WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOCสวทย เมษนทรย copyพาณิชย์ เผยส่งออก ก.พ.59 บวก 10.27% รับยอดส่งออกทองคำกระฉูด ส่วนนำเข้า -16.82% ดุลการค้าเดิน 4.9 พันล้านเหรียญ

      พาณิชย์ เผยส่งออกเดือน ก.พ.59 พลิกบวก 10.27% จากที่ติดลบ 13 เดือนติดต่อกัน รับยอดส่งออกทองคำพุ่งถึง 1,051% แต่หากหักส่งออกน้ำมัน -ทองคำออกจะขยายตัว 2.4% ส่วนนำเข้ายังไม่ฟื้น -16.82%  ขณะที่ดุลการค้าเดิน 4.9 พันล้านเหรียญ ทั้งนี้ รอบ 2 เดือนแรกปี 59 ส่งออกขยายตัวได้ 0.67% นำเข้าติดลบ 14.54% ดุลการค้าเกินดุล 5.2 ล้านเหรียญ

     นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงภาวะการค้าระหว่างประเทศใน เดือน ก.พ.59 การส่งออกมีมูลค่า 18,994 ล้านเหรียญสหรัฐฯ พลิกกลับมาเป็นบวก 10.27% หลัง จากที่ติดลบต่อเนื่องมา 13 เดือน ขณะที่นำเข้ามีมูลค่า 14,008 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ติดลบ 16.82% ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 4,986 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

    ทั้งนี้ ส่งผลให้ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 59 (ม.ค.-ก.พ.) การส่งออกขยายตัวได้ 0.67% มูลค่า 34,705 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขณะที่การนำเข้าติดลบ 14.54% มีมูลค่า 29,482 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 5,223 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

   โดยเหตุผลที่ส่งออกพลิกกลับเป็นบวกเนื่องจากการส่งออกทองคำเพิ่มขึ้น 1,051% หลังราคาทองคำในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้นรวมทั้งมีการส่งออกเฮลิคอปเตอร์และยานยนต์ที่ใช้ในการซ้อมรบกลับออกไป หลัง ซ้อมรบเสร็จ  คิดเป็นมูลค่า 683 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

    ทั้งนี้ หากหักการส่งออกน้ำมันและทองคำออกแล้ว การส่ง ออกใน เดือนก.พ. ขยายตัว 2.4% และถ้าหักรายการพิเศษจากการส่งออก เฮลิคอปเตอร์และ ยานยนต์ซ้อมรบออกไปด้วย การส่งออกสินค้าปกติ ติดลบราว 2%

     โดยกระทรวงพาณิชย์เปิดเผยผ่านเอกสารเผยแพร่ว่า การส่งออกของไทยเดือนกุมภาพันธ์ 2559 พลิกกลับมาเป็นบวกในรอบ 13 เดือนจากการขยายตัวของการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ รวมทั้งการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรที่มีแนวโน้มการส่งออกดีขึ้นโดยเฉพาะในด้านปริมาณที่หลายสินค้ากลับมาขยายตัว อย่างไรก็ดียังคงต้องเฝ้าจับตามองสถานการณ์การค้าโลกที่ยังคงผันผวนอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ยังลดลงอย่างต่อเนื่อง และราคาสินค้าเกษตรที่ยังไม่ฟื้นตัว อย่างไรก็ดีการส่งออกของไทยมีสถานการณ์ที่ดีกว่าประเทศอื่นๆ มาก อีกทั้งข้อมูลการนำเข้าของประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยแสดงว่าไทยยังคงรักษาส่วนแบ่งตลาด (Market Share) ในตลาดและสินค้าส่งออกสำคัญไว้ได้ สะท้อนให้เห็นว่าความสามารถทางการแข่งขันของไทยไม่ได้ลดลงตามมูลค่าส่งออก นอกจากนี้รายได้จากการส่งออกของไทยในภาคบริการยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจการค้าบริการในประเทศเติบโตตามไปด้วยได้แก่ โรงแรมร้านอาหาร ขนส่งโทรคมนาคม ค้าปลีกค้าส่ง และตัวกลางทางการเงิน เป็นต้น

ก.พ.-59                                                  ม.ค. – ก.พ. 59                                                                                      

สกุลดอลลาร์                         สกุลเงินบาท                                          สกุลดอลลาร์                                         สกุลเงินบาท         

มูลค่า      Growth (%YoY)    มูลค่า      Growth (%YoY)                    มูลค่า      Growth (%YoY)    มูลค่า                      Growth (%YoY)

(ล้านเหรียญฯ)                       (ล้านบาท)                                              (ล้านเหรียญฯ)                       (ล้านบาท)                             

มูลค่าการค้า      33,001  -3.12     1,194,165          7.56                  64,186  -6.94     2,318,972                          2.76

ส่งออก    18,994   10.27      683,842 22.52                      34,705   0.67        1,247,265                              11.23

นำเข้า     14,008   -16.82    510,323 -7.56                       29,482   -14.54    1,071,706                              -5.61

ดุลการค้า               4,986                      173,519                                 5,223                                      175,559

