 2.4 ล้านตันออกมาระบาย ซึ่งตามกรอบการระบายข้าวจะอยู่ในช่วงเดือนมี.ค.-ก.ค.59 เพราะเป็นช่วงที่ผลผลิตข้าวยังไม่ออกสู่ตลาด และเป็นช่วงที่เหมาะสม

      นอกจากนี้ เตรียมเสนอให้ที่ประชุมนบข.ให้พิจารณาอนุมัติการจัดตั้งสถาบันการพาณิชย์ข้าว เพื่อวิจัยและพัฒนาข้าวไทยไปสู่การเป็นซูเปอร์ฟูดส์ หรือผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย และมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของโลก โดยจะของบประมาณจัดตั้งประมาณ 600 ล้านบาท หากได้รับการอนุมัติ จะดำเนินการจัดตั้งให้แล้วเสร็จภายใน 5-6 เดือน

      "ข้าวทำเป็นสินค้าอื่นๆ ได้หลากหลายกว่าการขายแค่สินค้าเกษตรขั้นปฐม ที่ผ่านมาไม่มีใครทำ อาจไม่กล้าลงทุน จึงต้องมีสถาบันนี้เพื่อวิจัยและพัฒนา นำข้าวไปผลิตเป็นสินค้าอื่นๆ ที่มีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรขายข้าวได้ราคาดีขึ้น และมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้ ถ้า นบข. เอาด้วย สถาบันนี้เกิดแน่ เพราะข้าวเป็นสินค้าที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระราชินี ทรงให้ความสำคัญ และทรงย้ำเสมอว่าข้าวคือชีวิต" น.ส.ชุติมา กล่าว

      โดยข้าวสามารถนำมาเป็นวัตถุดิบใช้ผลิตสินค้าได้หลากหลาย ทั้งการนำข้าวไปผลิตเป็นอาหารสำหรับเด็ก คนชรา คนวัยหนุ่มสาว อาหารลดความอ้วน ลดเบาหวาน หรือเครื่องสำอาง ยา น้ำมันจากรำข้าว ซึ่งมีคุณค่าทางโภชนาดีกว่าน้ำมันมะกอก แต่กว่าจะผลิตเป็นสินค้าเหล่านี้ได้ ต้องมีการวิจัยและพัฒนา ซึ่งใช้เงินสูงมาก บริษัทเอกชนอาจไม่กล้าทำ เพราะอาจไม่คุ้มค่า แต่หากสถาบันฯเป็นผู้วิจัยและพัฒนาจนสำเร็จ ก็อาจมีนักลงทุนสนใจนำไปผลิตเป็นสินค้าออกสู่ตลาดได้ ซึ่งจะช่วยยกระดับรายได้ และความเป็นอยู่ของเกษตรกรได้

       "ตั้งเป้าหมายว่า สถาบันนี้จะสามารถสร้างความแข็งแกร่งให้กับข้าวไทยได้ภายใน 5 ปีหลังจากการจัดตั้ง และจะสามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศได้ราว 10,000 ล้านบาท ซึ่งรัฐจะสามารถจัดเก็บรายได้จากแวตได้ถึง 700 ล้านบาท จากเดิมที่ขายการข้าวสารไม่สามารถจัดเก็บแวตได้ แต่ถ้าภายใน 5 ปียังไม่มีอะไรเกิดขึ้น คงต้องยุบทิ้งได้เลย" น.ส.ชุติมา กล่าว

         อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!