WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Gวบลยลกษณพาณิชย์ จับตาต้นทุนอาหารสัตว์ขยับ'แล้งจัด'ราคาข้าวขึ้นแน่

     แนวหน้า :'พาณิชย์' ถกผลกระทบภัยแล้งร่วมกับ ผู้ผลิตปศุสัตว์ เอกชนห่วงราคาอาหารสัตว์ วัตถุดิบผลิตจากข้าวโพด ถั่วเหลือง ทำต้นทุน ปรับขึ้น ยันจะมีการติดตามอย่างใกล้ชิด ปลอบ ไม่ทำให้ไข่-ไก่-หมูแพง ยกเว้นข้าวเปลือก

     นางสาววิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์ อธิบดีกรมการค้าภายในกระทรวงพาณิชย์ ได้หารือผลกระทบภัยแล้ง ร่วมกับผู้ผลิต เนื้อสุกร ไก่เนื้อ ไก่ไข่ และปศุสัตว์

     อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวหลังหารือว่า จากสถานการณ์ภัยแล้งอาจทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เนื้อ ไก่ไข่ และหมู ได้รับผลกระทบ เพราะในการผลิตจะต้องมีการใช้น้ำจำนวนมาก ซึ่งจากการหารือทั้ง 3 กลุ่ม ระบุว่ายังมีน้ำใช้เพียงพอ เพราะมีแหล่งน้ำสำรอง มีการใช้น้ำบาดาลเป็นหลัก แต่ในบางแหล่งผลิตอาจต้องซื้อน้ำเพิ่มเติม โดยเฉพาะ ฟาร์มหมูแบบเปิดขนาดกลาง และขนาดเล็ก เพราะบ่อดินแห้ง ใช้น้ำจากแหล่งน้ำสาธารณะ เขื่อน

      ในส่วนของฟาร์มหมู มีความต้องการ ใช้น้ำมากกว่าส่วนของฟาร์มไก่เนื้อค่อนข้างมาก ซึ่งในส่วนปัญหาน้ำแล้งทางกระทรวงพาณิชย์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะเดินสายให้ความรู้เกษตรกรเกี่ยวกับปัญหาแบคทีเรียในน้ำในช่วงหน้าแล้ง เพราะเกรงว่าจะกระทบต่อคุณภาพในการผลิตได้

    ส่วนราคาของเนื้อหมูในช่วงมี.ค.-พ.ค. เชื่อว่า จะไม่มีขยับเพิ่มไปจากเดิมมากนัก แม้ว่าจะมีต้นทุนการใช้น้ำเพิ่ม แต่ก็เพียงบางฟาร์มและใช้ปริมาณไม่มาก แต่ในช่วง 3 เดือนจากนี้จนถึงปลายปี อาจต้องจับตาดูอีกครั้ง เพราะภัยแล้งที่จะกระทบต่อพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ ต่อการออกลูกหมูในอนาคต

     "ต้นทุนการผลิตของฟาร์มหมู แบ่งเป็นค่าอาหาร 50% ซึ่งตอนนี้ไม่มีความกังวลเรื่องราคาอาหารสัตว์ เพราะ ราคาทรงตัวโดยกรม มีการติดตามสถานการณ์ราคาและปริมาณหมูอยู่เป็นประจำทุกวันอยู่แล้ว"

     ขณะที่ด้านผู้เลี้ยงไก่ไข่ ยืนยันว่าในช่วงหน้าแล้งนี้ไข่ไก่มีปริมาณเพียงพอต่อการบริโภคแน่นอน โดยมีกำลังการผลิตอยู่ที่ 42 ล้านฟองต่อวัน หรือประมาณ 15,560 ล้านฟองต่อปี ความต้องการบริโภคอยู่ที่ 40 ล้านฟองต่อวัน แต่ทั้งนี้ช่วงหน้าร้อนขนาดของไข่ไก่อาจมีขนาดที่เล็กลงกว่าช่วงเวลาปกติ โดยทางฟาร์มจะต้องมีการเพิ่มต้นทุนเรื่องไฟฟ้า เพื่อปรับอุณหภูมิให้เหมาะสมต่อการออกไข่ของแม่ไก่ รวมถึงต้องเพิ่มต้นทุนเรื่องน้ำเพิ่มขึ้น