มูลค่าการค้าระหว่างประเทศในรูปของเงินบาท การส่งออกเดือนกุมภาพันธ์ 2559 มีมูลค่า 683,842 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 22.52 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน (YoY) และระยะ 2 เดือน (ม.ค. – ก.พ. 59) มีมูลค่า 1,247,265 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 11.23 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน (YoY)  ในขณะที่การนำเข้าเดือนกุมภาพันธ์ 2559 มีมูลค่า 510,323 ล้านบาท หดตัวร้อยละ -7.56 (YoY) และระยะ 2 เดือน (ม.ค. – ก.พ. 59) มีมูลค่า 1,071,706 ล้านบาท หดตัวร้อยละ -5.61 (YoY) ส่งผลให้ดุลการค้าระหว่างประเทศเดือนกุมภาพันธ์ 2559 เกินดุล 173,519 ล้านบาท และระยะ 2 เดือน (ม.ค. – ก.พ. 59) เกินดุล 175,559 ล้านบาท

  ขณะที่มูลค่าการค้าระหว่างประเทศในรูปของเงินเหรียญสหรัฐฯ การส่งออกเดือนกุมภาพันธ์ 2559 มีมูลค่า 18,994 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 10.27 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน (YoY) และระยะ 2 เดือน (ม.ค. – ก.พ. 59) มีมูลค่า 34,705 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 0.67 (YoY) แต่หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน และทองคำ มูลค่าส่งออกจะขยายตัวร้อยละ 2.4 (YoY) ในขณะที่การนำเข้าเดือนกุมภาพันธ์2559มีมูลค่า 14,008 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ -16.82 (YoY) และระยะ 2 เดือน (ม.ค. – ก.พ. 59) มีมูลค่า 29,482 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ -14.54 (YoY) ส่งผลให้ดุลการค้าระหว่างประเทศเดือนกุมภาพันธ์ 2559 ยังคงเกินดุลต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 ติดต่อกันมีมูลค่า 4,986 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และระยะ 2 เดือน (ม.ค. – ก.พ. 59) เกินดุล 5,223 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

    ด้านมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตร/อุตสาหกรรมเกษตรกลับมาขยายตัวจากปริมาณการส่งออกที่เพิ่มขึ้น โดยภาพรวมเดือนกุมภาพันธ์ 2559 มูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 (YoY) จากปริมาณการส่งออกสินค้าสำคัญที่เพิ่มสูงขึ้น ได้แก่ ข้าว ปริมาณส่งออกขยายตัวร้อยละ 14.2 (YoY) ยางพาราขยายตัวร้อยละ 4.9 (YoY) รวมทั้งทูน่ากระป๋อง (+11.0) กุ้งสดแช่แข็งและแปรรูป (+17.1) ไก่สดแช่แข็งและแปรรูป (+20.5) และน้ำตาล (+107.4) ซึ่งถึงแม้ว่าราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกยังคงชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง แต่มูลค่าการส่งออกสินค้าสำคัญในเดือนกุมภาพันธ์ 2559 นี้ กลับฟื้นตัวเป็นบวก โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าสำคัญ ได้แก่ ข้าว ขยายตัวร้อยละ 0.3 (YoY) เช่นเดียวกับ ไก่สดแช่แข็งและแปรรูป (+10.0) ผัก ผลไม้สด แช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป (+11.8) น้ำตาล (+78.3) ขยายตัวสูง ในขณะที่ ยางพารา ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ทูน่ากระป๋อง กุ้งสดแช่แข็งและแปรรูป ที่มีปริมาณการส่งออกขยายตัว แต่มูลค่าส่งออกกลับหดตัว สะท้อนว่าเป็นการหดตัวจากปัจจัยด้านราคาเป็นสำคัญ

    ส่วนมูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม กลับมาขยายตัวจากการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ ในขณะที่เศรษฐกิจโลกยังไม่ฟื้นตัว และราคาน้ำมันยังคงอยู่ในระดับต่ำ โดยภาพรวมเดือนกุมภาพันธ์ 2559 มูลค่าการส่งออกขยายตัวร้อยละ 13.8 (YoY) ปัจจัยหลักมาจากการขยายตัวของมูลค่าส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ ที่ขยายตัวสูงถึง 208.5 (YoY) ซึ่งเป็นการขยายตัวของการส่งออกทองคำถึงร้อยละ 1,051 (YoY) จากปัจจัยด้านราคาทองคำที่เริ่มสูงขึ้น และมีการส่งออกเพื่อเก็งกำไร เช่นเดียวกับเมื่อพิจารณา มูลค่าการส่งออก อัญมณีและเครื่องประดับที่ไม่รวมทองคำ ก็ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 18.4 (YoY) จากการส่งออกอัญมณีจำพวก เพชร พลอย และเครื่องประดับแท้ ไปยังตลาดสำคัญ โดยเฉพาะฮ่องกงที่ขยายตัวสูงถึง 35.9 (YoY) เนื่องจากการส่งออกไปขายในงาน Hong Kong International Jewelry Fair ในช่วงต้นเดือนมีนาคม 2559 ที่ผ่านมา

