WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Gวบลยลกษณ'พาณิชย์' รับมือภัยแล้งได้ ยันเสียงแข็งหมู-ไก่-ไข่ไม่ขาดตลาดราคาไม่ปรับแน่

      บ้านเมือง : กรมการค้าภายใน เผยหลังหารือร่วมผู้เลี้ยงสุกรและไก่เนื้อ และผู้เลี้ยงไก่ไข่แล้ว มั่นใจผลผลิตไม่กระทบภาวะภัยแล้ง พร้อมระบุราคาจำหน่ายไม่มีปรับขึ้นแน่นอน ขณะเดียวกันรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ มอบหมายพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร

     น.ส.วิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์ อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยภายหลังหารือกับผู้เลี้ยงสุกรและไก่เนื้อ และผู้เลี้ยงไก่ไข่ เกี่ยวกับผลกระทบภัยแล้ง โดยพบว่าผู้เลี้ยงมีปัญหาเพียงต้นทุนเรื่องน้ำที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายเล็กในเขตพื้นที่ภัยแล้ง เพราะน้ำบ่อดินไม่เพียงพอ ต้องขุดเจาะบ่อบาดาลและซื้อน้ำเพิ่มเติมประมาณ 1-2 คันรถ ส่วนราคาอาหารสัตว์ที่เป็นต้นทุนประมาณ 50% ยังไม่ปรับเพิ่มขึ้น
     อย่างไรก็ตาม ไก่เนื้อปริมาณยังมีเพียงพอต่อการบริโภคที่ 5 ล้านตันต่อสัปดาห์ และยังเหลือพอส่งออกอีก 25 ล้านตันต่อสัปดาห์ เนื่องจาก ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เลี้ยงด้วยระบบปิด จึงไม่มีปัญหาทั้งด้านปริมาณและราคา ส่วนเนื้อสุกร มีผู้เลี้ยงครึ่งหนึ่งเลี้ยงในโรงระบบปิดจึงไม่ปัญหา ส่วนอีกครึ่งเลี้ยงในโรงระบบเปิด ซึ่งเป็นรายเล็กและรายกลาง ซึ่งประสบปัญหาต้นทุนน้ำเพิ่มขึ้น เพราะการเลี้ยงสุกรใช้น้ำในปริมาณที่สูง และบางพื้นที่ได้รับผลกระทบจากการลดการปล่อยน้ำจากเขื่อน ทำให้ต้องซื้อน้ำเพิ่ม 1-2 คันรถ หรือประมาณคันรถละ 15-20 คิว ราคาประมาณ 1,500-2,000 บาทต่อคันรถ ผู้เลี้ยงจึงอยากให้หน่วยงานภาครัฐเข้ามาดูแลเรื่องระบบน้ำให้กับทางผู้เลี้ยงด้วย ซึ่งกรมการค้าภายในจะประสานกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการร่วมให้ความรู้และทำความเข้าใจในการใช้น้ำ และสุขอนามัย

     "ขณะนี้มีความมั่นใจหลังการหารือกับผู้เลี้ยงสุกรและไก่เนื้อ และผู้เลี้ยงไก่ไข่ ว่าจะไม่ส่งผลกระทบกับภัยแล้ง พร้อมระบุด้วยว่าปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภคในช่วงเวลาดังกล่าวแน่นอน พบว่าผู้เลี้ยงมีปัญหาเพียงต้นทุนเรื่องน้ำที่เพิ่มขึ้นก็ต้องแก้ปัญหาในการขุดบ่อบาดาลและซื้อน้ำเพิ่มเติม"

        สำหรับ ราคาสุกรหน้าฟาร์มมีชีวิต ปัจจุบันอยู่ที่กิโลกรัมละ 67-68 บาท และผู้เลี้ยงยืนยันว่า ปริมาณสุกรมีเพียงพอต่อการบริโภคในประเทศที่วันละ 35,000 ตัว/วัน ไปจนถึงเดือนพฤษภาคม และราคาปลายทางยังไม่ปรับเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่อยู่ที่ 125-130 บาทต่อกิโลกรัม และราคาหน้าฟาร์มไม่น่าจะปรับเพิ่มขึ้นสูงกว่าปัจจุบัน แม้จะประสบปัญหาภัยแล้งเนื่องจากเป็นช่วงปิดเทอม และต้นทุนผู้เลี้ยงไม่สูงมากนัก รวมทั้งยังเหลือเพียงพอต่อการส่งออกได้ปีละ 900,000 ตัว และไม่สูงเท่าก่อนหน้าที่อยู่ที่ 81 บาทต่อกิโลกรัม เนื่องจากสุกรติดโรค และหลังจากนี้กรมฯ จะติดตามดูแลปริมาณสุกรให้เพียงพอ และเพิ่มสุกรขุน เนื่องจากอากาศร้อนส่งผลให้สุกรเติบโตช้าและตัวเล็ก ส่วนสถานการณ์ไข่ไก่หลังจากหารือกลุ่มผู้เลี้ยงไก่ไข่นั้น โดยรวมปริมาณไข่ไก่ในปีนี้จะอยู่ที่ 15,560 ล้านฟอง หรือต่อวันอยู่ที่ 42 ล้านฟอง ถือว่าเพียงพอต่อการบริโภคและไม่ขาดแคลนไข่ไก่ แต่ยอมรับว่าในช่วงอากาศร้อนอาจทำให้ไข่ไก่เล็กกว่าปกติบ้าง