    นายเสน่ห์ นัยเนตร ประธานสหกรณ์ปศุสัตว์และสัตว์น้ำฉะเชิงเทรา จำกัด กล่าวว่า ภาวะภัยแล้งปีนี้ คาดว่า จะกระทบต่อการเลี้ยงสุกรมากกว่าทุกปี เพราะอากาศร้อน ที่มาเร็ว และแล้งมากกว่าปีก่อน ทำให้ปริมาณน้ำใต้ดินก็มีน้อยลง ส่งผลให้เกษตรกรต้องลงทุนซื้อน้ำมาใช้ในการเลี้ยงสุกรมากขึ้น

      นายสันติ วิโรจน์บริสุทธิ์ ประธานสหกรณ์ ผู้เลี้ยงไก่ไข่แปดริ้ว กล่าวว่า ภาวะภัยแล้งมีผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นประมาณ 10-20 สตางค์ต่อฟอง โดยต้นทุนขณะนี้อยู่ที่ ไข่ไก่เกรดคละ หน้าฟาร์ม อยู่ที่ 2.80 บาทต่อฟอง จากต้นทุนอาหารสัตว์ และน้ำ แต่ยังมีผลกระทบทำให้ผลผลิตลดลง โดยการผลิตไข่ไก่ปัจจุบัน ผลิตอยู่ที่ 40 ล้านฟองต่อวัน เพิ่มขึ้น จากปีก่อนที่ ผลิตได้ 39 ล้านฟองต่อวัน สำหรับ แนวโน้มราคาไข่ไก่ ในช่วงนี้คาดว่าจะยังทรงตัวเนื่องจาก ราคาไข่ไก่ราคาขยับสูงขึ้นมา แล้วหลังปลายปี มาถึงปลายเดือนก.พ. หลังตรุษจีนราคาไข่คละหน้าฟาร์มขึ้นมา อยู่ที่ฟองละ 2.90 บาทต่อฟอง โดยได้ขยับขึ้น มาจากราคาฟองละ 2.60-2.70 บาทต่อฟอง ตามปกติช่วงหน้าร้อนผลผลิตไข่ไก่จะลดลงประมาณร้อยละ 5-7 ซึ่งเป็นระดับปกติ

      ในวันเดียวกัน นางดวงพร รอดพยาธิ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ได้ชี้แจงเงื่อนไข การประมูล(ทีโออาร์) กับเอกชนที่สนใจซื้อข้าว ซึ่งเป็นไปตามก่อนหน้านี้ที่ คณะกรรมการ บริหารและจัดการข้าว (นบข.) ได้เห็นชอบให้ กรมการค้าต่างประเทศ เปิดระบายข้าวสารสต๊อกรัฐบาลครั้งที่ 2/59 ปริมาณ 640,000 ตัน

     นางดวงพร กล่าวว่า สำหรับวิธีการระบายข้าวอยู่ระหว่างการหาวิธีการระบายซึ่งในวันที่ 23 มี.ค.นี้ จะมีการประชุมคณะอนุกรรมการระบายข้าวเพื่อดูว่าวิธีการที่กรมเสนอไปวิธีการใดเหมาะสม และจะเสนอ ให้นบข.พิจารณาซึ่งการระบายข้าวครั้งถัดไปจะเห็นผลชัดเจนในเดือนเม.ย. 2559

      สำหรับ ปัญหาภัยแล้ง น่าจะมีผลกับราคาข้าวให้ขยับขึ้นได้ ตามพื้นที่เพาะปลูกน้อยลง ขณะที่ความต้องการใช้ข้าวในประเทศยังมีอยู่ ซึ่งราคาข้าวเปลือก อยู่ที่ 8,000 บาทต่อตัน ส่วนการส่งออก เชื่อว่าเอกชนจะขายข้าวได้ตามปกติ แต่อาจไม่คึกคักนัก โดย ม.ค.ก.พ. ที่ผ่านมา มียอดส่งออกแล้วกว่าล้านตัน ส่วน การขายข้าวแบบจีทูจีนั้น หลายประเทศยังคงสนใจ ที่จะซื้อข้าวจากไทย ไม่ว่าจะเป็นจีน รัสเซีย อิหร่าน ฟิลิปปินส์ และล่าสุดรมว.พาณิชย์จะเดินทางไปกระตุ้นตลาดข้าวในฮ่องกง ในช่วงต้นเดือน เม.ย.นี้

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!