    ในขณะที่ สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันดิบหรืออุตสาหกรรมที่มีโครงสร้างการใช้วัตถุดิบซึ่งมาจากการกลั่นปิโตรเลียม ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก มีสัดส่วนรวมกันร้อยละ 7.6 ของมูลค่าส่งออก ยังคงหดตัวสูงต่อเนื่องถึงร้อยละ -18.5 จากปีก่อนหน้า ตามภาวะราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ยังไม่ฟื้นตัว

   โดยราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเดือนกุมภาพันธ์ 2559 ยังคงอยู่ในระดับต่ำที่ 29.6 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล เช่นเดียวกับมูลค่าส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าสำคัญอย่างเครื่องรับโทรทัศน์ฯ หดตัวสูง (-33.2) จากปัจจัยการย้ายฐานการผลิต รถยนต์และส่วนประกอบ (-2.1) หดตัวจากการส่งออกรถปิคอัพ รถแวนและส่วนประกอบ ในขณะที่การส่งออกรถยนต์นั่งยังคงขยายตัวสูงต่อเนื่อง ส่วนการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆ มูลค่าส่งออกของไทยชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลก และการชะลอการนำเข้าของประเทศคู่ค้า แต่ทั้งนี้ส่วนใหญ่พบว่าไทยยังมีสถานการณ์ส่งออกที่ดีกว่าภาพรวมการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมของโลกในเกือบทุกสินค้า

    ตลาดส่งออกสำคัญอย่าง สหรัฐฯ สหภาพยุโรป (15) ญี่ปุ่น และอาเซียนเดิม กลับมาขยายตัวเป็นบวก ขณะที่คู่ค้าสำคัญอย่างตลาด CLMV กลับหดตัว เช่นเดียวกับจีน ที่ยังคงหดตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลก และจากปัจจัยสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันเป็นสำคัญ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2559 การส่งออกไปยังตลาดหลัก ได้แก่ สหรัฐฯ กลับมาขยายตัวเป็นบวกร้อยละ 0.3 (YoY) สหภาพยุโรป (15) ขยายตัวร้อยละ 4.1 (YoY) และญี่ปุ่นขยายตัวสูงถึงร้อยละ 34.8 (YoY) ในขณะที่ตลาดคู่ค้าสำคัญที่ขยายตัวต่อเนื่องอย่าง CLMV กลับมาหดตัวจากการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป ซึ่งหดตัวถึงร้อยละ -5.8 (YoY) โดยเฉพาะการส่งออกไปยังกัมพูชา ลาว และเมียนมา ที่หดตัวจากการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปเป็นอันดับแรก เช่นเดียวกับ การส่งออกไปยังตลาดหลักอย่างจีน หดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -7.6 (YoY) จากภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้ารวมถึงการหดตัวของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และการใช้นโยบายลดการพึ่งพาการนำเข้าและเน้นใช้วัตถุดิบในประเทศ ซึ่งกระทบต่อสถานการณ์มูลค่าการส่งออกของประเทศในกลุ่มอาเซียนรวมทั้งไทย

      การค้าของไทยกับประเทศเพื่อนบ้านผ่านช่องทางการค้าชายแดน และผ่านแดน เติบโตต่อเนื่องจากปี 2558 (มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 8.3 ของมูลค่าการค้ารวมของไทย) โดยมูลค่าการค้าชายแดน (มาเลเซีย เมียนมา สปป.ลาว กัมพูชา) เดือนกุมภาพันธ์ 2559 มีมูลค่า 82,620 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.96 (YoY) และระยะ 2 เดือน (ม.ค. – ก.พ. 59) มีมูลค่า 168,813 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 1.54 (YoY) ทำให้ภาพรวมเดือนกุมภาพันธ์ 2559 ไทยได้ดุลการค้าชายแดนรวม 4 ประเทศ เป็นมูลค่า 12,382 ล้านบาท และระยะ 2 เดือน (ม.ค. – ก.พ. 59) ได้ดุลการค้า 24,966 ล้านบาท ขณะที่การค้าผ่านแดน (สิงคโปร์ จีนตอนใต้ เวียดนาม) เดือนกุมภาพันธ์ 2559 มีมูลค่า 8,829 ล้านบาท หดตัวร้อยละ -6.06 (YoY) และระยะ 2 เดือน (ม.ค. – ก.พ. 59)มีมูลค่า 24,102 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 5.10 (YoY) ทำให้ภาพรวมเดือนกุมภาพันธ์ 2559 ไทยขาดดุลการค้าผ่านแดนรวม 3 ประเทศ เป็นมูลค่า 988 ล้านบาท และระยะ 2 เดือน (ม.ค. – ก.พ. 59) ขาดดุลการค้า 1,856 ล้านบาท ซึ่งเมื่อรวมการค้าชายแดน และผ่านแดน เดือนกุมภาพันธ์ 2559 มีมูลค่าการค้ารวมทั้งสิ้น 91,448 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.67 (YoY) และระยะ 2 เดือน (ม.ค. – ก.พ. 59) มีมูลค่าการค้ารวมทั้งสิ้น 192,914 ล้านบาท ขยายตัว 3.61 (YoY)