     แต่สิ่งที่ผู้เลี้ยงไก่ไข่ได้รับผลกระทบจะยังคงเหมือนเช่นทุกปีต้นทุนในด้านต่างๆ เช่น ค่าไฟฟ้าในช่วงหน้าร้อนจะใช้ไฟฟ้ามากขึ้นและปัญหาภัยแล้งที่ต้องหาแหล่งน้ำเพิ่มทำให้ราคาไข่คละเฉลี่ยอยู่ที่ 2.90 บาทต่อฟอง โดยมีต้นทุนเฉลี่ยอยู่ที่ 2.79-2.80 บาทต่อฟอง ส่งผลให้ราคาไข่ไก่เบอร์ 3 เฉลี่ยอยู่ที่ฟองละ 3.35 บาท เป็นราคาที่ไม่ได้สูงเกินไปและเพียงพอต่อการบริโภคไม่กระทบจากปัญหาภัยแล้งมากนักตามที่หลายฝ่ายกังวลแต่อย่างใดและผู้เลี้ยงไก่ไข่อยากให้หน่วยงานภาครัฐช่วยเหลือลดต้นทุนในด้านต่างๆ ให้ เพื่อให้ราคาไข่ไก่ไม่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงภัยแล้งและช่วงเปิดเทอมหน้าอีกด้วย

     ขณะที่ นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า จากปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำและราคาขึ้นลงตามฤดูกาลทำให้กระทบต่อเกษตรกร จึงต้องการให้เกษตรกรรู้วิธีสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสนับสนุนในเรื่องของการแปรรูป การใช้บรรจุภัณฑ์คุณภาพ รวมทั้งการสร้างแบรนด์ควบคู่กันไป เท่าที่ผ่านมามีหลายจังหวัดที่ประสบความสำเร็จในเรื่องดังกล่าว เช่น ที่จังหวัดอุตรดิตถ์ นายชัยยันต์ ยอดคำ พาณิชย์จังหวัดอุตรดิตถ์ขานรับนโยบายเพิ่มมูลค่าเพิ่มโดยที่พืชไร่ที่สำคัญของจังหวัดได้แก่ กระเทียม และหอมแดง ทางสำนักงานฯ ได้รณรงค์กระเทียมน้ำปาด ซึ่งเป็นกระเทียมพันธุ์ไทยแท้ กลิ่นหอมฉุน มีค่าสารอินทรีย์กำมะถันในเนื้อสูงกว่ากระเทียมอื่น ซึ่งทำให้มีรสชาติดี และสามารถเก็บไว้ได้นานเกิน 6 เดือน เหมาะกับกลุ่มนักกีฬา ผู้รักสุขภาพ นับเป็นกระเทียมคุณภาพซึ่งทางสำนักงานฯ เตรียมจะยื่นขึ้นทะเบียนเป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) สร้างรายได้ให้ชุมชน และสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าเกษตรแต่ละพื้นที่ได้

     ขณะเดียวกัน ยังมีจังหวัดอื่นๆ อีกหลายจังหวัดที่ดำเนินการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลผลิต เช่นการแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าวไปทำเป็นเครื่องสำอาง หรืออาหารเสริม การแปรรูปมันสำปะหลังทำเป็นไซรับ การทำน้ำตาลจากมะพร้าว ซึ่งสินค้าเหล่านี้มีมูลค่าเพิ่มที่สูง รวมทั้งการรณรงค์พืชอินทรีย์ เพื่อเชื่อมโยงกับห้างค้าปลีกจัดทำเป็นกรีนมาร์เกต ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ และการผลิตสินค้าจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!