    การส่งออกบริการของไทยขยายตัวสูง ภาพรวมปี 2558 สร้างรายได้เข้าประเทศมูลค่ากว่า 60,682 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 9.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (YoY) โดยบริการที่สร้างรายได้ให้กับประเทศได้มากที่สุด ได้แก่ สาขาการท่องเที่ยว มีมูลค่าการส่งออก 44,553 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.0 (YoY) ตามการขยายตัวของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทยซึ่งมีจำนวนถึง 29.9 ล้านคน ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 20.4 (YoY) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ส่งผลดีต่อภาพรวมเศรษฐกิจและภาคบริการในประเทศที่เกี่ยวเนื่องกับภาคการท่องเที่ยวได้แก่ โรงแรมร้านอาหาร ขนส่งโทรคมนาคม ค้าปลีกค้าส่ง และบริการทางการเงิน เป็นต้น ส่วนการส่งออกภาคบริการอันดับรองลงมาเป็นสาขาขนส่ง รับเหมาก่อสร้าง บริการโทรคมนาคม รวมถึงรายรับจากบริการทางการเงินเติบโตได้ดีที่ร้อยละ 13.9 (YoY)  ในขณะที่การนำเข้าบริการปี 2558 ไทยมีรายจ่ายภาคบริการ 50,787 ล้านเหรียญ หดตัวร้อยละ -4.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (YoY) โดยบริการสาขาที่มีมูลค่าการนำเข้าสูงที่สุด ได้แก่ สาขาขนส่ง มีมูลค่าการนำเข้า 23,821 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ -10.8 (YoY) คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 46.9 ของมูลค่าการนำเข้าภาคบริการทั้งหมด รองลงมาเป็นการนำเข้าสาขาท่องเที่ยว และสาขาบริการทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งมีมูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 7.4 และ 3.3 (YoY) ตามลำดับ อย่างไรก็ดี โดยภาพรวมประเทศไทยยังคงได้ดุลจากการค้าภาคบริการกว่า 9,895 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

ยอดเดือน'กพ.'โต 10%ไม่ใช่สัญญาณบวกส่งออกทั้งปียังเสี่ยง'ติดลบ'

    แนวหน้า : 'พาณิชย์'ยอมรับตัวเลขส่งออกเดือนก.พ.ที่ขยายตัว 10% เป็นเพราะมีการรวมยอดส่งออก "ปัจจัยพิเศษ" เข้าไปด้วย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุยังไม่ถือเป็น ภาพบวก และทั้งปียังเสี่ยงตัวเลขติดลบ

     นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า การส่งออกของไทยในเดือน ก.พ. 2559 มีมูลค่า 18,994 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 10.27% ซึ่งเป็นการกลับมาเป็นบวกในรอบ 14 เดือน นับตั้งแต่ ธ.ค. 2557 ทั้งนี้การที่ตัวเลขส่งออกในเดือน ก.พ. พลิกมาเป็นบวก เป็นผลมาจากการส่งออกทองคำ เพื่อการเก็งกำไรเพราะเป็นช่วงที่ทองมีราคาสูงขึ้น มูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 1,051% รวมถึง มียอดการส่งออกยุทโธปกรณ์ซ้อมรบภายหลังการซ้อมรบ เสร็จสิ้น ที่มีมูลค่า 683 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งปกติไม่มีตัวเลขการส่งออกส่วนนี้ เดือนนี้จึงเป็นกรณีพิเศษเป็นปัจจัยชั่วคราวที่ส่งผลให้ตัวเลขส่งออกขยายตัวสูง

      "ตัวเลขการส่งออกยุทโธปกรณ์ที่เกี่ยวกับการซ้อมรบ เป็นเรื่องเกี่ยวกับมาตรฐานการจัดทำข้อมูลของ กรมศุลกากร ที่เมื่อมีการเข้ามาเพื่อการซ้อมรบในประเทศไทย ก็จะมีการนำเข้าอุปกรณ์เหล่านี้มา และเมื่อซ้อมเสร็จก็จะตีเป็นการส่งออกไป เช่น เฮลิคอปเตอร์ และยานยนต์ที่ใช้ในการซ้อมรบ ซึ่งส่วนนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)จะไม่นับรวมมูลค่าส่งออกเหล่านี้เข้าไปเป็นรายได้"

     ทั้งนี้ หากหักตัวเลขการส่งออกเฮลิคอปเตอร์และยุทโธปกรณ์ซ้อมรบ ออกตัวเลขการส่งออกเดือนก.พ. จะขยายตัวที่ 6.3% ขณะเดียวกันมูลค่าการส่งออกที่หัก ตัวเลขส่งออกน้ำมัน และทองคำออก จะขยายตัวที่ 2.4% และหากว่าหักตัวเลขการส่งออก ทั้ง น้ำมัน ทองคำ และยุทโธปกรณ์ซ้อมรบ ซึ่งมีมูลค่ารวมกันกว่า 2,500 ล้านเหรียญสหรัฐ ออกตัวเลขส่งออกของไทยในเดือนก.พ. จะติดลบที่ 2.0%"

     อย่างไรก็ตาม ในครึ่งปีแรกนี้ มองว่าการส่งออกของไทยจะไม่เลวร้าย และยังคงทรงในระดับปัจจุบันได้ แต่ก็ยืนยันไม่ได้ว่าจะเป็นตัวเลขบวกตลอด เพราะทิศทางการ ส่งออกสินค้าทั่วโลกมีแนวโน้มลดลงจากการนำเข้าที่ลดลง เศรษฐกิจโลกมีความผันผวน ซึ่งเป็นปัจจัยภายนอก ที่เราไม่สามารถควบคุมได้ แต่ในส่วนของการส่งออก ภาคบริการก็มีแนวโน้มที่ดีมากและเติบโตอย่างต่อเนื่อง และน่าจะเป็นบวกแน่นอน

       "เป้าหมายการส่งออก 5% ที่กระทรวงพาณิชย์ ตั้งไว้ ถือเป็นเป้าหมายที่เรามุ่งมั่น จะทำงานและอยากจะไปให้ถึง และเชื่อว่าครึ่งปีแรก ตัวเลข การค้าไทยจะไม่เลวร้ายนัก" รมช.พาณิชย์ กล่าว

        ขณะที่ บทวิจัย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า แม้การส่งออก จะกลับมาบันทึกตัวเลขการเติบโตได้สูงเป็นตัวเลขสองหลักในเดือนก.พ. 2559 (+10.27%) แต่รายละเอียดของข้อมูลสะท้อนว่า ความเปราะบางของเศรษฐกิจโลกยังคงส่งผลทำให้การส่งออกในสินค้ากลุ่มที่มีความสำคัญต่อภาคอุตสาหกรรมของประเทศยังไม่ ฟื้นตัวกลับมาอย่างชัดเจน

       "หลังจากที่ภาพรวมการส่งออกในช่วง 2 เดือนแรก ของปี 2559 ขยายตัวได้ร้อยละ 0.67 (เทียบปีต่อปี) ดังนั้น การที่การส่งออกของไทยทั้งปี 2559 จะสามารถเลี่ยงตัวเลข ที่ติดลบได้นั้น สถานการณ์การส่งออกในช่วง 10 เดือน ที่เหลือของปี จะต้องมีมูลค่าการส่งออกต่อเดือนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 18,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งสูงกว่าในช่วง 2 เดือนแรก ของปี ที่มีค่าเฉลี่ยประมาณ 17,350 ล้านดอลลาร์ (ทั้งที่รวมผลของเดือนก.พ. ที่มีแรงหนุนจากการส่งออกทองคำ และรายการสินค้าส่งกลับในกลุ่มยุทโธปกรณ์)

      ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงประเมินว่า แนวโน้ม การฟื้นตัวของภาคการส่งออกในปีนี้ ยังคงมีความท้าทายอยู่อีกมากพอสมควร เพราะนอกจากจะเผชิญกับภาวะการค้าและเศรษฐกิจโลกที่มีความผันผวนแล้ว การฟื้นตัว ของสินค้าส่งออกที่เป็นรายการสำคัญ ก็คงไม่อาจเกิดขึ้น ได้เร็ว ตราบใดที่คำสั่งซื้อจากตลาดส่งออกหลัก โดยเฉพาะ จีน สหรัฐ และยุโรป ยังคงมีภาพที่อ่อนแอ

     "แม้การส่งออกที่ขยายตัวสูงในเดือนก.พ. 2559 จะช่วย ล้างภาพการหดตัวของเดือนม.ค. 2559 ที่ร้อยละ -8.9 ได้ และ หนุนให้ภาพรวมของการส่งออกขยายตัวได้ร้อยละ 0.67 ในช่วง 2 เดือนแรก ของปี 2559 อย่างไรก็ดี ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า สัญญาณดังกล่าวอาจจะยังไม่ถือเป็นภาพบวกมากนักต่อ ภาคการส่งออกของไทย เพราะหากไม่นับรวมการส่งออก รายการพิเศษจากทองคำ เฮลิคอปเตอร์และยานยนต์ ซ้อมรบแล้ว สถานการณ์การส่งออกสินค้าในหมวดสำคัญอื่นๆ ของไทย ก็ยังคงมีภาพที่อ่อนแอ" ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุ

ปลื้มส่งออกก.พ.โต 10.27% บวกครั้งแรกในรอบ 14 เดือน'พาณิชย์'ยันคงเป้าทั้งปี 5%

     ไทยโพสต์ : สนามบินน้ำ * 'พาณิชย์ปลื้มส่งออกเดือน ก.พ.59 เพิ่มขึ้น 10.27% พลิกกลับมาเป็นบวกครั้งแรกในรอบ 14 เดือน ‘สุวิทย์งมั่นใจแนวโน้มส่งออกดีขึ้น ยืนเป้าทั้งปี 5% ไว้มุ่งมั่นทำงาน พร้อมโชว์รายได้บริการเป็นครั้งแรก เผยปี 58 ส่งออกได้ถึง 6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ

     นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า การส่งออกเดือน ก.พ.2559 มีมูลค่า 18,994 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 10.27% ซึ่งกลับมาเป็นบวกครั้งแรกในรอบ 14 เดือน นับจากเดือน ม.ค.2558 ที่ติดลบ 3.45% ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 14,008 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 16.82% ส่งผลให้ไทยเกินดุลการค้า 4,986 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนการส่งออกในช่วง 2 เดือนของปี 2559 (ม.ค.-ก.พ.) มีมูลค่า 34,705 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 0.67% ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 29,482 ล้านเหรียญสหรัฐ ติดลบ 14.54% และเกินดุลการค้ามูลค่า 5,223 ล้านเหรียญสหรัฐ

      ทั้งนี้ การส่งออกเดือน ก.พ. ที่เพิ่มขึ้น 10.27% นั้น เป็นการเพิ่มขึ้นที่ไม่ปกติ เพราะมีการบันทึกตัวเลขการส่งออกสินค้ากลุ่มยุทโธปกรณ์ที่ใช้ในการซ้อมรบ ซึ่งมีมูลค่า 683 ล้านเหรียญสหรัฐเข้าไปด้วย ซึ่งหากหักออก การส่งออกจะเพิ่มขึ้น 6.3% แต่ถ้าหักตัวเลขการส่งออกทองคำและสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันออก โดยยังคงสินค้ากลุ่มยุทโธปกรณ์ที่ใช้ในการซ้อมรบเอาไว้ การส่งออกจะเพิ่มขึ้น 2.4% และ หากหักออกทั้ง 3 รายการ การส่งออกเดือน ก.พ.จะติดลบ 2.0%

     "แนวโน้มการส่งออกน่าจะดีขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะการส่งออกภาคบริการที่คาดว่าจะเป็นบวก และยังคงยืนยันเป้าตัวเลขการส่งออกของปี 2559 ไว้ที่ 5% เนื่องจากเป็นตัวเลขที่ใช้เพื่อเพิ่มความมุ่งมั่นในการทำงาน และหากทั้งปีทำได้ครึ่งหนึ่งของเป้า ก็ถือว่าทำได้ดี ท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่เป็นอยู่ขณะนี้ แต่ถ้าตั้งเป้าต่ำ แล้วทำได้เกินเป้า ก็ไม่ท้าทายในการทำงาน" นายสุวิทย์กล่าว

     นายสมเกียรติ ตรีรัตนพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า การส่งออกเดือน ก.พ.ที่เพิ่มขึ้น เป็นการเพิ่มขึ้นของสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรที่กลับมาเป็นบวก 0.4% โดยเชื่อว่าจากนี้ไปแนวโน้มราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกจะกลับมาดีขึ้น เนื่องจากปัญหาภัยแล้งที่ทำให้ผลผลิตของโลกลดลง จึงส่งผลให้มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปของไทยเพิ่มขึ้น ด้านที่สินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 13.8%

    สำหรับ ตลาดส่งออกสำคัญ พบว่า ตลาดสหรัฐเพิ่มขึ้น 0.3% สหภาพยุโรปเพิ่ม 4.1% และญี่ปุ่นเพิ่ม 34.8% ขณะที่ตลาดอาเซียนเดิม 5 ประเทศ เพิ่ม 31.8% แต่ CLMV กลับมาหดตัว 5.8% เนื่องจากการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปที่หดตัวถึง 5.8% ตลาดจีนติดลบ 7.6% จากภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้า รวมถึงการหดตัวของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และการใช้นโยบายลดการพึ่งพาการนำเข้าและเน้นใช้วัตถุดิบในประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสถานการณ์มูลค่าการส่งออกของประเทศในกลุ่มอาเซียนรวมทั้งไทย

      นายสมเกียรติกล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์ได้เปิดเผยตัวเลขการส่งออกสินค้าบริการเป็นครั้งแรก โดยรายได้ส่งออกสินค้าบริการปี 2558 มีมูลค่า 60,682 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 9.7% จากปี 2557 คิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 4 ของรายได้การส่งออก ส่วนการนำเข้าสินค้าบริการมีมูลค่า 50,787 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่งผลให้ไทยได้ดุลการค้าบริการมูลค่า 9,895 ล้านเหรียญสหรัฐ

รมช.พาณิชย์ กำหนด 5 แนวทางขับเคลื่อนส่งออก รุกเชื่อมการค้าในตลาดใหม่-ปรับโครงสร้างสู่ภาคบริการ

    นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ในภาวะที่การค้าไทยเผชิญกับความท้าทาย ภายใต้สถานการณ์การค้าโลกในปัจจุบัน กระทรวงพาณิชย์ได้เร่งดำเนินการ เพื่อการขับเคลื่อนการส่งออกของไทย ปี 59 ใน 5 ด้าน ดังนี้

       1. ขยายการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะตลาดอินโดจีนหรือ CLMV โดยกระทรวงพาณิชย์ จะใช้โอกาสทางการค้า และความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ของไทยซึ่งมีที่ตั้งเป็นจุดศูนย์กลางของภูมิภาคอาเซียน รวมทั้งความเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมขนส่งกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคในการเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลก

      2. เร่งรัดขยายตลาดส่งออกเชิงรุก โดยใช้ความต้องการตลาดเป็นตัวนำการผลิต (Demand Driven)   หรือกำหนดสินค้า/บริการที่จะผลักดันการส่งออก และมีการกำหนดกลยุทธ์เชิงลึกในระดับเมือง (City focus) มุ่งเน้นการเจาะตลาดใหม่ๆ การเจาะกลุ่มตลาดเฉพาะ (Niche Market) และช่องทางการค้าออนไลน์ โดยเฉพาะตลาดอาเซียน ที่จะมุ่งเจาะตลาดเข้าสู่เมืองเศรษฐกิจรองที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ รวมถึงการเพิ่มความสำคัญของตลาดในเมืองหลวง/เมืองเศรษฐกิจหลัก โดยเน้นสินค้า/บริการแบรนด์ที่มีศักยภาพ

        3. ส่งเสริมการค้าบริการ (Trade in Services) โดยสนับสนุนภาคธุรกิจบริการให้เป็นแรงผลักดันการส่งออกควบคู่ไปกับการส่งออกสินค้า ตามยุทธศาสตร์ที่ได้กำหนดไว้ กระทรวงพาณิชย์ได้กำหนด 6 กลุ่มธุรกิจบริการเป้าหมาย ได้แก่ ธุรกิจบริการด้านสุขภาพ (Wellness and Medical Services) ธุรกิจอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Economy Industry) ธุรกิจโลจิสติกส์และการอำนวยความสะดวกทางการค้า (Trade Logistics and Facilitation) ธุรกิจการให้บริการของสถาบัน (Institutional Services and Related) ธุรกิจบริการสนับสนุนการค้า (Trade Supporting Services) และธุรกิจดิจิตอล (Digital Business)

       4. ส่งเสริมผู้ประกอบการไทยไปดำเนินธุรกิจในต่างประเทศ เพื่อขยายโอกาสทางการค้าการลงทุน และสร้างความสามารถทางการแข่งขันของธุรกิจ โดยผ่านกลไกภาครัฐร่วมกับภาคเอกชน รวมทั้งการศึกษาข้อมูลเชิงลึกที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจและศักยภาพทางเศรษฐกิจเป็นรายเมือง รวมถึงขั้นตอน กฎระเบียบการลงทุน และมาตรการทางภาษี  สร้างเครือข่ายกับหน่วยงาน/นักธุรกิจ ในท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการที่ต้องการขยายการลงทุนไปยังต่างประเทศ

     5. ผลักดันและแก้ปัญหาทางการค้าร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน โดยมีกลไกขับเคลื่อนผ่านคณะกรรมการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศ (พกค.) ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับภาคการค้าทั้งภาครัฐและเอกชนเป็นกรรมการ โดย พกค. จะมีบทบาทด้านการกำหนดนโยบาย และมาตรการเกี่ยวกับการพัฒนาและส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ตลอดจนการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางการค้าของประเทศ

                อินโฟเควสท์

ส่งออก พลิกบวกในรอบ 14 ด. พาณิชย์มั่นใจส่งออกดีขึ้นยืนเป้าทั้งปี 5%

    บ้านเมือง : 'พาณิชย์'เผยส่งออกเดือน ก.พ.59 เพิ่มขึ้น 10.27% พลิกกลับมาเป็นบวกครั้งแรกในรอบ 14 เดือน "สุวิทย์" มั่นใจแนวโน้มส่งออกดีขึ้น ยืนเป้าทั้งปี 5% ไว้มุ่งมั่นทำงาน พร้อมโชว์รายได้บริการเป็นครั้งแรก

    นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การส่งออกเดือน ก.พ.59 มีมูลค่า 18,994 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 10.27% เป็นการส่งออกกลับมาขยายตัวเป็นบวกครั้งแรกในรอบ 14 เดือน นับจากเดือน ม.ค.58 ที่ติดลบ 3.45% ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 14,008 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 16.82% ส่งผลให้ไทยเกินดุลการค้า 4,986 ล้านเหรียญสหรัฐ

     ส่วนการส่งออกในช่วง 2 เดือนของปี 2559 (ม.ค.-ก.พ.) มีมูลค่า 34,705 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 0.67% ส่วนการนำเข้า มีมูลค่า 29,482 ล้านเหรียญสหรัฐ ติดลบ 14.54% และเกินดุลการค้า มูลค่า 5,223 ล้านเหรียญสหรัฐ

     ทั้งนี้ การส่งออกเดือน ก.พ.ที่เพิ่มขึ้น 10.27% นั้น เป็นการเพิ่มขึ้นที่ไม่ปกติ เพราะมีการบันทึกตัวเลขการส่งออกสินค้ากลุ่มยุทโธปกรณ์ที่ใช้ในการซ้อมรบ ซึ่งมีมูลค่า 683 ล้านเหรียญสหรัฐเข้าไปด้วย ซึ่งหากหักออก การส่งออกจะเพิ่มขึ้น 6.3% แต่ถ้าหักตัวเลขการส่งออกทองคำและสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันออก โดยยังคงสินค้ากลุ่มยุทโธปกรณ์ที่ใช้ในการซ้อมรบเอาไว้ การส่งออกจะเพิ่มขึ้น 2.4% และหากหักออกทั้ง 3 รายการ การส่งออกเดือนก.พ. จะติดลบ 2.0%

      "เดือน ก.พ. ส่งออกทองคำเพิ่มขึ้น 1,051% สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันก็ส่งออกได้เพิ่มขึ้น และยังมีการบันทึกตัวเลขการส่งออกสินค้ากลุ่มยุทโธปกรณ์ที่ใช้ในการซ้อมรบ ทั้งเฮลิคอปเตอร์และรถยนต์ที่ใช้เฉพาะทางสำหรับซ้อมรบ เข้าไปอีก ซึ่งการบันทึกตัวเลขนี้ เป็นไปตามมาตรฐานการบันทึกของกรมศุลกากร และเป็นตัวเลขชั่วคราว แต่เราก็ต้องนำมาใส่ไว้ในตัวเลขการส่งออก นายสุวิทย์กล่าว

       อย่างไรก็ตาม กระทรวงฯ คาดว่าแนวโน้มการส่งออกน่าจะดีขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะการส่งออกภาคบริการจะเป็นบวกแน่ และยังคงยืนยันเป้าหมายตัวเลขการส่งออกของปี 59 ไว้ที่ 5% เพราะเป็นตัวเลขที่ใช้เพื่อเพิ่มความมุ่งมั่นในการทำงาน และหากทั้งปีทำได้ครึ่งหนึ่งของเป้า ก็ถือว่าทำได้ดี ท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่เป็นอยู่ขณะนี้ แต่ถ้าตั้งเป้าต่ำ แล้วทำได้เกินเป้า ก็ไม่ท้าทายในการทำงาน

     นายสมเกียรติ ตรีรัตนพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า การส่งออกเดือน ก.พ.ที่เพิ่มขึ้น เป็นการเพิ่มขึ้นของสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรที่กลับมาเป็นบวก 0.4% โดยสินค้าสำคัญที่ส่งออกเพิ่ม เช่น ข้าวปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้น 14.2% และมูลค่าเพิ่มขึ้น 0.3% ยางพาราแม้ปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้น 4.9% แต่มูลค่าส่งออกลดลง 19.7% ตามราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกที่ยังชะลอตัวลง น้ำตาล เพิ่มขึ้น 78% จากการที่บราซิลคู่แข่งประสบปัญหาภัยแล้ง ไทยจึงได้ส่งออกไปยังอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้น 560% และลาวเพิ่มขึ้น 416% ไก่สดแช่แข็งและแปรรูป เพิ่ม 10% ผัก ผลไม้สด แช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป เพิ่ม 11.8% เป็นต้น โดยเชื่อว่าจากนี้ไปแนวโน้มราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกจะกลับมาดีขึ้น เนื่องจากปัญหาภัยแล้งที่ทำให้ผลผลิตของโลกลดลง และทำให้มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปของไทยเพิ่มขึ้น

        ขณะที่สินค้าอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้น 13.8% โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ ไม่รวมทองคำ 18.4% แต่หากรวมทองคำจะเพิ่มสูงถึง 208.5% แต่สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน เช่น น้ำมันสำเร็จรูป เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก ลดลง 18.5% เครื่องใช้ไฟฟ้า 33.2% จากการย้ายฐานการผลิต รถยนต์และส่วนประกอบ ลด 2.1% จากการหดตัวของการส่งออกรถปิกอัพ รถแวนและส่วนประกอบ แต่รถยนต์นั่งยังขยายตัวได้สูง

         สำหรับ ตลาดส่งออกสำคัญ พบว่า ตลาดสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 0.3% สหภาพยุโรป เพิ่ม 4.1% และญี่ปุ่น เพิ่ม 34.8% จากยอดสินค้ากลุ่มยุทโธปกรณ์ซ้อมรบ ขณะที่ตลาดอาเซียนเดิม 5 ประเทศ เพิ่ม 31.8% แต่ CLMV กลับมาหดตัว 5.8% เนื่องจากการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปที่หดตัวถึง 5.8% ตลาดจีน ติดลบ 7.6% จากภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้า รวมถึงการหดตัวของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และการใช้นโยบายลดการพึ่งพาการนำเข้าและเน้นใช้วัตถุดิบในประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสถานการณ์มูลค่าการส่งออกของประเทศในกลุ่มอาเซียนรวมทั้งไทย

      นายสมเกียรติ กล่าวว่า ในเดือนนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้เปิดเผยตัวเลขการส่งออกสินค้าบริการเป็นครั้งแรก โดยอาศัยข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พบว่า รายได้ส่งออกสินค้าบริการ ปี 2558 มีมูลค่า 60,682 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 9.7% จากปี 2557 คิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 4 ของรายได้การส่งออก ส่วนการนำเข้าสินค้าบริการ มีมูลค่า 50,787 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่งผลให้ไทยได้ดุลการค้าบริการ มูลค่า 9,895 ล้านเหรียญสหรัฐ

      โดยสินค้าบริการส่งออกสำคัญ 3 อันดับแรก ได้แก่ ท่องเที่ยวสัดส่วน 73.4% คิดเป็นมูลค่า 44,553 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 16% รองลงมา คือ สินค้ากลุ่มขนส่ง มูลค่า 5,717 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 0.1% และกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง มูลค่า 530 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 13.5% ส่วนสินค้าบริการนำเข้าสำคัญ ได้แก่ บริการกลุ่มขนส่ง มูลค่า 23,821 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 10.8% รองลงมา คือ ท่องเที่ยว 7,592 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 7.4% และบริการทรัพย์สินทางปัญญา มูลค่า 4,101 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 3.3%

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!